ฟุกุโอกะ... งานวิจัยและผจญภัยเล็ก ๆ
วันที่เขียน 17/6/2559 14:16:53     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 23:25:04
เปิดอ่าน: 3813 ครั้ง

จบจากญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 ก็เดินทางไปๆ กลับๆ เพื่อทำธุระส่วนตัวอยู่หลายครั้ง มาปีนี้ (พ.ศ. 2559) ได้มีโอกาสไปนำเสนองานที่เกาะทางใต้ของประเทศญี่ปุ่น (เกาะคิวชู) เป็นการไปทำงานกึ่งท่องเที่ยว

ฟุกุโอกะ...งานวิจัยและผจญภัยเล็ก ๆ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร สืบค้า

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

บทนำ 

          ผู้เขียนจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2546 หลังจากนั้นก็เดินทางเข้า-ออกประเทศญี่ปุ่นเพื่อทำธุระส่วนตัวอีกหลายครั้ง มาปีนี้ พ.ศ. 2559 ได้มีโอกาสเดินทางไปนำเสนองานวิจัยที่จังหวัดฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เลยถือโอกาสไปกราบคาราวะ Sensei ซึ่งหลังจากท่านเกษียณอายุราชการจาก Ehime University ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดเอฮิเมะ เกาะชิโกกุแล้ว ได้ย้ายรกรากมาอยู่ที่จังหวัดฟุกุโอกะ เกาะคิวชู

 

งานประชุมวิชาการนานาชาติ 

          ชื่องานประชุมวิชาการนานาชาติที่ผู้เขียนไปนำเสนอผลงานวิจัยคือ 17th AAAP Animal Science Congress จัดขึ้นระหว่าง 22-25 สิงหาคม 2559 ณ Kyushu Sangyo University จังหวัดฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ผู้เขียนได้รับงบประมาณจากคณะ 25,000 บาท จากกองทุนวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 15,000 บาท แยกเป็นรายจ่ายดังนี้

  • ค่าลงทะเบียนแบบ Early-bird สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อนำเสนองานภาคบรรยาย 25,000 เยน
  • ค่าที่พัก เบิกตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ฉบับที่เกี่ยวข้อง โดยทางเลขานุการการประชุมฯ จะจัดเตรียมลิสต์รายชื่อที่พักพร้อมอัตราค่าที่พักไว้ให้อย่างละเอียด ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมจะต้องสมัครใช้ระบบตามลิงค์ที่ทางการการประชุมจัดเตรียมไว้ เพื่อป้องกันการแฮกข้อมูล หรืออาจเลือกด้วยตัวเองโดยใช้แอพ Agoda, Booking.com, TripAdvisor, Traveloka ฯลฯ ในช่วงที่ผู้เขียนจะเดินทางไปฟุกุโอกะ 20-28 สิงหาคม 2559 เกิดอะไรไม่ทราบได้ โรงแรมรอบ ๆ สถานีฮากาตะ และเทนจิน เต็มเกือบหมด โจทย์ของผู้เขียนคือ “ต้องการพักแถว ๆ สถานีฮากาตะ” เพราะต้องนั่งรถไฟ JR Train ไปยังสถานี Kyusandaimae ซึ่งเป็นสถานีที่ใกล้กับสถานที่จัดการประชุม Kyushu Sangyo University ใช้แอพดัง ๆ จองเป็นอาทิตย์ ปรากฎว่าโรงแรมเต็มตลอด จนกระทั่งวันที่ 18 กรกฎาคม 2559 ลองใช้แอพ Traveloka จองดูปรากฎว่าได้โรงแรม the B Hakata ในราคาห้องละ 3,626.36 บาทต่อคืนสำหรับห้อง Double Standard
  • ค่าพาหนะ ขึ้นอยู่กับสายการบิน และชนิดการบิน (บินตรง หรือบินแบบต่อเครื่อง หรือ transfer) ผู้เขียนต้องการประหยัดจึงใช้บินแบบต่อเครื่องด้วยสายการบิน คาเธ่ย์แปซิฟิค (เค้าว่าเป็นหนึ่งในสายการบินที่ดีที่สุดในโลก) ในราคาไป-กลับ 15,000 บาท (ซื้อเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2559) ทางแอพ Traveloka อีกแล้ว
  • ค่าเบี้ยเลี้ยง เบิกตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ฉบับที่เกี่ยวข้อง

  ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เจริญแล้ว มหาวิทยาลัย Kyushu Sangyo เมืองฟุกุโอกะ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการระหว่างวันที่ 22-25 สิงหาคม 2559 ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปเข้าร่วมเป็นครั้งแรกตั้งแต่เรียนจบจากประเทศญี่ปุ่นจึงเต็มไปด้วยการจัดการที่สมบูรณ์แบบและเป็นมืออาชีพ อาทิ การลงทะเบียนทั้งแบบล่วงหน้าและหน้างาน การส่งบทความฉบับเต็ม การนำเสนอที่พักที่สะดวกสบายสำหรับการเดินทางมาเข้ารวมการประชุม การบรรยายพิเศษ การนำเสนองานทั้งภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์ การท่องเที่ยวเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม รูปเล่ม proceedings ป้ายห้อยคอและกระเป๋าสำหรับผู้เข้าร่วมงาน การอัพโหลดไฟล์ คูปองอาหารว่างและอาหารกลางวัน เป็นต้น ผู้เขียนได้มีโอกาสไปนำเสนองานต่างประเทศมาหลายครั้ง เพิ่งจะเจอที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่มีการห้ามถ่ายรูปในระหว่างการนำเสนอ ประธาน session มีมากกว่า 1 คน และการเข้าฟังได้เฉพาะคนที่ลงทะเบียนการประชุมเท่านั้น 

วันที่ผู้เขียนได้นำเสนองานภาคบรรยายคือวันที่ 25 สิงหาคม 2559 ผู้เขียนเดินทางไปญี่ปุ่นต่อเครื่องที่สนามบินนานาชาติฮ่องกงด้วยสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค และได้เริ่มเข้าร่วมประชุมในวันที่ 22-25 สิงหาคม 2559 ขั้นตอนการนำเสนองานภาคบรรยายในการประชุมนี้ก็เหมือนกับการประชุมวิชาการทั่ว ๆ ไป และมีการรักษาเวลาอย่างเคร่งครัด บรรยายห้องนำเสนองานภาคบรรยายแต่ละห้องเป็นแบบวิชาการและจะมีเครื่องเสียงในทุกห้อง อุปกรณ์ที่มีไว้ในห้องนำเสนองานคือ จอแสดงผล ไมโครโพน เลเซอร์พอยเตอร์ โพเดียม และโปรเจคเตอร์ โดยไม่มีอุปกรณ์ชนิดอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้เลย การนำเสนองานภาคบรรยาย ที่ประชุมกำหนดให้ผู้นำเสนองานแต่ละคนใช้เวลาบรรยาย 8 นาที และถาม-ตอบ 4 นาทีเท่านั้น และเป็นการประชุมที่ต้องรักษาเวลาเป็นอย่างมาก ก่อนที่ผู้นำเสนองานจะบรรยาย ประธานในที่ประชุมจะแนะนำผู้บรรยายสั้น ๆ ในแต่ละห้องบรรยายจะมีผู้ฟังประมาณ 30-50 คน ผู้บรรยายส่วนใหญ่ไม่อ่านจากสคริป การอ่านหรือพูดตามสคริปในความคิดของผู้เขียนเห็นว่า ไม่น่าสนใน ไม่มีการสบสายตาเพื่อดึงดูดผู้ฟัง ทำให้การพูดดูไม่เป็นธรรมชาติ คำถามและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมฟังการบรรยายค่อนข้างตรง เปิดเผย และเป็นเหตุเป็นผลทางวิชาการ ซึ่งยุติกรรมและมีเหตุผล ทำให้เรานำไปพัฒนาและปรับปรุงงานต่อไปได้ในอนาคต 

หนึ่งคืนก่อนวันที่ผู้เขียนจะนำเสนองาน มีความกังวลเล็กน้อยเพราะว่าเราไม่ใช่พวกที่ใช่ภาษาอังกฤษแต่กำเนิด การได้เข้าร่วมการประชุมก่อน 2-3 วันช่วยลดความกังวลได้ไม่มากนัก กลับเป็นการเพิ่มความกลัวและความกังวลเสียอีก เวลาอันยิ่งใหญ่ของผู้เขียนใกล้เข้ามาแล้วตอน 09:00 ณ ของวันที่ 25 สิงหาคม 2559 ห้อง N201 กลุ่ม Feeds & Non-ruminants (1) ซึ่งในกลุ่มนี้มีบทความที่นำเสนอทั้งสิ้น 9 ชื่อเรื่อง ประธาน session คนแรกเป็นชาวบังคลาเทศ ส่วนคนที่สองเป็นชาวไทย ในระหว่างการนำเสนอจะไม่มีการใช้สัญญานกริ๊งกดเพื่อเตือนเรื่องเวลาแต่จะใช้การยกป้ายแทน เข้าใจว่าคงไม่ต้องการส่งเสียงรบกวนการประชุมที่กำลังดำเนินอยู่ หลังจากบรรยายเสร็จมีคำแนะนำจากประธานในที่ประชุม 2 ประเด็นซึ่งเป็นประโยชน์มาก ผู้เขียนคิดว่าตนเองทำได้ไม่เลวร้ายนัก หลังจากการนำเสนองานจบ ผู้เขียนพบว่า มีอยู่ 3 ประการที่จะช่วยทำให้การนำเสนองานภาคบรรยายผ่านไปได้ด้วยดี นั่นคือ การเตรียมตัว การเตรียมตัว และการเตรียมตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณไม่ใช่คนที่พูดภาษาอังกฤษมาตั้งแต่กำเนิด ผู้ฟังตัดสินคุณจากการเตรียมตัวพูดเพื่อนำเสนองานวิจัยที่ทำมาทั้งปีภายในเวลา 10-15 นาที ถ้าคุณเตรียมตัวมาดี จะเพิ่มความเชื่อมั่นและความมั่นใจของคุณเอง โดยหากไม่อยากมีปัญหาเรื่องฟอนต์ขอแนะนำให้ใช้ฟอนต์มาตรฐาน อาทิ Time New Roman, Arial เป็นต้น

ในท้ายที่สุดแล้ว เป็นการยากมากที่จะเดินทางไปนำเสนองานวิจัยในต่างประเทศด้วยงบประมาณเพียง 40,000 บาทที่สนับสนุนโดยมหาวิทยาลัย เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง อาทิ ค่าลงทะเบียนการประชุม ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าอาหาร เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามข้อได้เปรียบของการเดินทางไปนำเสนองานวิจัยในต่างประเทศมีมากกว่าที่จะกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะผู้เขียนได้มีโอกาสเปิดหูเปิดตา มีส่วนร่วมกับสังคมวิชาการ ได้เห็นแนวทางการทำงานของนักวิจัยชื่อดัง ได้เป็นส่วนหนึ่งของงานประชุมระดับโลก ในอนาคตข้างหน้าอาจจะมีการติดต่อสื่อสารหรือร่วมมือทางวิชาการกับนักวิจัยคนอื่น ๆ ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมงานประชุมนี้ไม่สามารถเขียนบรรยายออกมาเป็นคำพูดให้ดูดีได้ ขอสรุปแค่ว่า มันคุ้มค่ามากที่จะเสียเวลาและเสียเงินเพิ่มเพื่อมาเข้าร่วมการประชุมนี้ และ “คุณควรจะมีความเชื่อมั่นในตัวเอง แล้วคุณจะทำได้”

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : เรื่องทั่วไป
Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน » Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน
การฟังเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารระหว่างบุคคล หลายครั้งที่การสื่อสารนั้นไม่ได้ผล เพราะ "เราฟังแต่ไม่ได้ยิน" การฟังแต่ไม่ได้ยินเกิดขึ้นหลายครั้ง เพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อ...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   เรื่องทั่วไป
ผู้เขียน พูนพัฒน์ พูนน้อย  วันที่เขียน 6/9/2562 16:49:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/4/2567 22:28:48   เปิดอ่าน 3065  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
Creative Commons » จัดการลิขสิทธิ์โลกออนไลน์ ด้วยมาตรฐาน Creative Commons
ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) เป็นองค์กรไม่แสวง กำไรที่สนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต สัญญา อนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โด...
creative commons  ลิขสิทธิ์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   เรื่องทั่วไป
ผู้เขียน อำนาจ ชิดทอง  วันที่เขียน 21/6/2562 15:11:08  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 22:39:41   เปิดอ่าน 95196  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง