บทความนี้เป็นการสรุปความรู้ที่ได้จาการเข้าร่วมอบรม เรื่อง การตีพิมพ์บทความทางวิชาการในวารสารระดับนานาชาติ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ห้องช้างนาง สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการเลือกวารสารที่เหมาะสมกับงานวิจัยของตนเอง
กลยุทธการเลือกวารสารนานาชาติเพื่อการตีพิมพ์ มีแนวทางในการเลือก จำนวน 12 ข้อ ได้แก่
-
วารสารที่นักวิจัยติดตามความก้าวหน้าของสาขา หรือผู้มีชื่อเสียงในสาขาใช้
-
ขอบเขตเนื้อหาของวารสารต่อวามสนใจของผู้อ่าน วารสารแต่ละฉบับจะมีการกำหนดกลุ่มผู้อ่านไว้ สามารถศึกษาได้จาก Aim and Scope ของวารสาร
-
คุณภาพของวารสารที่ประเมินจากค่า Impact factor และ Ranking
-
สถานะภาพการมีอยู่ของวารสาร (Index) ในฐานข้อมูลวารสารอ้างอิงที่สำคัญ (Citation Databases)
-
ข้อมูลเบื้องต้นของวารสาร เช่น จำนวนปีที่พิมพ์ ภาษาที่ใช้ ความถี่ของการตีพิมพ์ รูปแบบของการตีพิมพ์ (Electronic/Print)
-
อัตราการตอบรับหรือปฏิเสธ แสดงถึงโอกาสในการตีพิมพ์ในวารสาร
-
สถานะวารสารประเภท Peer Review วารสารประเภทนี้จะมีคณะกรรมการกลั่นกรอง แสดถึงคุณภาพของบทความ
-
ระยะเวลาของขั้นตอนการกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review process) เพือประเมินเวลาที่จะใช้ในการตีพิมพ์
-
ชื่อเสียงของสำนักพิมพ์ วารสาร บรรณาธิการ
-
ประเภทของต้นฉบับ (Manuscript) บางวารสารรับเฉพาะบางประเภท เช่น Review article หรือ Research article เท่านั้น
-
ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เช่น ค่า review ค่ารูปสี หรือค่าตีพิมพ์แบบเข้าถึงอ่านได้ฟรี (Open access)
-
สิทธิ์ในบทความ บางวารสารให้สิทธิ์ผู้เขียนบทความ ในการเผยแพร่ หรือนำไปใช้ใหม่
โดยจากการประเมินคุณภาพของวารสารจากค่า Impact factor หรือ ranking นั้น ยังมีค่าอื่นๆ ที่สามารถประเมินคุณภาพของวารสารหรือบทความได้ ซึ่งแต่ค่าจะได้มาจากการรายงานจากฐานข้อมูลหรือโปรแกรมค้นหา เช่น
กลุ่มที่ 1 การประเมินด้วยค่า Impact factor หรือค่าอื่นๆ
- Journal Citation Report (JCR) ที่รายงานค่า
Impact factor เป็นค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งที่ได้รับการอ้างอิงต่อบทความของวารสารในช่วง 2 ปีล่าสุด
Immediacy Index เป็นค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งที่ได้รับการอ้างอิงต่อบทความจากวารสารที่พิมพ์ในปัจจุบันหรือปีของ JCR เฉพาะปี 2010
Cited haft life ค่าช่วงอายุเฉลี่ยของการอ้างอิงของบทความของวารสาร
นอกจากนี้ ยังมีการรายงานการอ้างอิงบทความ (citation) ที่เป็นส่วนหนึ่งของฐานข้อมูล ที่ ISI Web of Knowledge (http://apps.webofknowledge.com/UA_GeneralSearch_input.do?product=UA&search_mode=GeneralSearch&SID=W2X6uNqn4OqZeLxShy1&preferencesSaved=)
- Eigen factor (http://www.eigenfactor.org/)
โดยที่ ค่า EF เป็นค่า จำนวนการอ้างอิงที่ได้จากบทความทั้งหมดของวารสาร ซึ่งที่ฐานข้อมูลนี้ยังมีการรายงานค่า Article influence (AI) ที่เป็นค่าเหมือนกับ Impact factor
- CWTE journal indicators (http://www.journalindicators.com/)
โดยจะรายงานค่า Raw impact per publication (RIP) ที่จะใช้ข้อมูลการอ้างอิง 3 ปี จากฐานข้อมูล Scopus มีค่าใกล้เคียงกับ Impact factor
ค่า SNIP เป็นค่าเฉลี่ยค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งการอ้างอิง/บทความ เป็นค่าที่สามารถเปรียบเทียบข้ามวารสารหรือสาขาได้
และยังรายงานค่า % self cite ที่เป็นการอ้างอิงตัวเอง
- Scimago Journal & Country Rank (http://www.scimagojr.com/)
รายงานค่า SJR indicators เป็นจำนวนครั้งอ้างอิงเฉลี่ย/บทความ เป็นค่าเหมือน Impact factor
ค่า Cites per Doc เป็นค่าจำนวนการอ้างอิง/บทความ ในรอบ 2 ปี
ค่า H index เช่น H index เท่ากับ 10 หมายถึงจำนวนบทความวิจัย 10 บทความของวารสารที่ได้รับการอ้างอิงมากกว่า 10 ครั้ง
กลุ่มที่ 2 กลุ่มประเมินจากค่า H index
- Google Scholar (http://scholar.google.co.th/)
เลือกจากเมนู Metrics จะรายงานค่า h5 เป็นค่า h index จากข้อมูล 5 ปี
- Microsoft academic search (http://academic.research.microsoft.com/)
เลือกจากเมนูกลุ่มสาขา หรือ Keyword รายงานค่า citation count และค่า Self citation ซึ่งในโปรแกรมค้นหานี้ จะแสดง Keyword ที่นิยมค้นหา ทำให้ทราบว่าควรจะใช้ keyword ใดในการค้นหาบทความ
โดยเนื้อหา ในเรื่องดังกล่าวนี้ ได้จากการเข้าฟังการบรรยาย และได้นำไปใช้ประโยชน์ ในการค้นหาข้อมูลของ Thai Journal Citation Index Centre (TCI) (http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/index.html) โดยที่สนใจวารสาร Thai Journal of Genetics
ชื่อวารสาร
|
Journal Title
|
ISSN
|
2555 Articles
|
2555 Total Cites
|
2555 Cross Cites
|
Thai-Journal Impact Factors
|
Thai-Journal Immediacy Index
|
Thai-Journal Cited Half-life
|
Thai Journal of Genetics
|
Thai Journal of Genetics
|
0857-8664
|
16
|
5
|
1
|
0.167
|
0
|
2.4
|
เป็นวารสารของสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย มีค่า Impact factor เป็น 0.167 และค่า cited half –life เป็น 2.4 ค่าแสดงช่วงอายุเฉลี่ยของการอ้างอิงบทความในวารสาร เป็น 2.4
ดังนั้นหากผู้อ่านสนใจในวารสารอื่นๆ ใน TCI ก็น่าจะใช้แนวทางของบทความนี้ในการเลือกวารสารที่ต้องการ