การระบุตำแหน่งทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ
วันที่เขียน 17/6/2559 19:40:56     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/4/2567 13:16:59
เปิดอ่าน: 281113 ครั้ง

แอสซิส แอสซอก Asst. Prof. Assoc. Prof. มันคืออะไร เดี๋ยวได้รู้กัน

การระบุตำแหน่งทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ 

อาจารย์ภาคศิริ ทองเสน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร สืบค้า คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

ตำแหน่งทางวิชาการ หมายถึง ตำแหน่งศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไม่ว่าเป็นตำแหน่งทางวิชาการประจำ ตำแหน่งทางวิชาการพิเศษ ตำแหน่งทางวิชาการเกียรติคุณหรือที่เรียกชื่ออย่างอื่นในลักษณะเดียวกัน การเขียนตำแหน่งทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งบ่งชี้ถึงความเป็นมืออาชีพ โดยเฉพาะเมื่อต้องการจัดทำนามบัตร การนำเสนองานซึ่งต้องแสดงตำแหน่งทางวิชาการ เป็นต้น ต่อไปนี้คือรูปแบบการเขียนตำแหน่งทางวิชาการที่ถูกต้องทั้งแบบอเมริกันและแบบอังกฤษ

 

ตำแหน่ง / ตัวอย่าง 

American Academic Ranks

British Academic Ranks

อาจารย์

Lecturer/Instructor

Lecturer

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

Assistant Professor

Senior Lecturer

รองศาสตราจารย์

Associate Professor

Reader

ศาสตราจารย์

Professor

Professor

ตัวอย่างสำหรับผู้มีคุณวุฒิปริญญาเอก

 

 

อาจารย์

Dr. John Smith

Lecturer of Agricultural Engineering

Dr John Smith

Lecturer in Agricultural Engineering

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

Dr. John Smith

Assistant Professor of Agricultural Engineering

Dr John Smith

Senior Lecturer in Agricultural Engineering

รองศาสตราจารย์

Dr. John Smith

Associate Professor of Agricultural Engineering

Dr John Smith

Reader in Agricultural Engineering

ศาสตราจารย์

Prof. John Smith, Ph.D.

Professor of Agricultural Engineering

Prof John Smith, PhD

Professor in Agricultural Engineering

ตัวอย่างสำหรับผู้ที่ไม่มีคุณวุฒิปริญญาเอก

 

 

อาจารย์

Mr. John Smith

Instructor of English Language

Mr John Smith

Lecturer in English Language

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

Mr. John Smith

Assistant Professor of English Language

Mr John Smith

Senior Lecturer in English Language

รองศาสตราจารย์

Mr. John Smith

Associate Professor of English Language

Mr John Smith

Reader in English Language

ศาสตราจารย์

Prof. John Smith

Professor of English Language

Prof John Smith

Professor in English Language

 

การเขียนตัวย่อตำแหน่งทางวิชาการ มีรูปแบบดังต่อไปนี้

ตำแหน่งทางวิชาการ

ตัวย่อ

Academic Ranks

ตัวย่อแบบอเมริกัน

ตัวย่อแบบอังกฤษ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ผศ.

Assistant Professor

Asst. Prof.

Asst Prof

รองศาสตราจารย์

รศ.

Associate Professor

Assoc. Prof.

Assoc Prof

ศาสตราจารย์

ศ.

Professor

Prof.

Prof

 

การเขียนตัวย่อคุณวุฒิ มีรูปแบบดังต่อไปนี้

คุณวุฒิภาษาอังกฤษ

ตัวย่อแบบอเมริกัน

ตัวย่อแบบอังกฤษ

Bachelor of Arts in Linguistics

B.A. (Linguistics)

BA (Linguistics)

Master of Arts in Linguistics

M.A. (Linguistics)

MA (Linguistics)

Master of Letters in Linguistics

M.Litt. (Linguistics)

MLitt (Linguistics)

Master of Philosophy in Linguistics

M.Phil. (Linguistics)

MPhil (Linguistics)

Doctor of Philosophy in Linguistics

Ph.D. (Linguistics)

PhD (Linguistics)

Bachelor of Science in Biology

B.S. (Biology)

BSc (Biology)

Master of Science in Biology

M.S. (biology)

MSc (Biology)

Bachelor of Engineering in Agricultural Engineering

B.Eng. (Agricultural Engineering)

BEng (Agricultural Engineering)

Master of Engineering in Agricultural Engineering

M.Eng. (Agricultural Engineering)

MEng (Agricultural Engineering)

Doctor of Engineering in Agricultural Engineering

D.Eng. (Agricultural Engineering)

DEng (Agricultural Engineering)

จะสังเกตได้ว่า การเขียนตัวย่อตำแหน่งทางวิชาการและตัวย่อคุณวุฒิแบบอังกฤษจะไม่มีการใช้เครื่องหมายมหัพภาคหรือเครื่องหมายจุด

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : เรื่องทั่วไป
Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน » Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน
การฟังเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารระหว่างบุคคล หลายครั้งที่การสื่อสารนั้นไม่ได้ผล เพราะ "เราฟังแต่ไม่ได้ยิน" การฟังแต่ไม่ได้ยินเกิดขึ้นหลายครั้ง เพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อ...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   เรื่องทั่วไป
ผู้เขียน พูนพัฒน์ พูนน้อย  วันที่เขียน 6/9/2562 16:49:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/4/2567 8:47:46   เปิดอ่าน 3058  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
Creative Commons » จัดการลิขสิทธิ์โลกออนไลน์ ด้วยมาตรฐาน Creative Commons
ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) เป็นองค์กรไม่แสวง กำไรที่สนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต สัญญา อนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โด...
creative commons  ลิขสิทธิ์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   เรื่องทั่วไป
ผู้เขียน อำนาจ ชิดทอง  วันที่เขียน 21/6/2562 15:11:08  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/4/2567 11:06:54   เปิดอ่าน 95029  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง