ความท้าทายของหลักสูตรสายมนุษยศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ในยุคประเทศไทย 4.0
วันที่เขียน 23/8/2561 21:16:11     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:56:14
เปิดอ่าน: 4158 ครั้ง

บันทึกการเรียนรู้ จากการสัมมนาเรื่อง “ความท้าทายของหลักสูตรสายมนุษยศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ในยุคประเทศไทย 4.0 ณ โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง เชียงใหม่ วันที่ 21 มีนาคม 2561

สืบเนื่องจากอัตราการเกิดของประชากรที่ลดจำนวนตั้งแต่เมื่อครั้งประเทศไทยเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ส่งผลกระทบหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบต่อระบบการศึกษาในช่วง 4 - 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนนักศึกษาลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บางหลักสูตรของบางมหาวิทยาลัยมีผู้สมัครเข้าเรียนเพียง 5 – 6 คน และบางหลักสูตรไม่มีนักศึกษาเลือกสมัครเลย สถานการณ์เช่นนี้ทำให้มีมหาวิทยาลัยปิดตัวไปแล้วจำนวนมาก ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยที่ยังเปิดสอนอยู่ประมาณ 150 แห่ง จาก 200 แห่ง และมีแนวโน้มว่าในปี 2563 อาจจะเหลือมหาวิทยาลัยอีกเพียง 120 แห่ง มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จึงต้องเตรียมการรับมือกับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งจากการสัมมนาเรื่อง “ความท้าทายของหลักสูตรสายมนุษยศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ในยุคประเทศไทย 4.0” ได้มีการนำเสนอความรู้ความเข้าใจ อภิปราย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับแนวคิด ทัศนคติ ที่มีต่อแนวโน้มของการจัดการเรียนการสอนสายมนุษยศาสตร์ อักษรศาสตร์ และศิลปศาสตร์ สรุปได้ดังนี้

  1. การปรับปรุงหลักสูตร หรือออกแบบหลักสูตร ที่มีความทันสมัยสอดรับกับเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความสนใจของผู้เรียนที่แตกต่างไปจากเดิม โดยไม่เพียงมุ่งเน้นแต่ผลผลิต (Output) เท่านั้น แต่ต้องมุ่งเน้นถึงผลลัพธ์ (Outcome) ด้วย นอกจากนั้นยังควรเปิดหลักสูตรที่มีลักษณะพิเศษ เป็นการบูรณาการศาสตร์มากกว่าหนึ่งศาสตร์เข้าด้วยกัน หรือการเปิดหลักสูตร Double major ตามความสนใจของผู้เรียนในระดับปริญญาตรี เป็นต้น

ตัวอย่างของหลักสูตรที่เริ่มมีการปรับตัวแล้ว เช่น  คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังทำหลักสูตรปริญญาคู่ระหว่างวิศวกรรมศาสตร์และนิติศาสตร์ ซึ่งใช้เวลาเรียน 6 ปี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนให้นิสิตคณะอักษรศาสตร์เลือกเรียนวิชาโทนอกคณะ  นอกจากนั้น ยังมีการพัฒนาหลักสูตรใหม่ (อ.บ.) ชื่อสาขาวิชาเทคโนโลยีภาษาและสารสนเทศ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสาขาวิชาภาษาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ โดยหลักสูตรนี้มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ที่ดีด้านภาษา มีความรู้และทักษะด้านการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลภาษาไทยเพื่อนำไปใช้ในงานด้านปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น

2. รูปแบบการจัดการเรียนการสอน หรือการจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ๆ ที่มีความน่าสนใจ มีความยืดหยุ่น สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ใช้เวลานอกห้องเรียนมากขึ้น และมีการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้มากขึ้น

ตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ เช่น รายวิชา “ภาษากับการสื่อสารทางการตลาด” มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ซึ่งแต่ละคาบจะแบ่งเป็นการบรรยาย 1 ชั่วโมง case study 1 ชั่วโมง และทำกิจกรรมกลุ่ม 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังมีการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอน CHULA MOOC ซึ่งเป็นสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด เพื่อให้นิสิตและผู้สนใจใช้เป็นช่องทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมตามความสนใจ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=829
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : เรื่องทั่วไป
Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน » Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน
การฟังเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารระหว่างบุคคล หลายครั้งที่การสื่อสารนั้นไม่ได้ผล เพราะ "เราฟังแต่ไม่ได้ยิน" การฟังแต่ไม่ได้ยินเกิดขึ้นหลายครั้ง เพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อ...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   เรื่องทั่วไป
ผู้เขียน พูนพัฒน์ พูนน้อย  วันที่เขียน 6/9/2562 16:49:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:53:39   เปิดอ่าน 3241  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
Creative Commons » จัดการลิขสิทธิ์โลกออนไลน์ ด้วยมาตรฐาน Creative Commons
ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) เป็นองค์กรไม่แสวง กำไรที่สนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต สัญญา อนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โด...
creative commons  ลิขสิทธิ์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   เรื่องทั่วไป
ผู้เขียน อำนาจ ชิดทอง  วันที่เขียน 21/6/2562 15:11:08  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:35:29   เปิดอ่าน 117144  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง