ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้าเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานภาคบรรยายในการประชุมวิชาการเครือข่ายวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ ครั้งที่ 12 (Thai Forest Ecological Research Network Conference, T-FERN # 12) หัวข้อเรื่อง “ธรรมชาติ ป่าไม้ และที่ดิน: การปรับตัวและการบรรเทาต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” เมื่อวันที่ 9-10 กุมภาพันธุ์ 2566 ณ.สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นั้น
บัดนี้ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานภาคบรรยายในการประชุมวิชาการเครือข่ายวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ ครั้งที่ 12 (Thai Forest Ecological Research Network Conference, T-FERN # 12) หัวข้อเรื่อง “ธรรมชาติ ป่าไม้ และที่ดิน: การปรับตัวและการบรรเทาต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงขอรายงานสรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้
- สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ ร่วมประชุมและนำเสนอผลงานภาคบรรยายในการประชุมวิชาการเครือข่ายวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ ครั้งที่ 12 (Thai Forest Ecological Research Network Conference, T-FERN # 12) หัวข้อเรื่อง “ธรรมชาติ ป่าไม้ และที่ดิน: การปรับตัวและการบรรเทาต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” มีหัวข้อบรรยายที่น่าสนใจหลายหัวข้อสรุปได้ดังนี้
เข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “Nature, Forests, and Land: Adaptation and Mitigation to Climate Change” โดย Dr. Raphael Idem UR Professor of Industrial/Process Systems Engineering มีรายละเอียดดังนี้
Summary
Incread industrialization, economic activities and population growth of any nation require increased production of energy, fuels and chemicals. There are currently sourced mostly from fossil fuels (i.e., coal, petroleum oil and natural gas). Other sources include renewables (i.g wind and solar), biomass, nuclear, hydro and geothermal. However, the total combined fractional contribution of these sources are very small compared to that of foddil fuels. Even though their individual contribution are increasing, they are outpaced by the increasing demand placed by rapid growths in industrialization, economic, activities and population. Consequently, it is not possible currently standard of living. However, the use of any amount of foddil fuel will result in the production of carbon dioxide (CO2), the most any abundant anthropogenic greenhouse gas (GHG), which is blamed for climate change and global warming issues. Additional contributors to GHG (i.e CO2) emission are from land use, agriculture and forestry. It is clear tha, in order to prevent any futher rise in global temperature and limit its effect on the planet, we have to strive for production of energy as well as adopt land use, agriculture and foretry practices which will result in net-zero CO2 emissiion, Therefore, if we must still use fossil fuel to produce energy, fuels and chemicals, even as a transition towards carbon-free society, then we have to develop straties that will ensure that net-zero CO2 emission is achieved. It is also well known that biomass, which affects land use, agriculture and foretry, is an excellent reneable source that can be used to produce clean energy in an environmentally sustainable maner. However, strategies which involve hybrid technologies which ultimately hinge on carbon capture, utilization and storage (CCUS) in order to help achieve net zero carbon emissions.
หัวข้อ นิเวศวิทยาป่าไม้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดย ศ.ดร. สนิท อักษรแก้ว ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็เป็นอีกภัยคุกคามหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าไม้ จากการศึกษาการประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อพืช 22 ชนิด ในพื้นที่ป่าภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ส่งผลต่อจำนวนสายพันธุ์ของพืชอย่างมีนัยสำคัญ แต่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในเชิงพื้นที่ คือ การกระจายตัวของสายพันธุ์ต่างๆ จะเปลี่ยนแปลงไปและมีอัตราการหมุนเวียนสูง ในจำนวนพืช 22 ชนิด มีพืช 10 ชนิด ได้แก่ มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa) มะม่วงป่า (Mangifera spp.) สัก (Tectona grandis) สมพง (Tetrameles nudiflor) เหียง (Dipterocarpus obtusifolius) ซ้อ (Gmelina arborea) พลวง (Diptercarpus tuberculatus) ยมหิน (Chukrasia spp.) เต็ง(Shorea obtusa) และประดู่ (Pterocarpus macrocarpus) ที่จะสูญเสียสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสม ส่วนอีก 12 ชนิดที่เหลือ เช่น พะยูง (Dalbergia cochinchinnensis) ตะเคียน (Hopea odorata) สนสองใบ (Pinus merkusii) เป็นต้น โดยไม้ไม่ผลัดใบ มีแนวโน้มจะมีพื้นที่ที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นมากกว่าไม้ผลัดใบและจะมีการขยายแหล่งกระจายพันธุ์ (distribution range) ซึ่งคาดว่าการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณตะวันตกและบริเวณตอนบนของภาคเหนือ ขณะที่การศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อพืชในป่าภาคใต้ของประเทศไทย พบว่า มีพืช 20 ชนิดที่จะมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสม เหลือน้อยกว่าร้อยละ 10 โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชตระกูลยาง (Dipterocarpus spp.) จะมีสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสมเหลือน้อยกว่าร้อยละ 1
การดำเนินการเพื่อคุ้มครองระบบนิเวศป่าไม้ในระดับชาติอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งรับผิดชอบดูแลป่าไม้และสัตว์ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติ (จำนวน 130 แห่ง) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (จำนวน 60 แห่ง) เขตห้ามล่าสัตว์ป่า (จำนวน 58 แห่ง) วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ และสวนรุกขชาติ ขณะที่กรมป่าไม้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลรักษาป่าไม้ในเขตพื้นที่ป่าสงวน ส่งเสริมการปลูกป่าเพิ่มเติม ส่งเสริมการปลูกป่าเพื่อเศรษฐกิจ ตลอดจนส่งเสริมให้ชุมชนโดยรอบป่ามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในรูปแบบป่าชุมชนด้วย โดยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติป่าชุมชนใน พ.ศ. 25626 นับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2543-2562 ประเทศไทยมีชุมชนที่จัดตั้งป่าชุมชนทั้งหมด 17,442 หมู่บ้าน มีป่าชุมชนครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 7,634,925 ไร่ 2 งาน 41 ตารางวา ใน พ.ศ. 2559 องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ในระดับนานาชาติได้ร่วมกันกำหนดเกณฑ์เพื่อจัดจำแนกระบบนิเวศทั่วโลกทั้งระบบนิเวศบก น้ำจืด และทะเลที่มีความสำคัญต่อการคงอยู่ของความหลากหลายทางชีวภาพในชื่อ Key Biodiversity Areas (KBA) หรือพื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลาย ทางชีวภาพ โดยอาศัยข้อมูลหลักจากพื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์นก (Important Bird Areas, IBAs) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลจาก The BirdLife International และ Alliance for Zero Extinction Sites ซึ่งจัดทำโดย The Alliance for Zero Extinction จุดมุ่งหมายของการจัดทำพื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพคือเพื่อช่วยแต่ละประเทศในการจัดลำดับความสำคัญในการจัดตั้งหรือขยายพื้นที่คุ้มครอง ตลอดจนการกำหนดมาตรการอนุรักษ์เชิงพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (IUCN, 2016) สำหรับประเทศไทยมีระบบนิเวศที่อยู่ในฐานข้อมูลพื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทั้งหมด 121 แห่ง ทั้งนี้ มีพื้นที่พื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ จำนวน 24 แห่ง ที่ปรากฏชื่ออยู่ทั้งในบัญชีรายชื่อพื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์นกและพื้นที่ที่มีความสำคัญยิ่งด้านความหลากหลายของพืช (Important Plant Area, IPA)
การดูแลรักษาระบบนิเวศป่าไม้ในประเทศไทยยังได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากภาคเอกชนหลายองค์กร โดยเฉพาะองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร เช่น มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF-Thailand) สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย เป็นต้น
การนำเสนอภาคบรรยาย หัวข้อ “ คุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและการยับยั้งแบคทีเรียสาเหตุฟันผุของสารสกัดใบเมี่ยงธรรมชาติ
(Antioxidant Property and Antibacterial of Dental Caries by Natural Miang Extracts)
โดย มธุรส ชัยหาญ วชิระ ชุ่มมงคล เพิ่มศักดิ์ สุภาพรเหมินทร์ ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ โชษณ ศรีเกตุ และ ธีระพล เสนพันธุ์
ณ. ห้องประชุมทองกวาว 1 กลุ่มที่ 1 ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธุ์ 2566 เวลา 11.15-11.30 สรุปดังนี้
แบคทีเรีย Streptococcus mutans เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคฟันผุซึ่งพบได้บ่อยในประเทศกำลังพัฒนา งานวิจัยนี้จึงมุ่นเน้นการสกัดสารสกัดจากใบเมี่ยงจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน พะเยา และเชียงราย ด้วยตัวทำละลายอทานอล เพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านแบคทีเรียสาเหตุฟันผุ S. mutans สายพันธุ์ DMST18777 และ Lactobacillus sp. พบว่าสารสกัดหยาบใบเมี่ยงจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH• และ ABTS+ สูงที่สุด รองลงมาสารสกัดหยาบใบเมี่ยงจังหวัดพะเยาและเชียงราย ตามลำดับ นอกจากนี้ สารสกัดหยาบใบเมี่ยงจังหวัดแม่ฮ่องสอนแสดงโซนใสการยับยั้งได้ดีที่สุด เท่ากับ 14.50 ± 0.70 การศึกษาเบื้องต้นโดยวิธี Agar disc diffusion พบว่า S. mutans และ Lactobacillus spp.ไวต่อสารสกัดเอทานอล ดังนั้นใบเมี่ยงมีปริมาณสารฟีนอลลิก และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระสูงสามารนำไปเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากเชิงพาณิชย์ได้
คำสำคัญ ใบเมี่ยง, สารประกอบฟีนอลิก, ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย, กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ
ร่วมฟังบรรยาย หัวข้อ นิเวศบริการด้านการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินในกลุ่มป่าแก่งกระจาน โดย ธรรมนูญ เต็มชัย ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดเพชรบุรี
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินนิเวศบริการด้านการป้องกันและชะล้างพังทลายของดินของกลุ่มป่าแก่งกระจานในเชิงเปรียบเทียบระหว่างสภาพสิ่งปกคลุมดินในปัจจุบันและหากพื้นที่ทั้งหมด (ยกเว้นผิวน้ำ) กลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยใช้แบบจำลอง Sediment Delivery Ratio (SDR) พบว่าภายใต้สิ่งปกคลุมดินในปัจจุบัน ซึ่งมีพื้นที่ป่าสมบูรณ์ร้อยละ 94.7 ของพื้นที่ทั้งหมด กลุ่มป่าแก่งกระจาน ช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและดักตะกอนไม่ให้ไหลลงลำธาร 15,486,058 และ 1,725,285 ตันต่อปี ตามลำดับ มีมูลค่าการป้องกันการพังทลายของดิน 12,762,041,228 บาท/ปี คิดเป็น 4,050 บาท/ไร่/ปี และหากพื้นที่ทั้งหมดถูกเปลี่ยนเป็นพี้นที่เกษตรกกรม จะทำให้สูญเสียมูลค่านิเวศบริการด้านนี้ 5,713,093,480 บาท/ปี
คำสำคัญ : นิเวศบริการ, การป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน, กลุ่มป่าแก่งกระจาน
- ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
1. การเรียน การสอน
สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้พัฒนาการเรียน การสอน วิชา ชว 330 จุลชีววิทยาทั้งในส่วนบรรยายเช่น หัวข้อการเจริญและการสืบพันธุ์ของจุลินทรีย์ หัวข้อเอนไซม์และหัวข้อเมทาบอลิซึม สำหรับหัวข้อปฏิบัติการ เช่น หัวข้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ทั่วไป หัวข้อเมเทบอลิซึม หัวข้อจุลินทรีย์ในแหนมและโยเกริต์ หัวข้อแบคทีเรียโคลิฟอร์ม และหัวข้อการตรวจสอบจุลินทรีย์ในน้ำนม
- การวิจัย
2.1) นำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการมาออกแบบและพัฒนาตำรับผงโรยข้าวฟูริคาเกะใบเมี่ยง 3 ตำรับ และออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยการใช้ซองกระดาษที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวฟูริคาเกะใบเมี่ยง ใช้วัตถุดิบหลัก ได้แก่ ยอดอ่อนใบเมี่ยง ผัก เห็ด งาขาว งาดำ สาหร่ายทะเล ปลา ไข่ และธัญพืช ที่ปลูกในระบบเกษตรปลอดสารพิษ วัตถุดิบที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร มีกระบวนการแปรรูปที่ง่าย ไม่ซับซ้อน ลดการใช้พลังงานและสร้างรายได้ให้กับชุมชน รวมถึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตให้สอดคล้องกับข้อกำหนดและกฎหมายของ อย. ในส่วนของส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ต้องเป็นไปตามประกาศที่ อย. กำหนด ได้แก่
- ผงโรยข้าวฟูริคาเกะใบเมี่ยง สูตรเสริมภูมิคุ้มกัน ขนาดบรรจุ 20 กรัม
- ผงโรยข้าวฟูริคาเกะใบเมี่ยง สูตรเสริมโปรตีน ขนาดบรรจุ 20 กรัม
- ผงโรยข้าวฟูริคาเกะใบเมี่ยง สูตรเสริมโอเมก้า ขนาดบรรจุ 20 กรัม
2.2) นำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมปฏิบัติการมาพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่วนโครงการ “ลำพูนโมเดล” เสนอต่อ บพท. (ผู้ร่วมวิจัย ในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลำไย)
2.3) องค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมปฏิบัติการมาพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่วนโครงการ “ลำพูนเมืองน่าอยู่ สร้างสรรค์ สุขภาพ” เสนอต่อ จ.ลำพูน
- การถ่ายทอดเทคโนโลยี
- การผลิตสื่อ เช่น clip VDO Kombuch ใบเมี่ยง เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ เช่น Line VOOM และวารสารแม่โจ้ปริทัศน์ ออนไลน์ สำหรับผู้สนใจ
- การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ณ. ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษสู่ความยั่งยืนบ้านดงเจริญชัย .หนองแหย่ง อ. สันทราย จ.เชียงใหม่
- ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
- การถ่ายทอดเทคโนโลยี
การผลิตสื่อ เช่น clip VDO Kombuch ใบเมี่ยง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแนะนำงานวิจัยของบุคลากรในหลักสูตร หรืองานวิจัยของบุคคลากรในคณะวิทยาศาสตร์
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายในร้าน Science Shop และออกบู้ธจัดจำหน่ายสินค้า ณ.ห้างโรบินสันพลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 5-10 มีนาคม 2566 ผ่านหน่วยงาน U2T สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ต้นแบบผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวฟูริคาเกะใบเมี่ยงและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของใบเมี่ยงนำมาจำหน่าย ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์จัดสรรให้เป็นรายได้ให้แก่หลักสูตรและคณะ สำหรับต้นแบบผลิตผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวฟูริคาเกะใบเมี่ยงและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของใบเมี่ยงที่ออกบู้ธจำหน่าย ณ. ห้างโรบินสันพลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 5-10 มีนาคม 2566 ผ่านหน่วยงาน U2T สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์จัดสรรให้เป็นรายได้ให้แก่มหาวิทยาลัย ยกตัวอย่าง เช่น
- ผงโรยข้าวฟูริคาเกะใบเมี่ยง สูตรเสริมภูมิคุ้มกัน ขนาดบรรจุ 20 กรัม
- ผงโรยข้าวฟูริคาเกะใบเมี่ยง สูตรเสริมโปรตีน ขนาดบรรจุ 20 กรัม
- ผงโรยข้าวฟูริคาเกะใบเมี่ยง สูตรเสริมโอเมก้า ขนาดบรรจุ 20 กรัม
บรรยากาศในการออกบู้ธจำหน่ายสินค้า ณ. ห้างโรบินสันพลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 5-10 มีนาคม 2566 ของหน่วยงาน U2T สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ผลิตภัณฑ์จากใบเมี่ยง อาทิเช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้านปาก และผงโรยข้าวฟูริคาเกะ จากงานวิจัยนำไปร่วมจัดแสดงและจัดจำหน่ายภายในงาน
ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกระชายขาว อาทิเช่น กาแฟกระชายขาว และมัจฉะลาเต้กระชายขาว ชนิดพร้อมชง 3 in 1 จากงานวิจัยนำไปร่วมจัดแสดงและจัดจำหน่ายภายในงาน
- นักศึกษาผู้ช่วยวิจัย สังกัดหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์
1) ช่วยวิจัยด้านการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร ทดสอบด้วยวิธี Agar disc diffusion, MIC, MBC สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ใช้กับงานวิจัยของตนเองได้
2) มีส่วนร่วมในการการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ณ. ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษสู่ความยั่งยืนบ้านดงเจริญชัย ต.หนองแหย่ง อ. สันทราย จ.เชียงใหม่ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการทร่วมกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยี “การผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากสมุนไพร” มาพัฒนาผลิตภัณฑ์คอมบูชะใบชาอัสสัม (Assam Tea Kombucha) ในงานปัญหาพิเศษของนักศึกษาได้
พร้อมนี้ได้แนบเอกสาร Procedding การนำเสนองานวิจัย หัวข้อ “ คุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและการยับยั้งแบคทีเรียสาเหตุฟันผุของสารสกัดใบเมี่ยงธรรมชาติ (Antioxidant Property and Antibacterial of Dental Caries by Natural Miang Extracts) จากการเข้าประชุม/อบรมฯลฯ มาพร้อมนี้แล้ว จำนวน....1...... ชุด
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
มธุรส ชัยหาญ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มธุรส ชัยหาญ)