ปอยส่างลอง
วันที่เขียน 3/4/2555 15:27:39     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:06:37
เปิดอ่าน: 8103 ครั้ง

ประเพณีปอยส่างลอง คือ "งานบวชลูกแก้ว"

                   

                   เป็นความบังเอิญ หรือความโชคดีของผู้เขียน ที่จู่ๆ ก็ได้ให้ไปร่วมงาน “ปอยส่างลอง” ของวัดวิจิตรวารี (วัดน้ำต้น) เกิดความประทับใจมาก และพอได้สัมผัสกับชาวไทยใหญ่ ก็ยิ่งรู้สึกว่าเขามีอะไรที่เราต้องเรียนรู้อีกมากโดยเฉพาะความสดใส ความจริงใจ การรู้จักประมาณตนเอง อย่างเห็นชัด ชาวไทยใหญ่ จะแต่งกายชุดประจำชาติของเขาที่มีความสดใส สวยงาน เป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะผู้หญิง จะมีชุดสีสดใส มาประชันกัน ส่วนผู้ชายจะเป็นชุดแบบเรียบๆ บางท่านก็มีหมวก ตามแต่ความชอบในการแต่งกาย และได้สอบถามผู้ที่มาร่วมงาน ก็มีความรู้เพิ่มขึ้นมากอีก ดังนี้

                        ประเพณีปอยส่างลอง คือ "งานบวชลูกแก้ว" เพื่อทำการบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา โดยจะพบเห็นการจัดปอยส่างลองกันมากที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะในเขตอำเภอเมือง อำเภอขุนยวม และอำเภอปาย คนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมประเพณีนี้ก็สืบเชื้อสายมาจากไทใหญ่ ซึ่งก็ได้ร่วมกันสืบทอดงานประเพณีนี้มาเป็นเวลาช้านาน และได้มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ทุกๆ ปี เนื่องจากเป็นประเพณีที่สำคัญทางศาสนา และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด
                   ปอยส่างลองหรืองานบวชลูกแก้วนั้นเป็นพิธีการเฉลิมฉลองของการบรรพชาสามเณร ปกติจะมีการจัดงานอยู่ประมาณสามวัน แต่หากผู้ที่ทำการบวชนั้นมีฐานะดีก็จะมีการฉลองยาวนานเป็น 5 หรือ 7 วันได้ ซึ่งงานดังกล่าวนี้จะนิยมจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม หรือเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงหน้าแล้งที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ว่างเว้นจากการทำนาทำไร่ และเป็นช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนของเด็กๆด้วย

                   แต่ละปีงานปอยส่างลอง ใช้เวลาจัดประมาณ 3 - 7 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ฐานะของเจ้าภาพ แต่ละราย แต่พิธีที่สำคัญจริง ๆ มีแค่ 3 วันเท่านั้น

                   วันแรก ของปอยส่างลอง หรือชาวบ้านจะเรียกกันว่า "วันเอาส่างลอง" จะเริ่มด้วยขบวนแห่ลูกแก้วซึ่งลูกแก้วก็จะมีการแต่งกายอย่างสวยงามเปรียบเหมือนกับเทวดาตัวน้อยๆ แห่ไปรอบๆเมืองตามถนนหนทางต่างๆ ซึ่งในขบวนแห่ก็จะประกอบไปด้วยเสียงดนตรีอันแสดงถึงความสนุกสนานรื่นเริงจากเครื่องดนตรีของไทใหญ่ ได้แก่ มองเซิง(ฆ้องชุด) ฉาบ และกลองมองเซิง (กลองสองหน้า)

                   ในอดีตนั้นการแห่ลูกแก้วไปรอบๆเมืองจะให้ลูกแก้วขี่ม้าแต่ปัจจุบันก็เปลี่ยนไปเพราะม้านั้นไม่ได้หากันง่ายๆเหมือนดังเช่นสมัยก่อน ในสมัยปัจจุบันก็จึงแห่ลูกแก้วโดยการให้นั่งเก้าอี้แล้วนำไปใส่หลังรถยนต์แห่ไปรอบเมืองแทน ในขบวนแห่ลูกแก้ว ลูกแก้วแต่ละคนก็จะมีผู้ติดตามซึ่งก็อาจเป็นพ่อ หรือญาติพี่น้องที่เป็นผู้ชาย เพราะลูกแก้วนั่นเขาเปรียบเสมือนเป็นเทวดา ต้องใส่ถุงเท้าสีขาวตลอดทั้ง 3 วันที่จัดงาน และห้ามไม่ให้ลูกแก้วได้เหยียบพื้น ดังนั้นเวลาจะไปที่ใดก็ต้องมีคนคอยแบก(ม้าขี่) หรือนำขี่คอไปยังที่ต่างๆ และก็ต้องมีอีกคนหนึ่งทำหน้าที่กางร่มที่มียอดสูงประดับทองกันแดดให้ไม่ให้ลูกแก้วต้องโดนแดดเผา นอกจากนี้ยังมีคนที่ต้องดูแลเพชรพลอยของมีค่าต่างๆที่ลูกแก้วสวมใส่อยู่ตลอดเวลาเพื่อป้องกันการตกหล่นหรือโดนลักขโมย

                   ในตอนสาย วันรวมส่างลอง บรรดาส่างลอง พอแต่งกายเสร็จ ตะแป จะแยกจากวัด แห่แหนไปตาม ถนนหนทาง เพื่อไปขอขมา ลาโทษผู้ใหญ่ และรับการให้ศีล ให้พรกับผูกข้อมือ ทั้งนี้ไม่จำกัด ว่าต้องเป็นญาติ ในหมู่ตน ชาวไทยใหญ่ เป็นชนกลุ่มน้อย จึงอยู่ด้วยการ เอื้ออารีต่อกัน แบบฉันท์พี่น้อง มีความรักใคร่ ปรองดองกัน ทุกคนเป็นญาติ กันหมดส่างลอง สามารถเข้าบ้านนั้น ออกบ้านนี้ ได้สะดวก บ้านใดที่ส่างลอง เข้าไปเยี่ยมเยือน ถือเป็นสิริมงคล เจ้าของบ้าน จะต้อนรับ อย่างเต็มที่ ด้วยการเตรียม น้ำดื่ม ขนม หมาก เมี่ยง พลู บุหรี่ มาเลี้ยงแขก มิให้ขาดตกบกพร่อง

           วันที่สอง หรือ "วันรับแขก" ก็จะมีขบวนแห่คล้ายๆกันกับวันแรกแต่ในวันที่สองนี้ในขบวนแห่จะประกอบด้วยเครื่องสักการะ ธูปเทียนต่างๆ เพื่อถวายพระพุทธ และเครื่องจตุปัจจัยถวายพระสงฆ์ ในช่วงเย็น หลังจากที่ลูกแก้วรับประทานอาหารแล้วเสร็จ ก็จะมีพิธีทำขวัญและการสวดคำขวัญ เพื่อเตรียมตัวให้ลูกแก้วซึ่งจะเข้ารับการบรรพชาในวันรุ่งขึ้น โดยผู้นำที่ประกอบพิธีก็จะเป็นผู้อาวุโสที่ศรัทธาวัดทุกคนให้ความเคารพนับถือ

                     ในค่ำคืนนั้น หลังจากที่ส่างลองอาบน้ำเสร็จพร้อมกับแต่งกายด้วยส่างลองชุดใหม่เพื่อเข้าพิธีฮ้องขวัญซึ่งคล้ายกับการทำขวัญนาคของภาคกลางต่างกันที่สวดเป็น ภาษาไทยใหญ่ ในพิธีผู้เป็นพ่อแม่จะป้อนอาหาร 12 อย่าง ให้ส่างลองรับประทานอันหมายถึงความ อุดมสมบูรณ์ ของข้าวปลาธัญญาหาร ตลอดปี ของชาวไทยใหญ่ จากนั้นผู้เข้า ร่วมพิธีจะแยกย้าย กันกลับบ้านพักผ่อน

           วันสุดท้าย คือ "วันบวช" พิธีของวันนี้จะเริ่มด้วยการนำลูกแก้วไปยังวัด พอถึงวัดลูกแก้วทั้งหมดก็จะกล่าวขออนุญาตเพื่อทำการบรรพชาจากพระผู้ใหญ่เมื่อท่านได้อนุญาตลูกแก้วก็จะพร้อมกันกล่าวคำปฏิญาณตนและอาราธนาศีลเสียงกล่าวคำขอบวชของเหล่าส่างลองดังก้องกระหึ่มไปทั่วบริเวณวัด ท่ามกลางที่ชุมนุมสงฆ์ เมื่อได้รับอนุญาตการบวชจึงมีการ รับจีวรจากบิดามารดา แล้วจึงเปลี่ยนเครื่องแต่งกายจากชุดเสื้อผ้าส่างลองที่สวยงามมาเป็นผ้ากาสาวพัตร์สีเหลืองและเป็นก็สามเณรอย่างสมบูรณ์โดยอาจจะอยู่หลายเดือนเพราะว่าเป็นช่วงปิดเทอมหรืออยู่ 2-3 อาทิตย์ก็ได้

                   ชาวไทยใหญ่ให้ความสำคัญกับพิธีบรรพชาสามเณรมากเพราะถือว่าเมื่อวัยเด็ก ยังอ่อนต่อโลกเมื่อเป็นเพศสมณะจะเป็นผู้สะอาด บริสุทธิ์ เปรียบเสมือนอัญมณีที่กำลังผ่าน การเจียระไน ดังนั้น พิธีปอยส่างลอง จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "การบวชลูกแก้ว" ซึ่งกำหนดไว้ว่า ควรเป็นเยาวชน ที่อายุระหว่าง 8 - 14 ปี อันเป็นวัยที่อยู่ในช่วงศึกษาเล่าเรียนจึงนิยมบวชกัน เป็นหมู่ในช่วงปิดเทอมใหญ่ภาคฤดูร้อน ซึ่งก่อนนั้นมักกระทำกันในเดือนมีนาคมอันเป็นช่วงที่ว่างเว้นจากการทำนาทำไร่และอากาศกำลังเย็นสบายเหตุที่เปลี่ยนเป็นเดือนเมษายนของทุกปี เพราะเงื่อนไขทางการศึกษาเป็นเหตุผลสำคัญ

                 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=151
ความคิดเห็นทั้งหมด (2)
ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล     วันที่เขียน : 1/5/2555 0:00:00

สวัสดีค่ะพี่น้อย

อ่านแล้ว...ก็คิดตาม รู้สึกประทับใจตามผู้เขียนไปด้วย ถ้ามีรูปประกอบละก็ แจ๋วเลยค่ะ

อ.ทิพย์

โสภา สุทธิยุทธ์     วันที่เขียน : 3/4/2555 0:00:00

อยากให้เล่ารายละเอียดเยอะๆ

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : เรื่องทั่วไป
Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน » Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน
การฟังเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารระหว่างบุคคล หลายครั้งที่การสื่อสารนั้นไม่ได้ผล เพราะ "เราฟังแต่ไม่ได้ยิน" การฟังแต่ไม่ได้ยินเกิดขึ้นหลายครั้ง เพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อ...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   เรื่องทั่วไป
ผู้เขียน พูนพัฒน์ พูนน้อย  วันที่เขียน 6/9/2562 16:49:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:53:39   เปิดอ่าน 3241  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
Creative Commons » จัดการลิขสิทธิ์โลกออนไลน์ ด้วยมาตรฐาน Creative Commons
ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) เป็นองค์กรไม่แสวง กำไรที่สนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต สัญญา อนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โด...
creative commons  ลิขสิทธิ์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   เรื่องทั่วไป
ผู้เขียน อำนาจ ชิดทอง  วันที่เขียน 21/6/2562 15:11:08  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:05:45   เปิดอ่าน 117151  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง