แนะนำเว็บไซต์การสืบค้นข้อมูลวารสารวิชาการ “Google scholar”
วันที่เขียน 26/7/2556 11:52:27     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 16:43:25
เปิดอ่าน: 40185 ครั้ง

ในการค้นหางานเขียนทางวิชาการ เพื่อใช้ประกอบการเขียนผลงานทางวิชาการในการเลื่อนระดับขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น เราสามารถค้นหาข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อาทิเช่น Microsoft Academic Search , Web of Science หรือทางเว็บไซต์ Thai Journals Online ซึ่งเว็บไซต์ดังกล่าวจะมีข้อมูลเกี่ยวกับบทความทางวิชาการที่เราต้องการ

แนะนำเว็บไซต์การสืบค้นข้อมูลวารสารวิชาการ  “Google scholar”

          ในการค้นหางานเขียนทางวิชาการเพื่อใช้ประกอบการเขียนผลงานทางวิชาการในการเลื่อนระดับขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น   เราสามารถค้นหาข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ   อาทิเช่น Microsoft Academic Search , Web of Science หรือทางเว็บไซต์ Thai Journals Online  ซึ่งเว็บไซต์ดังกล่าวจะมีข้อมูลเกี่ยวกับบทความทางวิชาการที่เราต้องการ    ในที่นี้ผู้เขียนจะขอแนะนำเว็บไซต์ในการค้นหาบทความทางวิชาการที่มีประสิทธิภาพอีกช่องทางหนึ่ง
นั่นคือ  Google scholar http://scholar.google.co.th/

 

          Google Scholar  เป็นวิธีที่ง่ายๆ    ในการค้นหางานเขียนทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง คุณสามารถค้นหาในสาขาวิชาและแหล่งข้อมูลต่างๆ มากมายได้จากจุดเดียว  : บทความ peer-reviewed วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทคัดย่อ และบทความจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการแวดวงวิชาชีพ ที่เก็บร่างบทความ มหาวิทยาลัย และองค์กรด้านการศึกษาอื่นๆ      Google Scholar ช่วยให้คุณสามารถระบุการค้นคว้าที่เกี่ยวข้องมากที่สุดในโลกแห่งการค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ
(ที่มา : http://www.google.co.th/intl/th/scholar/about.html , online 25 ก.ค. 2556)

 

 วิธีการเข้าถึงเว็บไซต์ Google Scholar

       ให้เราพิมพ์ ชื่อเว็บไชต์ “http://scholar.google.co.th/”   ที่ช่อง address bar ของโปรแกรมในการท่อง Internet ต่าง ๆ เช่น Internet Explorer , Google Chrome , Safari เป็นต้น ซึ่งจะแสดงเว็บไซต์ดังกล่าวตามรูปที่ 1

รูปที่ 1 แสดงการเข้าถึงเว็บฯ ด้วย โปรแกรม Internet Explorer

 

  การใช้งานเว็บไซต์ Google Scholar

           เมื่อเราเข้าเว็บไชต์ Google Scholar มาได้แล้ว จะมีช่องทางในการค้นหาได้หลายรูปแบบดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 แสดงช่องในการค้นหาบทความทางวิชาการ

          เช่น เราต้องการค้นหาบทความที่เกี่ยวกับ “การเขียนโปรแกรม” ในช่วงเวลา ระหว่างปี คศ. 2000 ถึง คศ. 2013  เราสามารถค้นหาข้อมูลดังกล่าวได้ ตามรูปที่ 3

รูปที่ 3 แสดงการค้นหาบทความเกี่ยวกับ การเขียนโปรแกรมระหว่างปี คศ.2000 – คศ.2013

รูปที่ 4 ผลลัพธ์ของการค้นหาบทความ (เมื่อเลือกการแสดงในหน้าที่ 3)

         และถ้าเราสนใจบทความที่เกี่ยวข้อง   เราก็คลิ๊กไปที่ชื่อบทความนั้น ๆ ก็จะเข้าไป link เว็บไซต์ของบทความนั้น ๆ  ซึ่งในกรณีที่เจ้าของบทความได้อนุญาตให้เปิดเผยบทความนั้น ๆ ผ่านทางสาธารณะ  เราก็สามารถที่จะดูบทความนั้น ๆ ได้  ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเราสนใจบทความที่ชื่อเรื่อง “โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องระบบอวัยวะภายในของกบ” ก็จะเข้าไปสู่เว็บไซต์หน่วยงานเจ้าของบทความนั้นๆ ที่ทำการเผยแพร่ตามรูปที่ 5    และเมื่อคลิ๊กเลือกดูก็จะได้รับบทความดังกล่าวเพื่อนำมาใช้เป็นกรณีศึกษาประกอบในการเขียนผลงานทางวิชาการต่อไป ตามรูปที่ 6

รูปที่ 5 แสดงเว็บไซต์ของหน่วยงานที่ทำการเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ

รูปที่ 6 แสดงรายละเอียดของบทความทางวิชาการ

 

แหล่งอ้างอิง

1.Google scholar   สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2556, จาก http://scholar.google.co.th/
2.คลังความรู้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2556, จาก
   http://www.anchan.lib.ku.ac.th/kukr/handle/003/18642
3.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบอวัยวะภายในของกบ สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2556, จาก
http://www.anchan.lib.ku.ac.th/kukr/bitstream/003/18642/1/KC4405024.pdf


   
    
   
  

    

    

 


    


   
 
  
  
 
  
 
 
 
  
  
  
  
  
  
  
 
 
 
  
 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=249
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ » UX/UI Design ต่างกันอย่างไร
การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล มีความสำคัญมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Design: UX Design) และการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (...
UI Design  UX Design  UX UI  UX/UI  การออกแบบเว็บ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ช่อทิพย์ สิทธิ  วันที่เขียน 6/9/2567 14:14:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 8:40:34   เปิดอ่าน 102  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาโปรแกรม » การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร
การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยการนำระบบจัดเก็บและทำลายเอกสารมาช่วยปรับปรุงประสิทธิผล ในกระบวนการทำ...
Re-Design Process?  ระบบจัดเก็บและทำลายเอกสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 5/9/2567 11:45:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 13:52:26   เปิดอ่าน 257  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » ข้อมูลเปิด (Open Data) เบื้องต้น
ข้อมูลเปิด (Open Data) คือ ข้อมูลที่สามารถเข้าถึง ใช้งาน แก้ไข และแบ่งปันได้โดยไม่จำกัดข้อกำหนดหรือค่าใช้จ่าย ข้อมูลเปิดมักถูกเผยแพร่ในรูปแบบที่สามารถอ่านและวิเคราะห์ได้ง่าย เช่น ไฟล์ CSV, JSON, หร...
การเข้าถึง  การใช้งาน  การแบ่งปัน  การเปิดเผย  ข้อมูลเปิด     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 2/9/2567 9:45:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 14:42:02   เปิดอ่าน 101  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง