รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : วารสาร
คู่มือ » การสร้างรายการบรรณานุกรมบทความวารสารในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST
คู่มือปฏิบัติงานเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในส่วนของการสร้างรายการบรรณานุกรมบทความวารสาร จากโปรแกรมวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials Control Module) และโปรแกรมระบบ Cataloging Module ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (ALIST) ตามแนวทางและนโยบายการบริหารงานของฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ โดยมีการสร้างรายการบรรณานุกรมบทความวารสารที่เป็นรูปเล่มและที่จัดทำเป็นแบบออนไลน์ ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด รวมถึงนักศึกษาฝึกงานจากสถาบันอุดมศึกษาสาขาบรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์
คำสำคัญ : บทความวารสาร  รายการบรรณานุกรม  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 164  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 21/8/2567 11:34:00  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:42:44
คู่มือ » การสร้างรายการทรัพยากรวารสาร (item) เพื่อการยืม-คืน
ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับวารสารเย็บเล่มออกเป็น 4 แนวทางด้วยกันคือ 1) การเย็บเล่มวารสารในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Alist 2) เย็บเล่มวารสารโดยการสร้างรายการทรัพยากรเป็นรายฉบับ 3)การเย็บเล่มวารสารจากการถ่ายโอนจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Horizon 4) ยกเลิกการเย็บเล่มวารสารกรณีที่เย็บเล่มเอง (เย็บเล่มชั่วคราว)
คำสำคัญ : item  ทรัพยากรวารสาร  ยืม-คืน  วารสาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 54  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 20/8/2567 14:25:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:14:00
คู่มือ » การสร้างรายการทรัพยากรวารสาร (item) เพื่อการยืม-คืน
ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับวารสารเย็บเล่มออกเป็น 4 แนวทางด้วยกันคือ 1) การเย็บเล่มวารสารในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Alist 2) เย็บเล่มวารสารโดยการสร้างรายการทรัพยากรเป็นรายฉบับ 3)การเย็บเล่มวารสารจากการถ่ายโอนจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Horizon 4) ยกเลิกการเย็บเล่มวารสารกรณีที่เย็บเล่มเอง (เย็บเล่มชั่วคราว)
คำสำคัญ : item  ทรัพยากรวารสาร  ยืม-คืน  วารสาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 54  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 20/8/2567 14:25:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:14:00
คู่มือ » คู่มือปฏิบัติงานการสร้างรายการทรัพยากรของวารสาร (item)
ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำการเปลี่ยนระบบห้องสมุดอัตโนมัติใหม่ คือระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (ALIST) ในส่วนของการลงทะเบียนที่เป็นการลงรับวารสารในส่วนของโมดู Serical Check in คือรายละเอียดของวารสารตั้งแต่ปี 2540-2558 สามารถถ่ายจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Horizon มายังระบบห้องสมุดอัตโนมัติให้คือ ALIST ได้ ส่วนรายละเอียดของวารสารที่ได้รับก่อนปี 2540 ไม่สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้ ซึ่งเป็นปัญหาของงานด้านวารสารคือมีข้อมูลในส่วนของรายการบรรณานุกรมทะเบียนวารสาร แต่ไม่สามารถแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของวารสารที่มีให้บริการได้ ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดทำการสร้าง Item ของวารสารทั้งหมดที่รับเข้ามาในระบบและเพื่อเป็นการเตรียมการเพื่อในอนาคตจะมีการให้บริการยืมวารสารออกนอกห้องสมุดได้ วัตถุประสงค์ของการจัดทำคู่มือ 1. เพื่อสร้างรายการทรัพยากรวารสาร (Item) สำหรับการ ยืม- คืน วารสาร 2. เพื่อเป็นคู่มือการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศและผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ขอบเขตของคู่มือ คู่มือการสร้างรายการทรัพยากรของวารสาร (Item) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นคู่มือที่จัดทำขึ้นสำหรับการสร้างรายการทรัพยากรของวารสาร ตามนโยบายของผู้บริการที่ต้องการให้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวารสารที่มีให้บริการในสำนักหอสมุดทั้งวารสารเย็บเล่มและวารสารเล่มปลีกสามารถ ยืม- คืน ผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ได้ ประโยชน์ที่ได้รับ 1. บุคลากรสำนักหอสมุด สามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ 2. ผู้ใช้บริการสามารถยืม คืน วารสารผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติได้ 3. สามารถรายงานผลการายืม – คืน วารสารได้
คำสำคัญ : item  รายการทรัพยากรวารสาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 223  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:47:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:49:00
คู่มือ » การสร้าง item เพื่อการยืมคืน
แนวทางการปฏิบัติงานข้างต้นในส่วนของงานด้านวารสาร สำนักหอสมุดได้ปฏิบัติตามนโยบายของผู้บริหาร ตั้งแต่การบันทึกรายการบัตรทะเบียนวารสาร การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบเดิม (horizon) จนถึงปัจจุบันใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Alsit) จากการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องจึงเกิดกระบวนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหาร ที่ต้องการให้เกิดความสะดวกในการยืม-คืนวารสาร และเป็นการเก็บสถิติการใช้วารสารภายในห้องสมุด จึงมีความจำเป็นที่ผู้ปฎิบัติงานด้านวารสารจะต้องดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว จึงต้องทำการในสร้าง/เพิ่ม/แก้ไข ข้อมูลตัวเล่ม (item) ของวารสาร เฉพาะตัวเล่มที่มีผู้ใช้บริการต้องการใช้ ต้องการยืมออกนอกห้องสมุด และวารสารล่วงเวลาที่ผู้ใช้ใช้บริการที่วางที่จุดพักวารสารเท่านั้น เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณในการติดบาร์โค้ด ประหยัดเวลาในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านวารสาร ส่วนวารสารฉบับใหม่ที่มีการสมัครสมาชิกหรือรับบริจาคจะดำเนินการลงทะเบียนในระบบเช็คอินการ์ดทุกฉบับและดำเนินการสร้างข้อมูลตัวเล่ม (item) เป็นปัจจุบัน
คำสำคัญ : item  ข้อมูลตัวเล่มวารสาร  วารสารล่วงเวลา  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 176  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:31:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 14:18:29
คู่มือ » การสร้าง item เพื่อการยืมคืน
แนวทางการปฏิบัติงานข้างต้นในส่วนของงานด้านวารสาร สำนักหอสมุดได้ปฏิบัติตามนโยบายของผู้บริหาร ตั้งแต่การบันทึกรายการบัตรทะเบียนวารสาร การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบเดิม (horizon) จนถึงปัจจุบันใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Alsit) จากการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องจึงเกิดกระบวนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหาร ที่ต้องการให้เกิดความสะดวกในการยืม-คืนวารสาร และเป็นการเก็บสถิติการใช้วารสารภายในห้องสมุด จึงมีความจำเป็นที่ผู้ปฎิบัติงานด้านวารสารจะต้องดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว จึงต้องทำการในสร้าง/เพิ่ม/แก้ไข ข้อมูลตัวเล่ม (item) ของวารสาร เฉพาะตัวเล่มที่มีผู้ใช้บริการต้องการใช้ ต้องการยืมออกนอกห้องสมุด และวารสารล่วงเวลาที่ผู้ใช้ใช้บริการที่วางที่จุดพักวารสารเท่านั้น เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณในการติดบาร์โค้ด ประหยัดเวลาในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านวารสาร ส่วนวารสารฉบับใหม่ที่มีการสมัครสมาชิกหรือรับบริจาคจะดำเนินการลงทะเบียนในระบบเช็คอินการ์ดทุกฉบับและดำเนินการสร้างข้อมูลตัวเล่ม (item) เป็นปัจจุบัน
คำสำคัญ : item  ข้อมูลตัวเล่มวารสาร  วารสารล่วงเวลา  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 176  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:31:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 14:18:29
คู่มือ » คู่มือการปฏิบัติงาน ทะเบียนวารสารในโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST
ปัจจุบัน สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST เวอร์ชั่น 4.0.2009 ซึ่งการดำเนินงานเกี่ยวกับวารสารจะใช้โปรแกรมย่อยของระบบควบคุมวารสาร (Serial Control Module) เพื่อควบคุมกระบวนการดำเนินงานในด้านต่างๆ ได้แก่ การบันทึกรายการบรรณานุกรมวารสารใช้ร่วมกับ (ระบบ Cataloging Module) การลงทะเบียนวารสารในระบบ Serial Control Module และการประมวลผลสารสนเทศประเภทวารสารที่ได้รับจากการจัดซื้อจัดหาไว้ให้บริการในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากเหตุผลดังกล่าว ผู้เขียน จึงเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน งานทะเบียนวารสารในโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของบุคลากรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และจะส่งผลต่อผู้ใช้บริการให้เกิดความสะดวกสบายในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศประเภทวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ : ALIST  ทะเบียนวารสาร  ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 227  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:20:35  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 15:47:48
คู่มือ » การตรวจสอบทะเบียนวารสาร
วารสารจัดเป็นทรัพยากรสารนิเทศประเภทหนึ่งที่นับได้ว่ามีความสำคัญและความจำเป็นสำหรับผู้ใช้บริการอย่างมาก วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูล ให้ความรู้ทางวิชาการที่หลากหลาย มีความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วยงานเขียนและงานวิจัยของนักวิชาการ นักวิจัยประเภทต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คำนึงถึงความสำคัญและความจำเป็นของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทนี้ จึงได้มีการ จัดสร้างรายการบรรณานุกรมทะเบียนวารสารภาษาไทย และวารสารภาษาอังกฤษ และในปัจจุบันนี้ มีการจำกัดในเรื่องงบประมาณในการจัดซื้อจัดหา และวารสารมีการหยุดพิมพ์เป็นจำนวนมาก มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดพิมพ์จากการพิมพ์ตัวเล่มปรับเปลี่ยนเป็นแบบออนไลน์เป็นจำนวนมาก จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีหน้าที่ในความรับผิดชอบเกี่ยวกับเทคนิคการบริหารจัดการด้านทะเบียนวารสาร เพื่อให้บริการวารสารให้เป็นปัจจุบันและทันสมัย ทั้ง 2 รูปแบบ คือ บริการตัวเล่มวารสาร และ บริการวารสารฉบับออนไลน์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับปรุงทะเบียนวารสารให้สอดคลองกับการให้บริการในโลกปัจจุบัน วัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงสถานะและรายละเอียดของรายการทะเบียนวารสารที่ให้บริการให้ตรงกับความเป็นจริงและเป็นปัจจุบัน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ทำให้ผู้ปฎิบัติงานห้องสมุดและผู้ใช้บริการ ได้รับทราบสถานะของทะเบียนวารสารได้ตรงกับความเป็นจริงและเป็นสถานะของปัจจุบันแต่ละรายชื่อ ขอบเขต ตรวจสอบรายการบรรณานุกรมทะเบียนวารสารภาษาไทย ให้เป็นปัจจุบันโดยตรวจสอบจากไฟล์เอกสารใน Google Drive “รายชื่อวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง” กับโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ในระบบวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง โดยตรวจสอบสถานะของวารสารที่จำหน่ายออกและวารสารที่จัดทำเป็นแบบออนไลน์
คำสำคัญ : ทะเบียนวารสาร  สถานะของวารสาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 197  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 9:35:47
คู่มือ » การตรวจสอบทะเบียนวารสาร
วารสารจัดเป็นทรัพยากรสารนิเทศประเภทหนึ่งที่นับได้ว่ามีความสำคัญและความจำเป็นสำหรับผู้ใช้บริการอย่างมาก วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูล ให้ความรู้ทางวิชาการที่หลากหลาย มีความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วยงานเขียนและงานวิจัยของนักวิชาการ นักวิจัยประเภทต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คำนึงถึงความสำคัญและความจำเป็นของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทนี้ จึงได้มีการ จัดสร้างรายการบรรณานุกรมทะเบียนวารสารภาษาไทย และวารสารภาษาอังกฤษ และในปัจจุบันนี้ มีการจำกัดในเรื่องงบประมาณในการจัดซื้อจัดหา และวารสารมีการหยุดพิมพ์เป็นจำนวนมาก มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดพิมพ์จากการพิมพ์ตัวเล่มปรับเปลี่ยนเป็นแบบออนไลน์เป็นจำนวนมาก จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีหน้าที่ในความรับผิดชอบเกี่ยวกับเทคนิคการบริหารจัดการด้านทะเบียนวารสาร เพื่อให้บริการวารสารให้เป็นปัจจุบันและทันสมัย ทั้ง 2 รูปแบบ คือ บริการตัวเล่มวารสาร และ บริการวารสารฉบับออนไลน์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับปรุงทะเบียนวารสารให้สอดคลองกับการให้บริการในโลกปัจจุบัน วัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงสถานะและรายละเอียดของรายการทะเบียนวารสารที่ให้บริการให้ตรงกับความเป็นจริงและเป็นปัจจุบัน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ทำให้ผู้ปฎิบัติงานห้องสมุดและผู้ใช้บริการ ได้รับทราบสถานะของทะเบียนวารสารได้ตรงกับความเป็นจริงและเป็นสถานะของปัจจุบันแต่ละรายชื่อ ขอบเขต ตรวจสอบรายการบรรณานุกรมทะเบียนวารสารภาษาไทย ให้เป็นปัจจุบันโดยตรวจสอบจากไฟล์เอกสารใน Google Drive “รายชื่อวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง” กับโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ในระบบวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง โดยตรวจสอบสถานะของวารสารที่จำหน่ายออกและวารสารที่จัดทำเป็นแบบออนไลน์
คำสำคัญ : ทะเบียนวารสาร  สถานะของวารสาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 197  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 9:35:47
คู่มือ » การจำหน่ายออกวารสาร
การจำหน่ายออกวารสาร ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จิณาภา ใคร้มา นักเอกสารสนเทศชำนาญการพิเศษ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศประเภทวารสารออกจากห้องสมุด เนื่องจากปัจจุบันสภาพทางกายภาพของห้องสมุดมีจำนวนวารสารที่ให้บริการที่ซ้ำและวารสารเก่า ทำให้พื้นที่ในการจัดเก็บไม่เพียงพอ จึงมีโนบายในการจำหน่ายออกวารสารจำนวนดังกล่าว วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่มีความสำคัญของห้องสมุดประเภทหนึ่ง ที่มีการเผยแพร่ความรู้ ความคิด เสนอความเคลื่อนไหวและพัฒนาการของวิชาการในสาขาวิชาการต่าง ๆ อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ในวารสารจะประกอบด้วย บทความวิชาการ ข้อมูล สถิติ รายงานสถานการณ์ความเลื่อนไหวของประเทศ เป็นการประชาสัมพันธ์หน่วยงาน ซึ่งทุกห้องสมุดจะต้องจัดซื้อ จัดหา ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวารสารมาไว้เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ซึ่งกิจกรรมการจำหน่ายออกวารสาร ถือได้ว่าเป็นหนึ่งภาระงานของฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ความหมาย วารสาร หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกเป็นประจำ เช่นรายสัปดาห์ ปักษ์ เดือน รายสองเดือน รายสามเดือน รายสี่เดือน รายหกเดือน หรือรายปี มีเนื้อหาให้ความรู้เชิงวิชาการ การจำหน่าย หมายถึง ขาย จ่าย แจก เอาออกจากบัญชี การจำหน่ายออกวารสาร หมายถึง การนำวารสารออกจากห้องสมุดโดยการ ขาย แจกหรือบริจาค โดยวารสารดังกล่าวจะต้องมีนโยบายการนำออกจากผู้บริหาร หรือมติที่ประชุมกรรมการบริหารสำนักหอสมุด วัตถุประสงค์ของการจำหน่ายวารสารออก 1. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทวารสารให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ 2. เพื่อให้มีพื้นที่ในการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทวารสารเพียงพอกับปริมาณตัวเล่มวารสาร
คำสำคัญ : จำหน่ายออกวารสาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 283  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 17/6/2567 16:05:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 14:32:49
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล้วนั้น ขั้นตอนต่อมาก็คือ การเผยแพร่ผลงานวิชาการนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อแวดวงวิชาการในสาขานั้น ๆ อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อใหม่ ทางด้านวิชาการในศาสตร์นั้น ๆ ซึ่งหนึ่งช่องทางในการนำเสนอข้อมูลนั้น ได้แก่ การตีพิมพ์บทความทางวิชาการในระดับชาติหรือระดับนานาชาตินั่นเอง ดังนั้นเทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นต่อวงการวิชาการ
คำสำคัญ : Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 204  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 23:19:59
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » การเขียนบทความลงวารสารวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
บทความวิชาการมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นรูปแบบอันเป็นสากลในการเผยแพร่ความรู้ ความคิด และพัฒนาการที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ในแง่มุมต่าง ๆ มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้จัดทำ “วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม” ขึ้นเพื่อส่งเสริมการผลิตและเผยแพร่บทความ วิชาการโดยมีกำหนดการตีพิมพ์เป็นราย 4 เดือน หรือ กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ ในเดือนมกราคม พฤษภาคม และเดือนกันยายน ของทุกปี • ประเภทผลงานที่รับตีพิมพ์ - บทความปริทัศน์ (Review Article) ทั้งในรูปแบบของการเรียบเรียงผลงานวิจัยที่ผ่านมา และการเรียบเรียงสรุปความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สารสนเทศในด้านใดด้านหนึ่ง หรือบทความแนะนำองค์ความรู้ในสาขาการวิจัยที่น่าสนใจ (Tutorial Article) - บทความวิชาการ (Academic Article) ที่ให้ความรู้อันเป็นประโยชน์แก่นักวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือประชาชนทั่วไป - บทความวิจัย (Research Article) ด้านนวัตกรรมการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ • ขอบเขตของบทความวิชาการ - งานวิจัยและบทความทางวิชาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - งานวิจัยและบทความในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ - งานวิจัยและบทความด้านอื่น ๆ ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่วประเทศ Ref: https://mitij.mju.ac.th/JOURNAL/1.Promote_MITIJ.pdf
คำสำคัญ : เทคโนโลยีสารสนเทศ  บทความวิจัย  วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม  วิทยาการคอมพิวเตอร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 405  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 28/9/2566 13:16:08  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 0:29:13
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการอบรม "เขียนบทความวิชาการอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์ และการเลือกวารสารวิชาการให้เหมาะสมกับผลงาน"
โครงการอบรม "เขียนบทความวิชาการอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์และการเลือกวารสารวิชาการให้เหมาะสมกับผลงาน" โดย ศาสตราจารย์ ดร.อุทัยรัตน์ ณ นคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 16 ธันวาคม 2565 เวลา : 13:30 - 16:30 น. ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
คำสำคัญ : บทความวิชาการ  วารสารวิชาการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1268  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 22/4/2566 23:40:30  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:15:30
การเขียนและนำเสนอผลงานวิชาการเป็นภาษาต่างประเทศ » การเขียนและนำเสนอผลงานวิชาการเป็นภาษาต่างประเทศ
สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ ในงานสัมมนาออนไลน์นี้ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากหัวข้อสัมมนา ดังนี้ - ข้อควรรู้สำหรับการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ - การทำความเข้าใจเรื่อง การตรวจสอบชื่อวารสารใน ฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เช่น SCOPUS index ผ่าน scopus.com รวมถึงรู้จัก SJR (Scimago journal and country rank) - การเตรียมผลงานวิชาการให้มีคุณภาพสำหรับตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ ทราบถึง ค่า Q ที่หมายถึงQuartile score ของวารสารในแต่ละสาขาวิชา (subject categories) ในระดับ Q1-Q4 - ทราบถึงเส้นทางการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ - ทราบถึง รูปแบบเนื้อหาแต่ละส่วนของการเตรียมเขียน manuscript ว่าควรประกอบด้วยส่วนใดบ้างที่สำคัญและการจัดรูปแบบที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับวารสารที่เลือกที่จะส่งไปนำเสนอ
คำสำคัญ : การคัดเลือกวารสารตีพิมพ์  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1524  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 14/8/2564 15:58:30  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 20:12:56
บทความวารสาร » การทำดรรชนีวารสาร ประเด็นเครื่องมือช่วยงานคือ ฐานข้อมูลหัวเรื่อง [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน 5of5 / 2564]
ที่มา (1) การทำดรรชนีบทความวารสารของห้องสมุด เดิมมีการกระจายงานให้บรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศในสายงานต่างๆ ร่วมกันดำเนินงาน แต่ปัจจุบันจัดแบ่งให้บรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศในสายงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ (หรืองานด้าน Cataloging) เท่านั้น ดังนั้นการนำเสนอรายละเอียดงานในกิจกรรม KM ของบุคลากรโดยรวมของห้องสมุดจึงอาจไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย ในที่นี้จึงจะนำเสนอเพียงบางประเด็นที่อาจช่วยเสริมความรู้และการนำไปประยุกต์ใช้คือ “ฐานข้อมูลหัวเรื่อง” (2) ประเด็นการนำเสนอในที่นี้ เฉพาะหัวข้อ “เครื่องช่วยงาน คือ ฐานข้อมูลหัวเรื่อง” ซึ่งบรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานวิเคราะห์รายการเอกสารสามารถทราบถึงเครื่องมือและเลือกใช้ได้ ส่วนบรรณารักษ์งานบริการอาจนำไปใช้ประโยชน์ในแง่การเลือกคำคำค้นหัวเรื่องเพื่อบริการผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่นำเสนอ (3) ฐานข้อมูลหัวเรื่องที่น่าสนใจมีดังนี้ (1) Red_demo on DOS (2) Red_demo on Winisis [ปัจจุบันทำงานบน Windows 2003 Server] (3) Thaiccweb ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (4) ฐานข้อมูลหัวเรื่องแบบศัพท์สัมพันธ์ในห้องสมุดบางแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อนึ่ง ในโอกาสนี้นำเสนอเพียงโปรแกรมหรือฐานข้อมูล ไม่ได้กล่าวถึงการจัดการด้านฮาร์ดแวร์ (เช่น การเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ HandyDrive ที่ใช้ boot OS) การเข้าถึง วิธีใช้งานเมนูต่างๆ เทคนิคการใช้งาน หลักการวิเคราะห์และกำหนดหัวเรื่อง ข้อดีข้อเสียของฐานข้อมูลหัวเรื่องแต่ละระบบ (4) ในการนี้นำเสนอเพียงแง่มุม “Know What” ว่ามีอะไรบ้าง นำเสนอด้วยรูปภาพและข้อมูลบอกเล่าโดยสังเขป ส่วนวิธีการใช้งาน “Know How” และการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของฐานข้อมูลแต่ละฐาน “Know Why” ไม่ได้นำเสนอ เนื่องจากข้อจำกัดของเวลา และกลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม KM ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหานี้ ผลลัพธ์ (5) ได้เสนอเนื้อหาโดยสังเขปแก่ผู้สนใจในกิจกรรม KM การเลือกใช้งานหรือไม่ อย่างไร ควรติดตามผลในโอกาสต่อไป อื่นๆ (6) อนึ่ง หากมีการนำเสนอแก่กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรง คือ บรรณารักษ์สายงานวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร ทั้งหน่วยงานเอง หรือต่างห้องสมุดต่างมหาวิทยาลัย ด้วยเนื้อหาที่ละเอียดและลึกซึ้งขึ้น อาจมีประโยชน์เพิ่มมากขึ้น -- หมายเหตุ ภาพประกอบจำนวนหนึ่ง
คำสำคัญ : งานเทคนิค (ห้องสมุด)  ฐานข้อมูล  บทความ  วารสาร  หัวเรื่อง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1783  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 14/7/2564 10:10:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 23:40:03
บทความวารสาร » KM การทำรายการดรรชนีบทความวารสาร
KM การทำรายการดรรชนีบทความวารสาร จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรม KM นี้ของบุคลากรในสายงาน พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด และได้นำเสนอ/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์การวิเคราะห์และทำรายการในฐานะบรรณารักษ์ชำนาญการ ก็ ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอความรู้ที่ตนเองพอจะมีบ้างไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กัน เช่น MARC tag ต่างๆ, หัวเรื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งจะบันทึกเป็นคู่มือการทำ รายการบทความวารสารไว้แล้ว ในบันทึกกิจกรรม KM บทความ (blog) ครั้งนี้ ผู้เขียนจะไม่นำเสนอ ถึง "รายละเอียดเนื้อหา" ที่ได้เรียนรู้กันไป แต่ในที่นี้จะบันทึกเกี่ยวกับ "ประเด็นแง่คิด" ที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม KM ซึ่งมีบางประเด็น ที่ผู้เขียนสนใจและมีมุมมองที่ต้องการแลกเปลี่ยนกับผู้อ่านดังต่อไปนี้ 1. การวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสารของห้องสมุดเท่าที่ผ่านๆ มา พบว่าบรรณารักษ์และผู้จัดทำ ให้ความสำคัญกับการทำรายการเชิงพรรณนา (descriptive catalog) เช่น MARC tag ต่างๆ มากกว่าการทำรายการ เชิงเนื้อหา (subject catalog) ที่เป็นการกำหนดหัวเรื่อง อันเป็นเครื่องมือ ช่วยการค้นคว้าของผู้ใช้ที่ต้องการค้นหาเรื่องเกี่ยวกับ (know about) เนื้อเรื่อง (subject/content) โดยขณะนั้นผู้ใช้ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการค้นหาอยู่ ซึ่งการค้นหาลักษณะ subject search นี้เป็นลักษณะการใช้สำคัญของการศึกษาเรียนรู้ 2. บรรณารักษ์และบุคลากรไม่เข้าใจและตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูลที่กรอก หรือบันทึก ข้อมูลดรรชนีในระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ ข้อมูลการสืบค้นของผู้สืบค้น ข้อมูล การประมวลผลของโปรแกรมระบบงานห้องสมุด ทำให้การบันทึกข้อมูลบางอย่าง ว่า ควรบันทึกหรือไม่ บันทึกในรูปแบบ/แบบแผน (pattern) การพิมพ์เช่นไร บันทึกในเขต ข้อมูล (tag) ใด บันทึกในรูปแบบคำที่ใช้ทั่วไปหรือรหัสพิเศษ บันทึกในรูปแบบมาตรฐาน ใด (เช่น มาตรฐานหัวเรื่อง) บันทึกแล้วระบบจะประมวลผลอย่างไร บันทึกไว้แล้วจะ สามารถค้นคืนได้เช่นไร ฯลฯ ต่างๆ เหล่านี้ทำให้การกำหนดแนวปฏิบัติงานบางอย่าง มีภาระในการทำงานโดยไม่จำเป็นหรือไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร เช่น เดิมมีการกำหนด ให้ลงข้อมูล tag 8 บางตำแหน่ง, tag 5xx, tag 041, tag 245 บางลักษณะ, tag 653 เป็นต้น ขณะเดียวกันก็อาจไม่ได้บันทึกข้อมูลที่ควรเน้นเพื่อการสืบค้น เช่น ข้อมูล tag 246, tag 6xx 3. มุมมองของบรรณารักษ์และผู้ทำการวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสาร มี ลักษณะแบบ ถูก/ผิด ต้องทำ/ไม่ต้องทำ แบบA/ไม่ใช่แบบA ใช้วิธีการAเท่านั้น/ไม่ใช้วิธีการB หรือวิธีอื่น ฯลฯ ในลักษณะว่ามีเพียง 2 อย่างให้เลือก หรือ ขาว/ดำ พวกเรา/ไม่ใช่ พวกเรา มิตร/ศัตรู อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จึงขาดความยืดหยุ่นในการพิจารณาปัญหา มักนำ มาซึ่งข้อถกเถียงที่ไม่เปิดกว้างเพียงพอ ขาดการนำเสนอแนวทางต่างๆ ที่หลากหลายได้ รวมทั้งขาดการพูดคุยถึงการพัฒนาใหม่ๆ เช่น full-text ของบทความดิจิทัล การ Link เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลอื่น การร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำรายการระหว่างห้องสมุด 4. แนวทางปฏิบัติงาน ด้านบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน มีการมอบหมายให้บุคลากรต่างๆ ช่วย การปฏิบัติ โดยไม่ได้พิจารณาหรือให้ความสำคัญกับประเด็นพื้นฐานบางอย่าง เช่น คุณสมบัติ ของผู้ปฏิบัติงาน การพัฒนา/ฝึกอบรม/สอนงานแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และ การตรวจสอบประเมินผลงานที่เป็นระบบ ทั่วถึง และสม่ำเสมอ 5. การวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสาร ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางสารสนเทศ ศาสตร์ เช่น MARC tag ต่างๆ และดรรชนีหัวเรื่อง มีรายละเอียดที่ควรศึกษาเรียนรู้มาก ซึ่งกิจกรรม KM ไม่ควรจัดทำเพียงครั้งคราวเพื่อรายงานผลสถิติว่าจัดแล้วเท่านั้น แต่ควร มีการวางนโยบายและจัดกิจกรรมศึกษาเรียนรู้ในหัวข้อ (outline) ต่างๆ อย่างครอบคลุม ละเอียด มีการวางแผนการสอน/การเรียนรู้ การสร้างและเก็บสะสมสื่อการเรียนรู้ โดยอาจใช้ ตัวอย่างผลงานที่เป็นปัญหาหรือข้อถกเถียงมาเป็นสื่อเรียนรู้ด้วย สรุป แนวคิดนอกเหนือจากห้องประชุมครั้งนี้ถือเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจระหว่างกัน ซึ่งอาจเกิดกิจกรรม KM ต่อๆ ไปที่จะช่วย นำความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคลต่างๆ ออกมาเผยแพร่ต่อไปในอนาคต. ---end
คำสำคัญ : MARC format  การบริหารองค์ความรู้  การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร  ดรรชนี  บทความวารสาร  รูปแบบการลงรายการแบบมาร์ค  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2100  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/4/2563 15:51:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 10:10:13
คู่มือ » ทะเบียนวารสารในโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST
คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง ทะเบียนวารสารในโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานด้านการลงทะเบียนวารสาร (Serial Control Module) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมกระบวนปฏิบัติงานด้ารนทะเบียนวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST เป็นคู่มือในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด และนักศึกษาฝึกงานมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่มาฝึกงานที่สำนักหอสมุด เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านวารสารแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านวารสารห้องสมุดอื่น ๆ การลงทะเบียนวารสารซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนและกระบวนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวารสารแต่ละรายชื่อและรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น รายชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ ของวารสารที่มีให้บริการ และในส่วนของบุคลากรสำนักหอสมุดที่ปฏิบัติงานด้านวารสารจะต้องคำนึงถึงของทะเบียนวารสารซึ่งจะประกอบด้วยโปรแกรมหลายโปรแกรมในระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ต้องมีการ บูรณาการในการทำงาน โปรแกรมวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง โปรแกรมงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ โปรแกรมการจัดซื้อ โปรแกรมการสืบค้นสารสนเทศ การสร้างระเบียนบรรณานุกรมวารสาร การสร้างข้อมูลฉบับของวารสาร ข้อมูลสำนักพิมพ์ การสร้างข้อมูลการคาดการณ์การได้รับวารสาร การลงทะเบียนวารสาร การทวงวารสาร และประกอบด้วยเทคนิคต่าง ๆ ในการดำเนินงานด้านวารสารเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นวารสารที่มีให้บริการได้สมบูรณ์แบบมากที่สุด
คำสำคัญ : ทะเบียนวารสาร โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2413  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 13/9/2562 14:00:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 23:30:08
คู่มือ » การสร้างข้อมูลผู้ขายหรือข้อมูลสำนักพิมพ์และการสร้างรายการบรรณานุกรมทะเบียนวารสาร
วารสารจัดเป็นทรัพยากรสารนิเทศที่มีความสำคัญและความจำเป็นสำหรับผู้ใช้บริการอย่างมาก วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูล ให้ความรู้ทางวิชาการที่หลากหลาย มีความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งประกอบด้วยงานเขียนและงานวิจัยของนักวิชาการ นักวิจัย ประเภทต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คำนึงถึงความสำคัญและความจำเป็นของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทนี้ จึงได้มีการจัดซื้อจัดหาวารสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและสนับสนุนงานวิจัย จากเหตุผลดังกล่าว ผู้เขียน จึงเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานการการจัดการข้อมูลผู้ขายหรือข้อมูลสำนักพิมพ์และการสร้างรายการบรรณานุกรมทะเบียนวารสารของโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Alist เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของบุคลากรให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และจะส่งผลต่อผู้ใช้บริการให้เกิดความสะดวกสบายในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศมากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ : การสร้างข้อมูลผู้ขาย  ทะเบียนวารสาร  วารสาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2590  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 6/9/2561 9:07:32  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 23:19:45
คู่มือ » การสร้างข้อมูลผู้ขายหรือข้อมูลสำนักพิมพ์และการสร้างรายการบรรณานุกรมทะเบียนวารสาร
วารสารจัดเป็นทรัพยากรสารนิเทศที่มีความสำคัญและความจำเป็นสำหรับผู้ใช้บริการอย่างมาก วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูล ให้ความรู้ทางวิชาการที่หลากหลาย มีความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งประกอบด้วยงานเขียนและงานวิจัยของนักวิชาการ นักวิจัย ประเภทต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คำนึงถึงความสำคัญและความจำเป็นของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทนี้ จึงได้มีการจัดซื้อจัดหาวารสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและสนับสนุนงานวิจัย จากเหตุผลดังกล่าว ผู้เขียน จึงเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานการการจัดการข้อมูลผู้ขายหรือข้อมูลสำนักพิมพ์และการสร้างรายการบรรณานุกรมทะเบียนวารสารของโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Alist เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของบุคลากรให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และจะส่งผลต่อผู้ใช้บริการให้เกิดความสะดวกสบายในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศมากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ : การสร้างข้อมูลผู้ขาย  ทะเบียนวารสาร  วารสาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2590  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 6/9/2561 9:07:32  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 23:19:45
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ » กลยุทธการเลือกวารสารนานาชาติเพื่อการตีพิมพ์
การตีพิมพ์บทความวิชาการเป็นงานที่ต้องใช้ความสามารถในหลายๆ ด้าน ซึ่งหนึ่งในปัจจัยเพื่อให้การตีพิมพ์สำเร็จ คือ การเลือกวารสารที่จะส่งบทความให้เหมาะสมกับผลงานวิจัยของแต่ละบุคคล โดยมีแนวทางดังที่เสนอในบทความ
คำสำคัญ : การประเมินคุณภาพ  วารสารวิชาการ  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4256  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน แสงทอง พงษ์เจริญกิต  วันที่เขียน 26/8/2557 14:49:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 11:52:02
วารสารวิชาการ » แนะนำเว็บไซต์การสืบค้นข้อมูลวารสารวิชาการ “Google scholar”
ในการค้นหางานเขียนทางวิชาการ เพื่อใช้ประกอบการเขียนผลงานทางวิชาการในการเลื่อนระดับขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น เราสามารถค้นหาข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อาทิเช่น Microsoft Academic Search , Web of Science หรือทางเว็บไซต์ Thai Journals Online ซึ่งเว็บไซต์ดังกล่าวจะมีข้อมูลเกี่ยวกับบทความทางวิชาการที่เราต้องการ
คำสำคัญ : การสืบค้นข้อมูลวารสารวิชาการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 40135  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สมชาย อารยพิทยา  วันที่เขียน 26/7/2556 11:52:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:06:32