การจัดทำเครื่องมือการวัดสัดส่วนการได้ประโยชน์จากกิจกรรมความร่วมมือ
มาจากความประสงค์ของที่ประชุมคณะอนุกรรมการด้านการต่างประเทศ ในทุกครั้งที่จะมีการลงนาม MOU กับมหาวิทยาลัยใหม่ หรือต่ออายุกับมหาวิทยาลัยเดิม ซึ่งมีข้อมูลที่นำเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา คือ
- รายละเอียดของมหาวิทยาลัย
- จำนวนและรายละเอียดกิจกรรมความร่วมมือที่ผ่านมา
แต่คณะอนุกรรมการยังเห็นว่าข้อมูลยังไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ โดยต้องการทราบว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาแล้ว มหาวิทยาลัยได้รับประโยชน์จากความร่วมมือ หรือไม่ มากน้อยเพียงใด ยกตัวอย่างเช่น บางมหาวิทยาลัยส่งนักศึกษามาเป็นจำนวนมาก แต่แม่โจ้ไม่ได้ส่งนักศึกษาไปเลย ซึ่งการลงนามแบบนี้เสียเปรียบ จึงควรมีข้อมูลว่า กิจกรรมที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เปรียบ ได้ประโยชน์เสมอกัน หรือเสียเปรียบ เพื่อไปพิจารณาแนวทางความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนั้นต่อไป จึงเป็นสาเหตุของการสร้างเครื่องมือในการวัดสัดส่วนการได้ประโยชน์จากกิจกรรมตามความร่วมมือในครั้งนี้
วิธีการดำเนินการ
- รวบรวมกิจกรรมเดิมที่เคยทำร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ
- การคำนวณค่าความถี่ตามประเภทการได้ประโยชน์ของกิจกรรม 3 ประเภท
2.1 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ประโยชน์มากกว่า ให้ค่าความถี่แก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 1
2.2 ได้ประโยชน์ร่วมเสมอกัน ให้ค่าความถี่แก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 1 มหาวิทยาลัยปลายทาง 1
2.3 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ประโยชน์น้อยกว่า ให้ค่าความถี่แก่มหาวิทยาลัยต่างประเทศ 1
- สัดส่วนการได้ประโยชน์จากกิจกรรมความร่วมมือ คำนวณได้ตามสูตร ดังนี้
สัดส่วนการได้ประโยชน์ =
|
ความถี่ของม.แม่โจ้ * 100
|
ความถี่ของ ม.แม่โจ้ + ความถี่ ม.ต่างประเทศ
|
- การวิเคราะห์ค่าสัดส่วนการได้ประโยชน์
4.1 ค่าสัดส่วน 67-100 แสดงว่า มหาวิทยาลัยได้ประโยชน์ในระดับมากกว่า
4.2 ค่าสัดส่วน 34-66 แสดงว่า มหาวิทยาลัยได้ประโยชน์ในระดับเสมอกัน
4.3 ค่าสัดส่วน 0-33 แสดงว่า มหาวิทยาลัยได้ประโยชน์ในระดับน้อยกว่า
- การวิเคราะห์ค่าสัดส่วนการได้ประโยชน์ในภาพรวม
เมื่อทราบค่าสัดส่วนการได้ประโยชน์ของแต่ละมหาวิทยาลัยต่างประเทศแล้ว ยังมีความประสงค์ทราบค่าสัดส่วนการได้ประโยชน์โดยภาพรวม(ค่าเฉลี่ย) สามารถคำนวณได้ตามสูตร ดังนี้
สัดส่วนการได้ประโยชน์รวม =
|
P1+P2+P3+…+Pn
|
n
|
P = ค่าสัดส่วนของแต่ละมหาวิทยาลัย
n = จำนวนมหาวิทยาลัย
**********************************