ในการเข้าร่วมสัมมนาและนำเสนอผลงานวิชาการในรูปแบบบรรยายในงาน 2019 TASS 2nd International Conference on Social Science, Humanities, Management, Business & Economics ในระหว่างวันที่ 6-7 กันยายน 2562 ณ The Howard Plaza Hotel Taipei ประเทศไต้หวัน ได้นำเสนอผลงานในรูปแบบบรรยาย ในหัวข้อ “Comparison of the classification efficiencies of K-means and Hierarchical clustering methods for candlestick component length on the world gold price candlestick chart” ซึง่เป็นการวิจัยการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการแบ่งกลุ่มลักษณะความยาวแต่ละองค์ประกอบของกราฟแท่งเทียนของราคาทองคำในตลาดโลก โดยวิธีแบบ K-means และแบบ Hierarchical ทำการศึกษาเพื่อลดความคุลมเครือในการระบุขนาดของแท่งเทียน โดยทดลองกับข้อมูลราคาเปิด ราคาปิด สูงสุด ต่ำสุด ของราคาทองคำในตลาดโลกข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลราคารายวันของทองคำในตลาดโลกของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้ข้อมูลของราคา ณ วันที่2 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2562 จำนวน 2608 วัน 1 โดยแบ่งข้อมูลการศึกษษออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้ในการแบ่งกลุ่มข้อมูล (training)และกลุ่มที่ใช้ในการเปรียบเทียบ (testing) การทดลองประกอบด้วย การคำนวณหาความยาว การหาอัตราส่วน การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การปรับข้อมูลด้วยวิธี Standardization และทำการแบ่งกลุ่มข้อมูลด้วยวิธีแบบ K-means และแบบ Hierarchical จะพบว่า การแบ่งกลุ่มข้อมูลด้วยวิธีแบบ K-means สามารถแบ่งกลุ่มได้ทั้งหมด 5 กลุ่ม ส่วนวิธีแบบ Hierarchical สามารถแบ่งกลุ่มได้ทั้งหมด 3 กลุ่ม เมื่อทำการวัดประสิทธิภาพการจัดกลุ่มในแต่ละองค์แระกอบของกราฟแท่งเทียนด้วย CCI ทั้งในกลุ่ม training และ testing พบว่าค่าที่คำนวณได้ทั้งหมด 2 วิธี มีค่ามากกว่า 70 ซึ่งหมายความว่าการจัดกลุ่มมีประสิทธิภาพค่อนข้างมาก แต่การแบ่งกลุ่มแบบ K-means จะให้ประสิทธิภาพที่สูงกว่าแบบ Hierarchical สำหรับข้อมูลราคาทองคำในตลาดโลก
และได้เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานในหัวข้อต่าง ๆ เช่น
หัวข้อ A mixes Method Approach : The design and Development of BMT Digital Learning Resource for Basic Movement Therapy Course in Undergraduate physiotherapy Program โดย Zahidah Abd Kadir ได้นำเสนองานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน BMT Digital Learning สำหรับนักศึกษากายภาพบำบัดระดับปริญญาตรีในรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน ซึ่งแบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาก่อนและหลังการเรียนรู้มีคะแนนที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลที่ได้สามารถสรุปได้ว่าการใช้ BMT Digitalแอปพลิเคชั่นการเรียนรู้ทรัพยากรเหมาะสำหรับการใช้งานจริง
หัวข้อ Virtual Credit Card Adoption in Indonesia โดย Feby Iswandi ได้นำเสนอการ ใช้บัตรเครดิตในอินโดนีเซีย มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนการนำบัตรเครดิตเสมือนจริงมาใช้อินโดนีเซีย และเพื่อตรวจสอบผลของการรับรู้ความต้องการ ความปลอดภัย การรับรู้ประโยชน์ในรูปแบบเทคโนโลยี (TAM) เกี่ยวกับความสนใจในการใช้บัตรเครดิตเสมือนจริง ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าอิทธิพลของการรับรู้ ประโยชน์ของหารใช้งาน มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อตัวแปรอิสระในขณะที่ตัวแปรความปลอดภัยไม่ส่งผลกระทบต่อดอกเบี้ยอย่างมีนัยสำคัญในการใช้บัตรเครดิตเสมือน