การประชุมเชิงปฏิบัติการทางด้าน Fixed Point Theory and Optimization (WFPT 2020)
วันที่เขียน 19/4/2563 12:12:56     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:25:07
เปิดอ่าน: 2402 ครั้ง

การประชุมเชิงปฏิบัติการทางด้าน Fixed Point Theory and Optimization (WFPT 2020) ณ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 17 – 18 มกราคม พ.ศ. 2563 ตามหนังสือขออนุญาตเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ ที่ อว 69.5.5 / 161 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562

ข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมการประชุมวิชาการดังกล่าว ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับฟังบรรยายพิเศษจากศาสตราจารย์ประเทศเกาหลี จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ Professor Dr. Choonkil Park เรื่อง “Fixed Points and nonlinear functional inequalities” และ Professor Dr. Young Sik Kim เรื่อง “A change of scale formula for Wiener integrals about the first variation on the product abstract Weiner space” จาก Hanyang University, Seoul, Republic of Korea ทำให้ได้ทราบแนวทางการวิจัยในประเทศเกาหลี ซึ่งท่านแรกยังเป็น The Chief Editor of Journal of Nonlinear Analysis and Applications และเป็น The associate editors ของวารสารชื่อดังทางคณิตศาสตร์อีก 2 ฉบับ
  2. ได้รับฟังบรรยายจากรองศาสตราจารย์ ดร.นรินทร์ เพชร์โรจน์ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง “Traffic Signal Control Methods” ทำให้ได้ทราบว่าสามารถนำการวิจัยทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้กับการจราจรบนท้องถนน โดยเฉพาะบริเวณสี่แยกไฟแดงได้ เพื่อใช้ควบคุมสัญญาณไฟจราจรให้มีความเหมาะสมกับจำนวนรถที่ผ่านมากที่สุด
  3. ได้รับฟังบรรยายจากรองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ ช่อลำเจียก จากมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง “Splitting algorithms for solving convex minimization problems” นับเป็นแนวทางการวิจัยที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นการนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาการกู้คืนภาพ จากภาพเบลอให้เป็นภาพที่ชัดเจนขึ้น สามารถประยุกต์ใช้กับงานด้านความปลอดภัย เพื่อติดตามคนร้าย เป็นต้น
  4. ได้รับฟังบรรยายจากรองศาสตราจารย์ ดร. ระเบียน วังคีรี จากมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง “Large scale twin parametrice support vector machine using generalized pinball loss function” เป็นแนวทางการวิจัยใหม่ของท่านอาจารย์ระเบียน โดยเป็นการศึกษาปัญหาการจำแนกวัตถุออกเป็น 2 กลุ่ม ทั้งของฟังก์ชันเชิงเส้นและฟังก์ชันไม่เชิงเส้น
  5. ได้รับฟังบรรยายจากรองศาสตราจารย์ ดร. สาธิต แซ่จึง จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่อง “Matrix transformation and fixed point algorithms” เป็นแนวทางการวิจัยที่น่าสนใจอีกแนวทางหนึ่ง
  6. ได้รับฟังบรรยายจากศาสตราจารย์ ดร. ภูมิ คำเอม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี เรื่อง “Recent Research on KMUTT Fixed Point Research Group” ทำให้ทราบแนวทางการวิจัยของนักศึกษาที่ทำงานวิจัยกับท่านอาจารย์ภูมิ คำเอม และการบริหารจัดการภายในกลุ่มวิจัยเพื่อให้ได้ผลงานออกมาตลอดปี อย่างต่อเนื่อง
  7. ได้รับฟังการเสวนาจากคณาจารย์ชื่อดังทางคณิตศาสตร์ เช่น ศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ ธรรมพงษา ศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ สวนใต้ ศาสตราจารย์ ดร.สมยศ พลับเที่ยง และศาสตราจารย์ ดร.กฤษณะ เนียมมณี เป็นต้น เรื่อง “การทำวิจัย การเขียนหนังสือ หรือ ตำรา เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ” ทำให้ทราบแนวทาง หลักการที่ชัดเจนขึ้นในการทำวิจัย การเขียนหนังสือหรือตำรา แรงจูงใจในการขอตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด
  8. ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำวิจัยและการเรียนการสอนกับคณาจารย์ นักวิจัยทางคณิตศาสตร์ หลาย ๆ ท่าน จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์อันดี อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในการทำวิจัยในอนาคต และการพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น

          การเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีการนำไปใช้ประโยชน์คือ มีแนวทางในการทำวิจัยทางทฤษฎีจุดตรึงและการประยุกต์ มีความสัมพันธ์อันดีกับคณาจารย์ นักวิจัยทางคณิตศาสตร์ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในการทำวิจัย การพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นหรือการบริการทางวิชาการในอนาคต ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัยทางคณิตศาสตร์ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ อีกทั้งนำมาพัฒนาตนเองและนักศึกษาต่อไป

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:28:28   เปิดอ่าน 24  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง