การทำงานเป็นทีม คำสั้น ๆ แต่ในความเป็นจริงทำไมทำยากจัง คุณเคยคิดแบบนั้นไม๊คะ??
ทุกคนคงเคยเข้ารับการอบรมต่าง ๆ มามากมายหลายหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความเชี่ยวชาญ ด้านบริหารจัดการ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในสายงานของตนเอง
ซึ่งหน่วยงานทุกหน่วยงาน ก็พร้อมจะผลักดันให้บุคลากรทุกคน ได้อบรมพัฒนาสมรรถนะของตนเองตามสายงาน ให้บุคลากรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและพร้อมที่ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้
หัวใจของ การทำงานเป็นทีม นั้น นอกจากจะช่วยให้องค์กรก้าวไปสู่ความสำเร็จ สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งที่จะทำให้องค์กรหรือทีม ประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยการทำงานที่เป็นทีมเวิร์ค เพราะในการทำงานที่อาศัยความร่วมมือ การเอาใจใส่ดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ย่อมส่งผลดีต่องานที่ทำเสมอ
การทำงานเป็นทีม : ความคิด ทัศนคติ ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากพอสมควร หากเกิดปัญหาหรือข้อขัดแย้งขึ้น ควรใช้สติในการแก้ไขปัญหา ไม่ควรใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหาหรือตัดสินปัญหา ถึงแม้ว่าผลที่ออกมานั้นจะไม่ดีมากนัก แต่สิ่งหนึ่งที่เราและทีมจะได้รับคือความภาคภูมิใจ และทำให้เราสามารถผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ หากเกิดปัญหาซ้ำอีกครั้ง เราก็จะสามารถผ่านมันไปได้
การทำงานเป็นทีมนั้น ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นได้ สามารถโต้แย้งได้ ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับหลักการและข้อกำหนดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเหล่านั้นให้ผ่านไปได้ด้วยดี และยังเป็นประโยชน์ต่อทีมและองค์กรด้วย
ซึ่งปัจจุบัน มีหลากหลายองค์กรที่ประสบปัญหาความขัดแย้งในองค์กร ความขัดแย้งระหว่างพนักงาน ที่อาจจะเกิดจากความกดดันในการทำงานส่วนหนึ่ง ดังนั้น การจัดอบรมให้พนักงานได้ทราบถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรจัดการ เพื่อให้พนักงานได้เห็นถึงความสำคัญและตระหนักถึงหัวใจของการทำงานเป็นทีม เพราะนอกจากจะเกิดประโยชน์ต่อตัวเองแล้ว ยังส่งผลดีต่อองค์กรอีกด้วย
แนวทางการทำงานของทีมเวิร์ค (Cr.พันเอก ดร.ก้อง ไชยณรงค์)
1) เข้าใจการทำงานของตนเองและผู้อื่น
2) สร้างเป้าหมายร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้บรรลุตามภารกิจ
3) มีการสานความสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
4) เป็นผู้นำที่ดี และเป็นผู้ตามที่มีวินัย
สุดท้ายแล้ว การจัดกิจกรรมหรืออบรมใด ๆ ในระยะเวลาเพียงสั้น ๆ ก็ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนได้ในทันที จำเป็นต้องมีการอาศัยระยะเวลา เราไม่อาจจะไปแก้พฤติกรรมทางลบที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ได้ ภายในเวลาสั้น ๆ เพียง 3 วัน หรือ 5 วัน ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนทัศนคติได้ พฤติกรรมเดิม ๆ ก็จะกลับมา การใช้กิจกรรมเป็นเพียงกระบวนการหนึ่งในการสร้างประสบการณ์และข้อมูลใหม่ ๆ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนทัศนคติ หากมีการจัดต่อเนื่อง ก็ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางบวกได้อย่างแน่นอน (Cr.นายพันรัก)