การอบรมเรื่อง “การเขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดผู้อื่น”
โดย รองศาสตราจารย์มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดย ผศ. ลลิดา ภู่ทอง
เทคนิคการเขียนตำราแบบไล่ระนาด
- เลือกตำราที่อยากเขียนมา 5- 10 เล่ม
- เขียนเค้าโครงสารบัญ อาจเป็น 16 บทต่อ 16 สัปดาห์
- บทที่ 1 บทนำ ให้เอาไว้เขียนสุดท้าย หลังจากเขียนบทอื่นเสร็จแล้ว
- เขียนบทที่ 2 และบทอื่นๆ โดยอ่านหนังสือทั้ง 10 เล่มแล้วเขียนหรือพิมพ์ตามที่เราเข้าใจโดยใช้ภาษาของตัวเอง ไม่ควรลอกและห้ามดูหนังสือ
- เมื่อเขียนแต่ละบทจบแล้วอ่านทวนดู ถ้ามีย่อหน้าไหนเหมือนเล่มไหนให้เขียนอ้างอิงเล่มนั้น บางย่อหน้าอาจเหมือนหลายเล่มก็จะต้องอ้างอิงจากหลายเล่ม
- การเขียนนั้นไม่ควรเอาเนื้อหามาจากเล่มใดเล่มหนึ่งมากเกินไป ควรเอามาจากหลายๆเล่ม
ปัจจุบันมีโปรแกรม turn it in เพื่อใช้ตรวจดูว่าบทความนั้นลอกคนอื่นมาหรือไม่ และภาษาไทยมีโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ เป็นระบบตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การอ้างอิงข้อความที่นำเอาข้อความของคนอื่นมาใส่ในงานเขียนนั้น หากมีการอ้างอิงไว้เฉพาะในส่วนของบรรณานุกรมนั้นถือว่ายังไม่เพียงพอ ย่อหน้าใดก็ตามที่นำเอาข้อความของคนอื่นมาต้องอ้างอิงทุกย่อหน้า
การละเมิดลิขสิทธิ์ คือการทำซ้ำหรือดัดแปลงเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตการกระทำตามข้อ 1จะไม่มีความผิดถ้าเป็นไปตามข้อยกเว้นที่กฎหมายกำหนดเช่นวิจัยหรือศึกษางานนั้นเป็นต้น
การเขียนผลงานวิชาการที่จะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์รองศาสตราจารย์มานิตย์ จุมปา เสนอว่าควรพิจารณา ดังนี้
1. ต้องเป็นงานที่สร้างสรรค์ด้วยตนเอง ถ้านำเอางานของบุคคลอื่นมา ต้องมีการอ้างอิง และต้องไม่นำงานของบุคคลอื่นอันมีลิขสิทธิ์นั้นมามากจนเกินไป
2. หากเขียนผลงานทางวิชาการและเกิดความผิดพลาดไปละเมิดลิขสิทธิ์ และถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้เขียนผลงานทางวิชาการควรตรวจสอบว่าได้ละเมิดจริงหรือไม่ ถ้าจริงให้เปิดเจรจาประนีประนอมและยอมความ เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการสู้คดีในศาล
เตรียมความพร้อมคณาจารย์เพื่อก้าวสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
เรื่อง “การเตรียมต้นฉบับหนังสือ/ตำราวิชาการระดับอุดมศึกษาเพื่อส่งตีพิมพ์ในสำนักพิมพ์”
โดย ภูสิทธิ พลายชมพูบรรณาธิการ สนพ.โอเดียนสโตร์
10 วิธีเขียนหนังสือให้ประทับใจคนอ่าน
- ใช้ภาษาเรียบง่าย
- อย่าคิดว่าผู้อื่นรู้เรื่องเดิมแล้ว
- เขียนให้อ่านง่าย
- คิดก่อนเขียน
- เขียนให้ตรงประเด็น
- ใช้คำคุ้นเคย
- เขียนประโยคให้กระชับ
- เขียนหนังสือให้เว้นวรรค
- ปรับสำนวนก่อนเผยแพร่
- ตั้งย่อหน้าให้มีความหมาย
ผลงานทางวิชาการ มี 8 ประเภท
- เอกสารประกอบการสอน
- เอกสารคำสอน
- บทความทางวิชาการ
- ตำรา
- หนังสือ
- งานวิจัย
- ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น
- งานแปล
การจัดทำผลงานทางวิชาการควรพิจารณาประเด็นต่างๆ ดังนี้
- ขนาดของรูปเล่มควรเลือกขนาดให้เหมาะสม
- เนื้อกระดาษไม่ควรใช้กระดาษถนอมสายตา เพราะบางสีอาจทำให้ผู้อ่านอ่านได้ยาก
- การอ้างอิงในเนื้อหา ควรเขียนให้ถูกต้อง
- การเขียนเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม ควรเขียนให้ถูกต้องตามประเภท
- การเว้นวรรค ควรตรวจสอบให้ถูกต้อง
- ส่วนประกอบของการจัดทำหนังสือและตำราวิชาการ