เล่าสู่กันฟัง : การเขียนชื่อ-นามสกุลของชาวต่างชาติ
วันที่เขียน 16/8/2555 13:48:04     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:32:34
เปิดอ่าน: 43305 ครั้ง

โดยอาจารย์ 3 ท่านที่มีประสบการณ์ในการใช้ชีวิตต่างประเทศ 1. อาจารย์ภาคศิริ ทองเสน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร สืบค้า คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 3. อาจารย์ ดร.ชนันท์ ราษฎ์นิยม คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ก่อนอ่านบทความนี้
จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.  ปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยจะก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Community, AEC)
ตามนโยบายเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area, AFTA) ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือได้อย่างเสรี 8 อาชีพหลัก ได้แก่ วิศวกร แพทย์ พยาบาล สถาปนิก การสำรวจ ทันตแพทย์ นักบัญชี และการท่องเที่ยว
รวมทั้งมีการยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาทำงานในอาเซียน เราจะเตรียมตัวรับมืออย่างไร เมื่อถูกแนะนำให้รู้จักคนต่างชาติ? เคยเจอปัญหาว่าจะเรียกคนต่างชาติอย่างไรหรือไม่? 

2. เคยเจอปัญหาเวลาอ่านบทความภาษาอังกฤษ แล้วไม่เข้าใจระบบการเขียนชื่อ-นามสกุลของคนต่างชาติหรือไม่?

 หากท่านตอบว่า ใช่ จงอ่านข้อความถัดไป หากตอบว่า ไม่ โปรดข้ามไปไม่ต้องอ่านบทความนี้

ผู้เขียนคนที่สองเคยอยู่ประเทศญี่ปุ่นมากว่า 3.5 ปี ฝากเกล็ดเล็กเกล็ดน้อย เกี่ยวกับเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่มีรายได้ประชาชาติ (GDP) สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองแต่เพียงประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ประชาชนชาวญี่ปุ่นมีระเบียบวินัยสูงมาก การลักเล็กขโมยน้อยแทบไม่มี
การที่ผลเมืองของเขามีคุณภาพสูงเช่นนี้ เขาก็คาดหวังว่าแขกที่ไปเยือนจะมีคุณภาพสูงด้วย ดังนั้นแนะนำว่า ทำเหมือนคนโรมันทำ
หมายความว่า เขาทำอย่างไรก็ทำตาม ๆ เขาไป หากผู้อ่านมีโอกาสไปเยือนประเทศญี่ปุ่นแล้วเห็นพฤติกรรมการเข้าคิว
การเข้าแถว การขึ้นลิฟท์หรือบรรไดเลื่อนแล้วยืนชิดซ้าย การแยกขยะ การรักษาของสาธารณะยิ่งกว่าของตนเอง การเคารพกฎหมาย
การปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเคร่งครัด และอื่น ๆ ซึ่งคิดว่าพฤติกรรมแบบนี้ไม่มีทางจะเกิดขึ้นในประเทศไทย
ขอบอกว่าเป็นเรื่องปกติที่อยู่ใน DNA ของชาวอาทิตย์อุทัยทั้งหลายตั้งแต่เด็กถึงผู้สูงวัย บางครั้งแขกต่างชาติอย่างเรามองแล้วก็แยกแยะไม่ออก (ยกเว้นคนญี่ปุ่นด้วยกันเอง) ว่าสิ่งที่เขาแสดงออกมานั้นเป็นแต่เพียงมารยาทางสังคม
หรือเป็นอารมณ์ความรู้ที่แท้จริงที่เขาต้องการสื่อสารกับเรา
???

  • คนญี่ปุ่นจะเรียกกันด้วยชื่อสกุล
    เช่น Prof.Abe ชื่อเต็ม คือ Takemi Abe โดยที่ Takemi คือชื่อแรก ส่วน Abe คือชื่อสกุล โดยส่วนใหญ่คนญี่ปุ่นมักไม่มีชื่อกลาง
  • ในประเทศญี่ปุ่น ไม่มีใครเรียกกันด้วยชื่อแรก ยกเว้นในกลุ่มเพื่อนที่สนิทจริง ๆ
    มีเรื่องโจ๊กในช่วงแรกผู้เขียนไปเรียนหนังสือที่ประเทศญี่ปุ่น คือเวลาโทรศัพท์ไปหาเพื่อนในครอบครัวญี่ปุ่นต้องบอกชื่อแรกด้วย เพราะทุกคนในครอบครัวจะชื่อเดียวกันหมดเลย เช่น ขอเรียนสาย Abe San (San หมายถึง คุณในภาษาไทย) ปลายสายก็งงว่า Abe ไหน เพราะทุกคนจะชื่อ Abe หมดเลย
  • คำเรียกอาจารย์ในภาษาญี่ปุ่นคือ Sensei ดังนี้เวลานักเรียน/นักศึกษา พูดกับอาจารย์ต้องเติมคำว่า Sensei ไว้ท้ายชื่อทุกครั้ง เช่น Abe Sensei ซึ่งตรงกับภาษาไทย คือ อาจารย์อาเบ๋ เป็นต้น
  • ในการเขียนบทความภาษาอังกฤษ หากผู้แต่งเป็นคนญี่ปุ่น ก็จะใช้ชื่อย่อแรกเป็นอักษรภาษาอังกฤษตัวใหญ่
    ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค หรือจุด และชื่อสกุลที่เขียนเต็ม เช่น T. Abe, R. Watanabe and T. Tsurusaki จะเห็นได้ว่าผู้เขียนคนแรก คนที่สอง และคนที่สาม มีนามสกุลว่า Abe, Watanabe และ Tsurusaki ตามลำดับ

ผู้เขียนคนที่สามเคยอยู่ประเทศออสเตรเลียมาเป็นเวลา 5 ปี ฝากเกล็ดเล็กเกล็ดน้อย เกี่ยวกับเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้

ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมแบบผสมผสาน (multi-cultural) คือ มีผู้คนที่มีพื้นฐานมาจากทั้งวัฒนธรรมตะวันตกและวัฒนธรรมตะวันออกมาอาศัยอยู่ปะปนกัน เกิดการแลกเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรมจนมีเอกลักษณ์ใหม่ที่มีลักษณะลูกครึ่ง ถึงแม้จะมีชาวตะวันออกอาศัยอยู่มาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้คนจะอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างที่คนไทยเป็นอยู่เท่าไรนัก  ผู้เขียนพบว่า ผู้คนที่นั่นถือในเรื่องความเสมอภาคในสังคมมากกว่าความอ่อนน้อมถ่อมตน และดูเหมือนว่าการที่เราทำให้ตนเองดูต่ำต้อยกว่าคู่สนทนาเพื่อเป็นการแสดงความเคารพเขา เป็นเรื่องที่เขาไม่เข้าใจ เพราะการแสดงความคิดเห็นของตัวเองและการมีบุคลิกที่มีความมั่นใจในตัวเองในระหว่างการสนทนาเป็นการแสดงว่าเราเป็นบุคคลที่มีตัวตนและมีความคิดเป็นของเราเอง ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญ หากเราไม่แสดงท่าทีที่มีความมั่นใจในตัวเอง เอาแต่อ่อนน้อมถ่อมตน เออออห่อหมกตามเขาหมด เราก็อาจจะถูกมองว่าเป็นคนไม่มีสมองเอาได้ง่ายๆ เหมือนกับว่าเราเป็นใครก็ไม่รู้ที่ไม่มีตัวตนและไม่มีค่าอะไร ดังนั้นหากผู้อ่านไม่ต้องการจะถูกมองเช่นนั้น แต่ไม่รู้จะพูดอะไรจริงๆ ก็ขอแนะนำว่าให้เชิดหน้านิดหนึ่ง ยืดอกหน่อยๆ จ้องตาคู่สนทนาไว้ก่อน อย่าได้หลบตาไป-หลบตามา หรือเผลอโค้งศีรษะให้คู่สนทนาเป็นอันขาด ทำได้แค่นี้ก็ยังดี เล่ามาถึงตอนนี้ผู้อ่านอาจคิดในใจว่านี่เป็นเรื่องแปลก ซึ่งผู้เขียนก็เข้าใจดี และเห็นด้วย ผู้เขียนเองก็ไม่ใช่คนพูดเก่ง บางครั้งขี้เกียจ act ก็ทำตัวตามสบายอย่างที่เราเป็น แต่หากมีสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย เราก็ต้องแสดงความคิดเห็นออกมาไม่ใช่เอาแต่ผงกศีรษะก้มหัวให้เขา ชาวต่างชาติเขาไม่ได้ถือคติว่าหากใครถ่อมตนให้แล้วจะเขาจะต้องถ่อมตนตอบ แต่กลับกลายเป็นว่าใครก้มหัวให้ เขาก็จะยิ่งดูถูก เพราะเขาถือว่าเราเองก็ยังดูถูกความเป็นตัวตนของเราเลย ดังนั้น จงทำตัวเสมอภาคกับเขาไว้ อย่าดูถูกตัวเอง

  • การเรียกชื่อคนอย่างเป็นทางการ จะเรียกนามสกุลตามหลักสากล
  • การเรียกชื่อคนอย่างไม่เป็นทางการ จะเรียกชื่อแรก หรือชื่อเล่นกันอย่างที่คนไทยก็ถือปฏิบัติ ผู้เขียนเคยส่ง email ไปถึงอาจารย์ที่ปรึกษา ขึ้นต้นจดหมายว่า Dear Prof. Joe, (ท่านมีชื่อแรกว่า Joseph) ท่านกรุณาสั่งสอน กลับมาอย่างเป็นมิตรว่า คราวหน้าผมว่าคุณเรียกผมว่า Joe เฉยๆ ก็ได้ เพราะหากจะเรียก Prof. (อ่านว่า Professor) นำหน้า คนส่วนใหญ่เขาเรียกผมว่า Prof. Miltz คือให้ต่อด้วยนามสกุล ผู้เขียนจึงไม่ลังเล ตอบกลับด้วย Hi Joe, ตีเสมออาจารย์ทันทีทันควัน
    ก็อุตส่าห์เปิดทางให้ขนาดนั้นแล้ว จะไม่คว้าโอกาสได้อย่างไร แต่สิ่งที่สำคัญกว่าการเรียกชื่อ ผู้เขียนคิดว่าเป็นเรื่องของท่าทีของผู้พูดมากกว่า
  • บทสรุป หากต้องการยกย่องเขาก็เรียกนามสกุล แต่ก็ขอแนะนำให้ยกย่องในโอกาสที่เหมาะสมเท่านั้น เช่น
    การเอ่ยชื่อเขาในงานเขียนและบนเวทีเสวนาต่างๆ แต่ อย่ายกย่องตลอดเวลาดังเหตุผลที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
    เมื่อรู้จักกันแล้ว ก็ให้เรียกชื่อแรก หรือหากรู้ชื่อเล่น ก็เรียกชื่อเล่นได้เลย โดยทั่วไปชื่อเล่นก็จะเป็นมาตรฐาน เช่น Joseph เป็น Joe, David เป็น Dave, Elizabeth เป็น Liz, Joshua เป็น Josh, Katherine เป็น Kate, Robert เป็น Rob เป็นต้น

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=188
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : เรื่องทั่วไป
Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน » Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน
การฟังเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารระหว่างบุคคล หลายครั้งที่การสื่อสารนั้นไม่ได้ผล เพราะ "เราฟังแต่ไม่ได้ยิน" การฟังแต่ไม่ได้ยินเกิดขึ้นหลายครั้ง เพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อ...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   เรื่องทั่วไป
ผู้เขียน พูนพัฒน์ พูนน้อย  วันที่เขียน 6/9/2562 16:49:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:53:39   เปิดอ่าน 3241  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
Creative Commons » จัดการลิขสิทธิ์โลกออนไลน์ ด้วยมาตรฐาน Creative Commons
ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) เป็นองค์กรไม่แสวง กำไรที่สนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต สัญญา อนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โด...
creative commons  ลิขสิทธิ์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   เรื่องทั่วไป
ผู้เขียน อำนาจ ชิดทอง  วันที่เขียน 21/6/2562 15:11:08  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:50:49   เปิดอ่าน 117145  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง