การได้รับรางวัลการนำเสนอภาคบรรยายดีเด่นงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 9th International Conference on Science, Technology and Innovation for Sustainable Well-Being. STISWB
วันที่เขียน 17/8/2560 11:12:56     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:01:45
เปิดอ่าน: 3600 ครั้ง

การได้รับรางวัลการนำเสนอภาคบรรยายดีเด่นงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 9th International Conference on Science, Technology and Innovation for Sustainable Well-Being. STISWB ณ. มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีคุนหมิง นครคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน

อาจารย์ ดร.มธุรส ชัยหาญ ได้รับรางวัลการนำเสนอภาคบรรยายดีเด่น ผลงานวิจัยเรื่อง “Physical control of Unsmoked Sheets Fungal growth and Inhibition by Gamma Irradiation Technique” ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 9th International Conference on Science, Technology and Innovation for Sustainable Well-Being. STISWB ณ. มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีคุนหมิง นครคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 26-28 มิถุนายน 2560 โดยการประชุมวิชาการนานาชาติ The 9th International Conference on Science, Technology and Innovation for Sustainable Well-Being. STISWB จัดขึ้น  เพื่อเปิดโอกาศให้นักวิจัยจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และ องค์กรอื่นๆในระดับนานาชาติ ได้นำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิศวกรรมศาสตร์ และ เทคโนโลยี โดยมีคณะผู้จัดงานจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นผู้จัดงานประชุม ดังต่อไปนี้

  • Kunming University of Science and Technology (KUST), China
  • Faculty of Engineering and Industrial Technology, Silapakorn University
  • Faculty of Engineering, Mahasarakham University
  • Faculty of Engineering, Chiang Mai University
  • Faculty of Industrial Technology and Management, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok
  • Faculty of Engineering and Agro-Industry, Maejo University
  • Graduated School, Mahasarakham University 
  • Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Isan, Khonkean Campus
  • Rambhai Barni Rajabhat University
  • Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon
  • Faculty of Industrial Technology, Rajabhat Rajanagarindra University

           โดยแบ่งกลุ่มการสัมมนาวิชาการ ออกเป็น 10 กลุ่ม ได้แก่ Section 1 : Engineering Education and Engineering Business and Education Science, Section 2: Alternative Energy and Combustion, Section 3: Mapping, GIS and Remote Sensing, Section 4: Mechanical Engineering, Section 5: Energy Technology and Management, Section 6: Agricultural, Biological and Food Engineering, Section 7: Electrical Engineering, Section 8: Computational and Simulation Techniques, Section 9: Biomechanics, Robotics and Controls and Section 10 : Mechanical Engineering การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างงานวิจัยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ รวมทั้ง เป็นเวทีอธิปรายเสวนาสร้างความรู้และความเข้าใจถึงแนวทางการขับเคลื่อนงานวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ และ เทคโนโลยี ในระดับนานาชาติ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยี และ นวัตกรรม และ มีการบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน และ งานวิจัยที่นำเสนอ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “การประยุกต์ใช้ซีรัมน้ำยางพาราให้เกิดประโยชน์ทางด้านการแพทย์ การเกษตร และ อุตสาหกรรมยางพารา” ที่สนับสนุนโครงการวิจัยโดย คอบช การวิจัยแบบมุ่งเป้า  ประจำปี 2559 โดยมีนักวิจัย คือ อาจารย์ ดร.มธุรส ชัยหาญ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย  และ นักวิจัยร่วม คือ อาจารย์ ดร. กิตติคุณ พระกระจ่าง อาจารย์ ดร. ศิวโรฒ บุญราศรี อาจารย์ ดร. วชิระ ชุ่มมงคล และ นักศึกษาภายใต้โครงการวิจัย นางสาว ฐิตินันท์ เพ็งมา

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การอบรมเรื่องการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง » การเข้าร่วมการอบรมการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง
การเข้าร่วมการอบรมการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง ณ. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ ได้ทำการอบรมศึกษาที้ง ทฤษฎี และ ปฎิบัติ เพื่อนำเอาทักษะ หรือความก้าวหน้าทางด้านเครื่องมือใหม่ๆไปใ...
การใช้เครื่องมือวิเคระห์ขั้นสูง     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อุทุมพร กันแก้ว  วันที่เขียน 8/9/2567 23:09:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:23:19   เปิดอ่าน 200  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง