ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมฝึกอบรม หลักสูตรการเขียนผลงานวิชาการสำหรับคณาจารย์ ครั้งที่ 4
วันที่เขียน 21/8/2561 21:15:46     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 12:27:12
เปิดอ่าน: 3659 ครั้ง

คณาจารย์จะต้องมีการจัดทำผลงานวิชาการ ทั้งบทความวิชาการ บทความวิจัย หนังสือ หรือตำรา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาถึงขั้นตอนในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ซึ่งในการฝึกอบรมวิทยากรได้แนะนำว่าจะต้องมีการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมการ ขั้นตัดสินใจ ขั้นดำเนินการจัดทำผลงาน และ ขั้นตรวจสอบประเมินและปรับปรุง

จากการเข้าร่วมฝึกอบรม หลักสูตรการเขียนผลงานวิชาการสำหรับคณาจารย์ ครั้งที่ 4 ในวันที่ 3 – 5 สิงหาคม2561 ณ โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ 2000 จังหวัดเชียงใหม่ นั้นข้าพเจ้าได้รับฟังการบรรยายและได้ลงมือปฏิบัติ ในหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่หัวข้อ การเขียนบทความวิชาการ  บทความวิจัย  การเขียนหนังสือ และการเขียนตำรา โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี สังข์ศรี อาจารย์ประจำสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช ทำให้มีความเข้าใจในวิธีการเขียนผลงานทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น และทราบหลักและวิธีการที่วิทยากรใช้ในการเขียนผลงานวิชาการ ซึ่งวิทยากรได้แนะนำว่าจะต้องมีการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมการ ขั้นตัดสินใจ  ขั้นดำเนินการจัดทำผลงาน และ ขั้นตรวจสอบประเมิน และปรับปรุง

  1. ขั้นเตรียมการ โดยในขั้นตอนนี้จะต้องศึกษา และทำความเข้าใจกับงานวิชาการประเภทต่าง ๆ ได้แก่ บทความวิชาการ  บทความวิจัย  หนังสือ (เป็นเรื่องที่ผู้เขียนสนใจ ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามคำอธิบายรายวิชา) หรือตำรา (ต้องมีเนื้อหาเป็นไปตามคำอธิบายรายวิชา) และหากจะนำผลงานเหล่านี้ไปใช้ในการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ จะต้องมีการศึกษาทำความเข้าใจหลักเกณฑ์การขอในตำแหน่งนั้น ๆ ด้วย 
  2. ขั้นตัดสินใจ ขั้นตอนนี้จะต้องตัดสินใจว่าจะเขียนผลงานอะไร โดยเริ่มต้นที่กำหนดชื่อเรื่อง และพิจารณาว่าพื้นฐานความรู้ของเราเป็นอย่างไร มีความถนัดมากน้อยเพียงใด และมีข้อมูลอะไรอยู่แล้วบ้าง
  3. ขั้นดำเนินการจัดทำผลงาน ขั้นตอนนี้จะต้องศึกษาหลักการในการจัดทำผลงานแต่ละประเภท รวมถึงเกณฑ์ระดับคุณภาพด้วย โดยจะต้องมีการเขียนโครงร่างก่อนที่จะลงมือเขียนผลงานในแต่ละเรื่องด้วย (คล้าย ๆ เป็นสารบัญของหนังสือ /ตำรา)
  4. ขั้นตรวจสอบประเมิน และปรับปรุง ขั้นตอนนี้ประกอบด้วยการตรวจสอบ/ประเมิน ด้วยตนเอง โดยเพื่อนในวงวิชาการ/วิชาชีพ ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และดำเนินการปรับปรุงตามข้อแนะนำ

จากการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ทำให้ได้รับความรู้ และมีความเข้าใจในเรื่องการเขียนผลงานทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น  และคาดว่าจะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการพัฒนาการเขียนผลงานทางวิชาการในการจัดการเรียนการสอน และการทำงานวิจัยต่อไป

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=827
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง