หนังสือกับตำรา : ความเหมือนและความต่าง
วันที่เขียน 2/9/2562 13:12:16     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 1/10/2566 5:47:35
เปิดอ่าน: 22876 ครั้ง

ตำรา นิยามไว้ว่า ผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชา หรือเป็นส่วนหนึ่งของวิชา หรือของหลักสูตรก็ได้ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษาในการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับอุดมศึกษา หนังสือ นิยามไว้ว่า ผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีรากฐานทางวิชาการที่มั่นคง และให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิดและสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้น ๆ และ/หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงในเชิงเนื้อหาและครอบคลุมโดยไม่จำเป็นต้องสอดคล้องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตรหรือของวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร และไม่จำเป็นต้องนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ทั้งนี้เนื้อหาสาระของหนังสือต้องมีความทันสมัย เมื่อพิจารณาถึงวันที่จัดพิมพ์ ความแตกต่างของตำราและหนังสือ คือ ตำราต้องครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชาหรือหลักสูตร มีบทและสารบัญเนื้อหาที่ชัดเจนสอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา แต่หนังสือไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับวิชาหรือหลักสูตร แต่หนังสือถูกกลั่นกรองมาจากความสนใจ เชี่ยวชาญของผู้เขียน

ตำรา  นิยามไว้ว่า

          ผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชา หรือเป็นส่วนหนึ่งของวิชา  หรือของหลักสูตรก็ได้  ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษาในการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับอุดมศึกษา

หนังสือ นิยามไว้ว่า

          ผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีรากฐานทางวิชาการที่มั่นคง  และให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิดและสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้น ๆ และ/หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง  มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงในเชิงเนื้อหาและครอบคลุมโดยไม่จำเป็นต้องสอดคล้องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตรหรือของวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร  และไม่จำเป็นต้องนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง  ทั้งนี้เนื้อหาสาระของหนังสือต้องมีความทันสมัย  เมื่อพิจารณาถึงวันที่จัดพิมพ์

ความแตกต่างของตำราและหนังสือ  คือ ตำราต้องครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชาหรือหลักสูตร  มีบทและสารบัญเนื้อหาที่ชัดเจนสอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา  แต่หนังสือไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับวิชาหรือหลักสูตร  แต่หนังสือถูกกลั่นกรองมาจากความสนใจ เชี่ยวชาญของผู้เขียน

ภาพรวมของตำราและหนังสือที่ใช้เสนอขอผลงานวิชาการ

-        มีความทันสมัย  เช่น ชื่อหัวข้อหลัก  ชื่อหัวข้อรอง ลักษณะตัวอย่าง เอกสารอ้างอิง  ต้องทันสมัย

-        หากมีผู้เขียนหลายคน  ผู้ขอตำแหน่งวิชาการต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในการเรียบเรียงตำราหรือหนังสือ  อย่างน้อย 80 หน้าของเนื้อหาทั้งหมด

-        คำนำ  ควรระบุว่าเป็นตำราหรือหนังสือ เช่น ตำรานี้เขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนวิชา ....  หรือหนังสือนี้เขียนขึ้นเพื่อเผยแพร่ชุดความรู้ ....

-        แต่ละบทควรมีสรุปอย่างน้อย 1 ย่อหน้า

-        การเผยแพร่โดยโรงพิมพ์  หรือสำนักพิมพ์  ถ้าเป็นสำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัยจะดีมาก  เนื่องจากมีการแต่งตั้งกรรมการมาพิจารณาก่อนพิมพ์  เช่น สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์  สำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

-        การอ้างถึงบทความอื่นนั้นควรทำความเข้าใจบทความที่อ้างถึงแล้วสรุปเป็นหนึ่งวลี  (Paraphase) 

-        ควรยกตัวอย่างจากหนังสือหรือบทความวิจัย หรือบทความวิชาการของคนที่มีชื่อเสียงในสาขานั้น ๆ ในต่างประเทศ 

-        ให้ระบุประเด็นอื่น ๆ ที่น่าศึกษาค้นคว้าต่อยอด

-        ส่วนใหญ่การอ้างอิงใช้คำว่า “บรรณานุกรม”

-        ใช้หลักการอ้างอิงแบบ APA

 -       ไม่ควรอ้างอิงจากบทคัดย่อ  เป็นเรื่องที่อันตรายมาก  เพราะบทคัดย่อเป็นตัวแทนของบทความ  จึงหมายความได้ว่า  อ้างอิงมาจากบทความนั้นทั้งบทความ

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
ผลงานวิจัย » จริยธรรมในการวิจัย
หลักจริยธรรมการวิจัย โดยให้ความสำคัญกับการได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นหน่วยวิเคราะห์ เช่น คน มนุษย์ สัตว์ ซึ่งการวิจัยในมนุษย์นั้น จะเน้นที่ The Belmont Report ส่วนนิยาม จรรยาบรรณ สำนักการวิจัยแห่งชาติ ไ...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 20/2/2566 14:13:37  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/9/2566 22:31:08   เปิดอ่าน 412  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผลงานวิจัย » การจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ การคิดค้นนวัตกรรม
การคิดสร้างสรรค์ หมายถึง การสร้างสรรค์”สิ่งใหม่” อาทิ ผลผลิต การแก้ปัญหา นวัตกรรม ฯลฯ ซึ่งมีคุณค่า การขยายขอบเขตความคิดออกไปจาก กรอบความคิดเดิมที่มีอยู่สู่ความคิดใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหา...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 20/2/2566 14:05:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 30/9/2566 19:17:41   เปิดอ่าน 317  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง