การเขียนและนำเสนอผลงานวิชาการเป็นภาษาต่างประเทศ
วันที่เขียน 14/8/2564 15:58:30     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 9:06:39
เปิดอ่าน: 1426 ครั้ง

สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ ในงานสัมมนาออนไลน์นี้ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากหัวข้อสัมมนา ดังนี้ - ข้อควรรู้สำหรับการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ - การทำความเข้าใจเรื่อง การตรวจสอบชื่อวารสารใน ฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เช่น SCOPUS index ผ่าน scopus.com รวมถึงรู้จัก SJR (Scimago journal and country rank) - การเตรียมผลงานวิชาการให้มีคุณภาพสำหรับตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ ทราบถึง ค่า Q ที่หมายถึงQuartile score ของวารสารในแต่ละสาขาวิชา (subject categories) ในระดับ Q1-Q4 - ทราบถึงเส้นทางการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ - ทราบถึง รูปแบบเนื้อหาแต่ละส่วนของการเตรียมเขียน manuscript ว่าควรประกอบด้วยส่วนใดบ้างที่สำคัญและการจัดรูปแบบที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับวารสารที่เลือกที่จะส่งไปนำเสนอ

1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ

                      ในงานสัมมนาออนไลน์นี้ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากหัวข้อสัมมนา ดังนี้

  • ข้อควรรู้สำหรับการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ
  • การทำความเข้าใจเรื่อง การตรวจสอบชื่อวารสารใน ฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เช่น SCOPUS index ผ่าน com รวมถึงรู้จัก SJR (Scimago journal and country rank)
  • การเตรียมผลงานวิชาการให้มีคุณภาพสำหรับตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ ทราบถึง ค่า Q ที่หมายถึงQuartile score ของวารสารในแต่ละสาขาวิชา (subject categories) ในระดับ Q1-Q4
  • ทราบถึงเส้นทางการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ
  • ทราบถึง รูปแบบเนื้อหาแต่ละส่วนของการเตรียมเขียน manuscript ว่าควรประกอบด้วยส่วนใดบ้างที่สำคัญและการจัดรูปแบบที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับวารสารที่เลือกที่จะส่งไปนำเสนอ
    1. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่

    งานสัมมนาออนไลน์นี้ข้าพเจ้าได้ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่งานด้านการวิจัยรวมถึงการบริการวิชาการ โดยได้รับความรู้จากการฟังบรรยาย การถ่ายทอดประสบการณ์การเลือกวารสารระดับชาติ และนานาชาติ ในฐานข้อมูลหลักคือ scopus รวมถึงการตรวจสอบข้อมูลวารสารให้เป็นปัจจุบัน และการแบ่งระดับผลงานวิจัยวารสารใน Q1-Q4 รวมถึงการแนะนำรูปแบบการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่สามารถส่ง full paper เพื่อเข้ารับการพิจารณาได้ เหล่านี้ สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการพัฒนาการวิจัย ให้สามารถสร้างผลงานวิจัยและเลือกวารสารระดับชาติหรือนานาชาติเพื่อส่งผลงานวิจัยไปยังวารสารที่คัดเลือกได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพดีขึ้น

     

    1. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)

    สำหรับประโยชน์ต่อหน่วยงาน ความรู้ที่ได้สามารถนำมาใช้ในการสร้างและผลิตผลงานวิจัยในฐานข้อมูล scopus และตรวจสอบแหล่งตีพิมพ์ผลงานวิจัย รวมถึงระดับผลงานวิจัยใน Q1-Q4 เพื่อเป็นแนวทางการพิจารณาการนำส่ง manuscript ให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น นอกจากนี้รูปแบบกิจกรรมที่ใช้ได้ผลสามารถแนะนำและถ่ายทอดให้กับเพื่อนร่วมงานเพื่อนำไปใช้ในการวิจัยได้ต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานโดยรวม

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1195
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy”
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้า นางอัจฉรา แกล้วกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อัจฉรา แกล้วกล้า  วันที่เขียน 31/3/2567 11:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 10:44:10   เปิดอ่าน 35  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง