|
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา
»
เทคนิคการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
|
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ การผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีเป้าประสงค์ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตให้ มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์ ผ่านกลยุทธ์การพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรให้มี
เข้มแข็งและมีความทันสมัยเปลี่ยนแปลงของโลก เข้าใจในบริบทของสังคมและความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอน ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่
ในระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาได้กำหนดให้หลักสูตรเน้นการพัฒนานักศึกษา
ให้เป็นผู้ที่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่
(1) กลุ่มวิชาหลัก (core subjects)
(2) กลุ่มทักษะชีวิตและอาชีพ (life and career skills) ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวและยืดหยุ่น
ความคิดริเริ่มและการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและข้ามวัฒนธรรม ความรับผิดชอบและความ
สามารถผลิตผลงาน ความเป็นผู้นำและรับผิดชอบต่อสังคม
(3) กลุ่มทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills) ได้แก่ การคิดเชิงวิพากษ์และ
การแก้ปัญหา นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ การสื่อสารและความร่วมมือกัน และ
(4) กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (information, media and technology skills
ดังนั้นเพื่อให้นักศึกษาของแต่ละหลักสูตรในคณะวิทยาศาสตร์เป็นผู้ที่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะที่ (4) กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (information, media and technology skills
คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้จัดทำ “โครงการอบรมเทคนิคการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ”
เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ ความรู้ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 - 4 ได้ฝึกการนำเสนอผลงานทางวิชาการ
มีความกระตือรือร้นและแสดงออก และเพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจในการนำเทคนิคการสอนไปใช้ในสถานณ์การต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
เพื่อสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
คำสำคัญ :
เทคนิคการนำเสนอผลงานวิชาการ ระดับชาติ ระดับนานาชาติ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
359
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์
วันที่เขียน
24/5/2566 11:00:49
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
3/4/2568 7:09:50
|
|
|
|
|
|
แนวทางการเขียนคู่มือ เอกสาร ตำราทางวิชาการ
»
หนังสือกับตำรา : ความเหมือนและความต่าง
|
ตำรา นิยามไว้ว่า
ผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชา หรือเป็นส่วนหนึ่งของวิชา หรือของหลักสูตรก็ได้ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษาในการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
หนังสือ นิยามไว้ว่า
ผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีรากฐานทางวิชาการที่มั่นคง และให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิดและสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้น ๆ และ/หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงในเชิงเนื้อหาและครอบคลุมโดยไม่จำเป็นต้องสอดคล้องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตรหรือของวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร และไม่จำเป็นต้องนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ทั้งนี้เนื้อหาสาระของหนังสือต้องมีความทันสมัย เมื่อพิจารณาถึงวันที่จัดพิมพ์
ความแตกต่างของตำราและหนังสือ คือ ตำราต้องครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชาหรือหลักสูตร มีบทและสารบัญเนื้อหาที่ชัดเจนสอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา แต่หนังสือไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับวิชาหรือหลักสูตร แต่หนังสือถูกกลั่นกรองมาจากความสนใจ เชี่ยวชาญของผู้เขียน
|
คำสำคัญ :
คู่มือ ตำรา ตำแหน่งวิชาการ ผลงานวิชาการ หนังสือ
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
การศึกษา การเรียนการสอน
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
31692
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ก่องกาญจน์ ดุลยไชย
วันที่เขียน
2/9/2562 13:12:16
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
3/4/2568 9:05:48
|
|
|
|
|
|
|