|
|
|
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา
»
เทคนิคการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
|
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ การผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีเป้าประสงค์ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตให้ มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์ ผ่านกลยุทธ์การพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรให้มี
เข้มแข็งและมีความทันสมัยเปลี่ยนแปลงของโลก เข้าใจในบริบทของสังคมและความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอน ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่
ในระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาได้กำหนดให้หลักสูตรเน้นการพัฒนานักศึกษา
ให้เป็นผู้ที่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่
(1) กลุ่มวิชาหลัก (core subjects)
(2) กลุ่มทักษะชีวิตและอาชีพ (life and career skills) ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวและยืดหยุ่น
ความคิดริเริ่มและการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและข้ามวัฒนธรรม ความรับผิดชอบและความ
สามารถผลิตผลงาน ความเป็นผู้นำและรับผิดชอบต่อสังคม
(3) กลุ่มทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills) ได้แก่ การคิดเชิงวิพากษ์และ
การแก้ปัญหา นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ การสื่อสารและความร่วมมือกัน และ
(4) กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (information, media and technology skills
ดังนั้นเพื่อให้นักศึกษาของแต่ละหลักสูตรในคณะวิทยาศาสตร์เป็นผู้ที่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะที่ (4) กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (information, media and technology skills
คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้จัดทำ “โครงการอบรมเทคนิคการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ”
เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ ความรู้ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 - 4 ได้ฝึกการนำเสนอผลงานทางวิชาการ
มีความกระตือรือร้นและแสดงออก และเพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจในการนำเทคนิคการสอนไปใช้ในสถานณ์การต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
เพื่อสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
คำสำคัญ :
เทคนิคการนำเสนอผลงานวิชาการ ระดับชาติ ระดับนานาชาติ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
308
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์
วันที่เขียน
24/5/2566 11:00:49
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 13:45:58
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
งานด้านการต่างประเทศ
»
มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับความจำเป็นในการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ
|
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะต้องตั้งขึ้นตามแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) มหาวิทยาลัยได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 ซึ่งได้แก่ความเป็นนานาชาติ หากมีการจัดตั้งควรจะมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขในระดับสากลสู่ประชาคมโลก
2. เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาที่เป็นความต้องการมีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพได้ทั้งในและต่างประเทศ
3. เพื่อสร้างหลักสูตรการศึกษาระดับนานาชาติร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
4. เพื่อสร้างงานวิจัย และการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
5. สร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม ด้านการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน แก่ชุมชน และประชาคมโลก
6. เพื่อเป็นศูนย์รวมในการบริหารจัดการ(One- stop service center) ด้านการต่างประเทศ
หากมีการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว เราจะเห็นได้ถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน คือ บัณฑิตมีความเป็นนานาชาติเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก เพิ่มอันดับมหาวิทยาลัยจากการจัดอันดับโลกให้สูงขึ้น เนื่องจากคะแนนกว่าร้อยละ 50 ขึ้นกับความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยที่คนเกิดลดลง จำนวนนักศึกษาไทยมีแนวโน้มลดลง จึงต้องเพิ่มจำนวนนักศึกษาจากต่างประเทศให้มากขึ้น เพิ่มจำนวนทุนการศึกษาจากต่างประเทศ ซึ่งมีทุนจำนวนมากจำเพาะให้แก่มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรนานาชาติเท่านั้น และส่งเสริมบรรยากาศความเป็นนานาชาติภายในมหาวิทยาลัย และส่งเสริมศักยภาพด้านภาษาแก่นักศึกษาและบุคลากรให้เพิ่มมากขึ้น
|
คำสำคัญ :
ความเป็นนานาชาติ วิทยาลัยนานาชาติ
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
เรื่องทั่วไป
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3762
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
รัชชุพงษ์ ถมวัฒนศิลป์
วันที่เขียน
27/3/2560 8:59:13
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 15:40:55
|
|
|
งานด้านการต่างประเทศ
»
มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับความจำเป็นในการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ
|
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะต้องตั้งขึ้นตามแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) มหาวิทยาลัยได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 ซึ่งได้แก่ความเป็นนานาชาติ หากมีการจัดตั้งควรจะมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขในระดับสากลสู่ประชาคมโลก
2. เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาที่เป็นความต้องการมีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพได้ทั้งในและต่างประเทศ
3. เพื่อสร้างหลักสูตรการศึกษาระดับนานาชาติร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
4. เพื่อสร้างงานวิจัย และการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
5. สร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม ด้านการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน แก่ชุมชน และประชาคมโลก
6. เพื่อเป็นศูนย์รวมในการบริหารจัดการ(One- stop service center) ด้านการต่างประเทศ
หากมีการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว เราจะเห็นได้ถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน คือ บัณฑิตมีความเป็นนานาชาติเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก เพิ่มอันดับมหาวิทยาลัยจากการจัดอันดับโลกให้สูงขึ้น เนื่องจากคะแนนกว่าร้อยละ 50 ขึ้นกับความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยที่คนเกิดลดลง จำนวนนักศึกษาไทยมีแนวโน้มลดลง จึงต้องเพิ่มจำนวนนักศึกษาจากต่างประเทศให้มากขึ้น เพิ่มจำนวนทุนการศึกษาจากต่างประเทศ ซึ่งมีทุนจำนวนมากจำเพาะให้แก่มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรนานาชาติเท่านั้น และส่งเสริมบรรยากาศความเป็นนานาชาติภายในมหาวิทยาลัย และส่งเสริมศักยภาพด้านภาษาแก่นักศึกษาและบุคลากรให้เพิ่มมากขึ้น
|
คำสำคัญ :
ความเป็นนานาชาติ วิทยาลัยนานาชาติ
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
เรื่องทั่วไป
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3762
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
รัชชุพงษ์ ถมวัฒนศิลป์
วันที่เขียน
27/3/2560 8:59:13
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 15:40:55
|
|
|
|