|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีดรรชนีบทความวารสารและการสร้างคอลเลกชันพิเศษ [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 5of5 / 2565]
|
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน
1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้)
2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST
3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC
4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน
5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน
การทำดรรชนีวารสาร (อนาคต Staffs คอลเลกชันตามหัวข้อโดยรวบรวมบทความจาก ThaiJo) ได้เสนอเป็นแนวความคิดไว้ สำหรับการพัฒนาคอลเลกชันและบริการห้องสมุดแก่ผู้ใช้ในระยะต่อไป โดยบุคลากรห้องสมุดอื่นอาจจัดทำคอลเลกชันตามหัวข้อ (สมัยอดีตนิยมเรียกว่า แฟ้มสารสนเทศเฉพาะทาง) บริการผู้ใช้ เช่น เก็บรวบรวมข้อมูลปลาบึก ข้อมูลการพยาบาลผู้สูงอายุ ห้องสมุดสีเขียว ฯลฯ จากบทความออนไลน์ ThaiJo ได้ ในที่นี้งานจะมีลักษณะทำนองเดียวกับงานตาม blogข้อ 2 คือ “ เอกสารเนื้อหา Green“ ที่เคยกล่าวถึง สามารถดูรายละเอียดใน blog นั้นได้. [end]
|
คำสำคัญ :
การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ งานเทคนิค (ห้องสมุด) ฐานข้อมูลเฉพาะทาง บทความอิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โสตทัศนวัสดุ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
844
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
13/8/2565 3:56:28
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 16:45:32
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีคอลเลกชันภาพยนตร์ดีเด่น [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 3of5 / 2565]
|
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน
1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้)
2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST
3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC
4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน
5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน
ภาพยนตร์ดีเด่น ในฐานข้อมูล Film_OPAC (ภาพยนตร์ - ข้อมูลอ้างอิง) (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล ที่สำคัญคือ IMDb.com, BoxOfficeMojo.com, Wikipedia-best-films, RottenTomatoes, MetalCritics, Time, etc. (2) Tag สำคัญที่ใช้คือ 245, 246, 260, 300, 508, 511, 520, 655, 700, 710, 856 (ถ้ามี), นอกจากนี้มีการเก็บข้อมูล ภาพปก, และกรณีภาพยนตร์ออนไลน์ฟรี จะเก็บ URL link 856, ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040, 6xx, 650, 655 (จากรหัส Genre of films), 69x โดยเฉพาะ 586 (รางวัล, รายได้, อันดับ), โดย 650 กำหนดดรรชนีควบคุมว่า ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xภาพยนตร์, และ 650 หัวเรื่องเกี่ยวกับรางวัล รายได้ อันดับ เช่น ^aภาพยนตร์^xรางวัลออสการ์, โดย 245^h กำหนดว่า ^h[videorecording], ส่วน 008 ชนิด VM บางตำแหน่งลงรหัส q v l, leader=ngm, ถ่ายเข้า Film_OPAC (Elib). [end]
|
คำสำคัญ :
งานเทคนิค (ห้องสมุด) ฐานข้อมูลเฉพาะทาง ภาพยนตร์ โสตทัศนวัสดุ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
678
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
13/8/2565 3:51:00
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 15:47:05
|
|
|
บทความวารสาร
»
การทำดรรชนีวารสาร ประเด็นเครื่องมือช่วยงานคือ ฐานข้อมูลหัวเรื่อง [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน 5of5 / 2564]
|
ที่มา
(1) การทำดรรชนีบทความวารสารของห้องสมุด เดิมมีการกระจายงานให้บรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศในสายงานต่างๆ ร่วมกันดำเนินงาน แต่ปัจจุบันจัดแบ่งให้บรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศในสายงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ (หรืองานด้าน Cataloging) เท่านั้น ดังนั้นการนำเสนอรายละเอียดงานในกิจกรรม KM ของบุคลากรโดยรวมของห้องสมุดจึงอาจไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย ในที่นี้จึงจะนำเสนอเพียงบางประเด็นที่อาจช่วยเสริมความรู้และการนำไปประยุกต์ใช้คือ “ฐานข้อมูลหัวเรื่อง”
(2) ประเด็นการนำเสนอในที่นี้ เฉพาะหัวข้อ “เครื่องช่วยงาน คือ ฐานข้อมูลหัวเรื่อง” ซึ่งบรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานวิเคราะห์รายการเอกสารสามารถทราบถึงเครื่องมือและเลือกใช้ได้ ส่วนบรรณารักษ์งานบริการอาจนำไปใช้ประโยชน์ในแง่การเลือกคำคำค้นหัวเรื่องเพื่อบริการผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลที่นำเสนอ
(3) ฐานข้อมูลหัวเรื่องที่น่าสนใจมีดังนี้ (1) Red_demo on DOS (2) Red_demo on Winisis [ปัจจุบันทำงานบน Windows 2003 Server] (3) Thaiccweb ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (4) ฐานข้อมูลหัวเรื่องแบบศัพท์สัมพันธ์ในห้องสมุดบางแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
อนึ่ง ในโอกาสนี้นำเสนอเพียงโปรแกรมหรือฐานข้อมูล ไม่ได้กล่าวถึงการจัดการด้านฮาร์ดแวร์ (เช่น การเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ HandyDrive ที่ใช้ boot OS) การเข้าถึง วิธีใช้งานเมนูต่างๆ เทคนิคการใช้งาน หลักการวิเคราะห์และกำหนดหัวเรื่อง ข้อดีข้อเสียของฐานข้อมูลหัวเรื่องแต่ละระบบ
(4) ในการนี้นำเสนอเพียงแง่มุม “Know What” ว่ามีอะไรบ้าง นำเสนอด้วยรูปภาพและข้อมูลบอกเล่าโดยสังเขป ส่วนวิธีการใช้งาน “Know How” และการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของฐานข้อมูลแต่ละฐาน “Know Why” ไม่ได้นำเสนอ เนื่องจากข้อจำกัดของเวลา และกลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม KM ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหานี้
ผลลัพธ์
(5) ได้เสนอเนื้อหาโดยสังเขปแก่ผู้สนใจในกิจกรรม KM การเลือกใช้งานหรือไม่ อย่างไร ควรติดตามผลในโอกาสต่อไป
อื่นๆ
(6) อนึ่ง หากมีการนำเสนอแก่กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรง คือ บรรณารักษ์สายงานวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร ทั้งหน่วยงานเอง หรือต่างห้องสมุดต่างมหาวิทยาลัย ด้วยเนื้อหาที่ละเอียดและลึกซึ้งขึ้น อาจมีประโยชน์เพิ่มมากขึ้น
-- หมายเหตุ ภาพประกอบจำนวนหนึ่ง
|
คำสำคัญ :
งานเทคนิค (ห้องสมุด) ฐานข้อมูล บทความ วารสาร หัวเรื่อง
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1783
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
14/7/2564 10:10:09
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 23:40:03
|
|
|
บทความวารสาร
»
การทำรายการหัวเรื่องด้วยเครื่องมือบรรณารักษ์คือ ฐานข้อมูลหัวเรื่อง
|
[0] บทนำ เนื้อหาใน KM blog ครั้งนี้จะขยายความจากเนื้อหาที่ได้นำเสนอแก่บุคลากรห้องสมุดสายงานวิเคราะห์และทำรายการ (cataloging) เพิ่มเติมจากที่ได้นำเสนอในที่ประชุม/การพูดคุย โดยในวงพูดคุยได้แนะนำถึงการสร้างบัญชีคำหัวเรื่องภาษาไทยพอสังเขป และเน้นการใช้งานฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ (Thaiccweb) ระดับพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่
[1] จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 (มีนาคม-มิถุนายน 2563) และนโยบายให้ทำงานจากบ้าน (work from home) นั้น งานห้องสมุดเกี่ยวกับการวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร โดยเฉพาะการวิเคราะห์และให้หัวเรื่องแก่บทความวารสาร ซึ่งบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ และบุคลากรห้องสมุดที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานลักษณะนี้จากบ้านได้ แต่อาจไม่สะดวกเพราะขาดเครื่องมือบรรณารักษ์คือคู่มือหัวเรื่องภาษาไทย ที่ใช้ในการตรวจสอบและกำหนดหัวเรื่องแก่เนื้อหาเอกสาร
[2] เดิมคู่มือหัวเรื่องนี้จัดทำเป็นฉบับพิมพ์ 2 เล่ม (หนาประมาณเล่มละ 1,000 หน้า) และมีจำนวนตัวเล่มจำกัดเพียง 1-2 สำเนา (copies) จึงไม่เพียงพอกับบุคลากรทุกคน ประกอบกับคู่มือไม่อาจเพิ่มเติม/แก้ไขรายการคำหัวเรื่องใหม่ๆ ได้ จึงค่อนข้างล้าสมัย รวมทั้งเป็นเครื่องมือระบบมือที่การใช้งานค้นหาคำไม่สะดวกแบบระบบฐานข้อมูลหัวเรื่อง
[3] คู่มือหัวเรื่องที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ใช้งานในปัจจุบัน จัดทำโดยผู้เขียน blog KM นี้ โดยใช้โปรแกรมจัดการศัพท์สัมพันธ์ (thesaurus management software) ชื่อ Thes_y.pas เป็นโปรแกรมภาษาปาสคาลบนโปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS for DOS ของ Unesco ซึ่งผู้เขียนได้พัฒนาโปรแกรมขึ้นจากต้นแบบโปรแกรมตัวอย่าง Thes.pas ของ Unesco โปรแกรมนี้ช่วยในการสร้างคำหัวเรื่องภาษาไทยใหม่ๆ สะดวก สามารถสร้างหัวเรื่องที่มีความสัมพันธ์กัน 2 ทาง (two-way relationship) ได้อัตโนมัติ และมีการตรวจสอบความสัมพันธ์แบบศัพท์สัมพันธ์ (ความสัมพันธ์ NT/BT/RT/UF-Use) อัตโนมัติ รวมทั้งมีระบบดรรชนีค้นหาคำที่หลากหลายและละเอียด ในการสร้างคำหัวเรื่องนั้นผู้เขียนจะเทียบเคียงศัพท์หัวเรื่องไทยจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาอังกฤษ Library of Congress Subject Headings (LCSH) ของห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน ที่เป็นฐานข้อมูลบน Classificationweb.net อีกทอดหนึ่ง อย่างไรก็ตามโปรแกรมนี้ทำงานบน DOS ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Windows 98 ซึ่งปัจจุบันไม่อาจติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ทำงานของบุคลากรแต่ละคนได้ จึงคงใช้งานเพียงผู้เขียน และการสร้างฐานข้อมูลหัวเรื่องเป็นหลัก ผู้เขียนประมาณการว่าหากจัดทำเป็นหนังสือคู่มือหัวเรื่อง (เล่มละ 1,000 หน้า) จะมีประมาณ 12 เล่ม
[4] ผู้เขียนได้นำฐานข้อมูลให้บริการบนโปรแกรม CDS/ISIS for Windows ซึ่งโปรแกรมเมอร์ของห้องสมุดได้จัดทำเครื่องแม่ข่าย (server) ด้วยโปรแกรมลักษณะ virtual machine (ทำนอง VMware) ที่ทำงานระบบปฏิบัติการ Windows Server 200x เพื่อให้โปรแกรม CDS/ISIS for Windows ทำงานได้ แล้วบุคลากรห้องสมุดใช้งานโปรแกรมด้วยวิธีการ remote acess ใช้งาน แต่เนื่องจากเป็นการใช้ในเครือข่ายอินทราเน็ต (intranet) ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้เท่านั้น จึงไม่เอื้อต่อการใช้งานลักษณะการทำงานจากบ้านของแต่ละบุคคลได้
[5] ผู้เขียนแนะนำฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ (หรือ Thaiccweb) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลหัวเรื่องของคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา อันเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดประมาณ 30 แห่ง และห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นหนึ่งในสมาชิกเครือข่ายดังกล่าวด้วย จึงได้รับ user name (account) ในการใช้งาน รวมทั้งสามารถสร้างและเสนอหัวเรื่องใหม่ได้ ปัจจุบันค่อนข้างมีหัวเรื่องพื้นฐานเพียงพอแล้ว และผู้เขียนประมาณการว่าหากจัดทำเป็นหนังสือคู่มือหัวเรื่อง (เล่มละ 1,000 หน้า) จะมีประมาณ 8 เล่ม
[6] สถานภาพการใช้งานฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ มีหลายระดับ เช่น Visitor (ดูได้เพียงหัวเรื่องหลัก), Member (ดูรายละเอียดคำ การโยงคำต่างๆ และเสนอหัวเรื่องใหม่ได้), Editor (ปัจจุบันมี 2 คนคือ ผู้เขียน และบรรณารักษ์สำคัญอีกคนหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), Administrator (ดูแลระบบทั้งหมด) ซึ่งในส่วนบุคลากรห้องสมุดสามารถใช้งานในระดับ Member ได้ โดย log in ด้วยบัญชีผู้ใช้ชื่อ mju1 และรหัสผ่านตามที่แจ้งในวง KM หลังจากนั้นสามารถใช้งานสืบค้นหัวเรื่องต่างๆ ได้สะดวก เนื่องจากฐานข้อมูลนี้เป็นระบบ web-based ใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงช่วยอำนวยความสะดวกให้บุคลากรห้องสมุดสามารถใช้ฐานข้อมูลนี้จากบ้านพักของตนในช่วงการทำงานจากบ้านได้ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าหากมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในอนาคตและมีมาตรการให้บุคลากรทำงานจากบ้าน ฐานข้อมูลนี้จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือบรรณารักษ์/นักเอกสารสนเทศ/ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ที่เกี่ยวข้องกับงานหัวเรื่องในภาระงานการวิเคราะห์และทำรายการเนื้อหาได้เป็นอย่างดี.
|
คำสำคัญ :
การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร ฐานข้อมูล ดัชนี หัวเรื่อง
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2421
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
20/7/2563 15:02:10
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 10:21:26
|
|
|
บริการฐานข้อมูลเฉพาะทาง
»
KM ฐานข้อมูลภาพยนตร์ ครั้งที่ 1 : สรุปประเด็นการนำเสนอ
|
จากสรุปผล KM ครั้งก่อนที่นำเสนอข้อมูลแบบทดสอบ Pre-test Post-test ซึ่ง
เป็นข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรม
สรุปประเด็นที่ได้นำเสนอในกิจกรรม KM ครั้งที่ 1 มีดังนี้
1. กลุ่มเป้าหมาย : การจัดกิจกรรมครั้งแรก มุ่งถ่ายทอดความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย คือ
เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรห้องสมุด ที่ทำหน้าที่ให้บริการยืมคืน CD ภาพยนตร์ และ
บรรณารักษ์ที่อาจทำหน้าที่บริการและช่วยการค้นคว้าสื่อ CD ภาพยนตร์ หรือ
การประยุกต์แนวคิดการวิเคราะห์และทำรายการสื่อ ดรรชนีสื่อภาพยนตร์ ไปใช้ประโยชน์
2. การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร : โดยที่การสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์
ที่มีประสิทธิภาพ ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ในการนี้กล่าวถึงเพึยง 2 ประการ
คือ (1) โปรแกรมระบบงานห้องสมุด เช่น ALIST, Film_OPAC, Innopac (ตัวอย่าง
จากห้องสมุดอื่น) และ (2) ข้อมูลการวิเคราะห์และทำรายการของบรรณารักษ์ ว่ามีความละเอียด
ลึกซึ้งเพียงใด มีการออกแบบระบบข้อมูลบรรณานุกรมและดรรชนีที่เอื้อต่อการสืบค้นด้วยช่องทาง
ต่างๆ มากน้อยเพียงใด ซึ่งบรรณารักษ์งานวิเคราะห์ฯ ไม่ว่าจะดูแลสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศของ
ห้องสมุดประเภทใด สามารถศึกษาและนำไปพัฒนางานตนเองได้ โดยที่โปรแกรมห้องสมุดอาจ
เป็นเงื่อนไขที่บรรณารักษ์ปรับเปลี่ยนได้ยาก แต่งานวิเคราะห์และทำรายการเอกสารของ
บรรณารักษ์เองอยู่ในเงื่อนไขที่บรรณารักษ์สามารถปรับเปลี่ยนได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับ
โปรแกรม Film_OPAC ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้พัฒนาขึ้นนี้ เป็นเครื่องมือช่วยการ
บริการผู้ใช้ได้สอดคล้องกับสารสนเทศสื่อภาพยนตร์มากกว่าระบบโปรแกรม ALIST ที่ห้องสมุด
ใช้งานอยู่ หรือโปรแกรมระบบงานห้องสมุดต่างๆ ที่ออกแบบมาโดยเน้นหนังสือเป็นหลัก (เช่น Innopac)
3. การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด : กรณีสื่อ CD ภาพยนตร์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย
แม่โจ้ สามารถพัฒนาขนาดคอลเลคชัน (size or scope) จำนวนประมาณ 3,200 ชื่อเรื่อง
จัดอยู่ในลำดับ 6 (โดยประมาณ) ของประเทศ ส่วนการพัฒนาสารสนเทศภาพยนตร์ หรือข้อมูล
บรรณานุกรมสื่อ มีความละเอียดมากกว่าห้องสมุดแห่งอื่น จัดอยู่ในลำดับ 1 ของประเทศ โดยใน
ส่วนฐานข้อมูล Film_OPAC เอง เมื่อสืบค้นจาก Search engine คือ Google ด้วยคำค้น
เกี่ยวกับ ฐานข้อมูลภาพยนตร์ พบว่าฐานข้อมูลของห้องสมุดคือ Film_OPAC นำเสนอในลำดับ
ต้นๆ ในผลลัพธ์การค้นของ Google
4. ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น หรือ Film_OPAC เป็นผลลัพธ์จากงานพัฒนาคอลเลคชัน และ
งานวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ ซึ่งประสิทธิภาพการสืบค้นและนำเสนอสารสนเทศภาพยนตร์
ด้วยช่องทางสืบค้นและดรรชนีต่างๆ นั้น ได้มีการนำเสนอความรู้ระดับพื้นฐาน และได้แลกเปลี่ยน
เรียนรู้กันในระดับเบื้องต้น เช่น ดรรชนีแบบจัดเตรียมรายการไว้ให้ (directory search) ดรรชนี
ระบุคำค้น (word search) ของสารสนเทศภาพยนตร์ต่างๆ เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อนักแสดง ชื่อผู้กำกับ
ประเทศ ประเภทภาพยนตร์ (genre) รางวัลภาพยนตร์ รายได้ภาพยนตร์ เนื้อหาภาพยนตร์
ที่ค้นได้จากคำ keywords และหัวเรื่อง โดยเทียบเคียงระบบ Film_OPAC กับ ALIST ด้วย
5. ตามหลักการ KM 4 ระดับคือ (1) Know what (2) Know how (3) Know why
(4) Care why นั้น กิจกรรม KM ครั้งนี้มุ่งเพียง Know what ว่าข้อมูลภาพยนตร์ในระบบ
โปรแกรม ALIST และ Film_OPAC คืออะไร ให้ข้อมูลอะไร และ Know how ในส่วนวิธี
การสืบค้นด้วยดรรชนีต่างๆ ระดับเบื้องต้น (basic) อย่างสังเขปเท่านั้น ส่วนความรู้
ที่เป็น Know how ที่ลึกซึ้งขึ้น เช่น วิธีการพัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ วิธีการจัดซื้อจัดหาสื่อ
วิธีการวิเคราะห์และทำรายการ หรือการจัดทำดรรชนีเป็นอย่างไร และความรู้
ระดับ Know why ว่าสาเหตุใดจึงทำดรรชนีเช่นนั้น ตลอดจนความรู้ระดับ Care why ว่า
ระบบดรรชนีและโปรแกรมมีข้อจำกัดอย่างไร และจะพัฒนาระบบดรรชนีต่อไปเช่นไรนั้น จะมี
การนำเสนอในกิจกรรม KM ในอนาคต.
---end
|
คำสำคัญ :
การบริหารองค์ความรู้ ฐานข้อมูล บริการสื่อโสตทัศน์ ภาพยนตร์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1995
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
13/4/2563 15:39:51
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 15:32:37
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
KM บริการสารสนเทศภาพยนตร์
|
สืบเนื่องจากกิจกรรมการจัดการความรู้ (KM) ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปีงบประมาณ 2563 การเติมเต็มความรู้ เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562 มีการกำหนดให้ประเมินโดยการวัดผลความรู้ก่อนและหลังกิจกรรม (pre-test, post-test) ด้วย ในการเติมเต็มความรู้ได้มีการถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้เกี่ยวกับบริการสารสนเทศภาพยนตร์ นำเสนอในมุมมองผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด (ไม่ใช่มุมมองผู้ใช้บริการ) ซึ่งห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินการพัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ และจัดทำฐานข้อมูลภาพยนตร์ทั้งในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST และระบบ Elib เสริมด้วยโปรแกรมสืบค้น Film_OPAC จนทำให้คอลเลคชันภาพยนตร์ของมหาวิทยาลัยจัดอยู่ในอันดับ Top 6 ของประเทศ และการลงรายการบรรณานุกรมหรือการจัดทำข้อมูลภาพยนตร์จัดอยู่ในอันดับ Top 1 ของประเทศ ซึ่งผู้ใช้บริการทั่วไปสามารถสืบค้นและใช้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ได้จากระบบ ALIST OPAC (http://opac.library.mju.ac.th) และฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น Elib + Film_OPAC (https://lib.mju.ac.th/film/)
ในกระทู้ KM นี้นำเสนอเอกสาร pre-test, post-test ที่ใช้ทดสอบ
แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ ก่อน-หลัง กิจกรรม KM (Pre-test, Post-test)
หัวข้อ บริการสารสนเทศภาพยนตร์
18 พฤศจิกายน 2562
----------------------------------
ชื่อผู้ทดสอบ ……………………………………………………
1. สื่อโสตทัศน์ที่มีบริการในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
[…] CD […] VDO tape […] เทปคาสเส็ท […] แผ่นเสียง […] สไลด์
[…] แผนที่ […] ออนไลน์ […] Video on demand
2. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด มีรหัส/เลขหมู่/เลขเรียก คือ ………………
3. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ ……………….. เรื่อง (titles)
4. ปัจจุบันห้องสมุดทำรายการภาพยนตร์เช่นไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
[…] List รายชื่อและเลขรหัส […] MARC 21 […] RDA […] MetaData […] AACR2
5. ความละเอียดในการลงรายการภาพยนตร์ของห้องสมุด ม.แม่โจ้ เทียบกับห้องสมุดอื่นๆ (ตอบ>1ข้อ)
[…] Top3 (1ถึง3ของประเทศ) […] Top10 (4ถึง10ของประเทศ)
[…] ปานกลาง (เหมือนห้องสมุดทั่วไป) […] ด้อยกว่าห้องสมุดส่วนใหญ่
6. เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ที่ห้องสมุดมีบริการ มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1)
………………………………………. …………………………………………….
………………………………………. …………………………………………….
7. ช่องทางการค้นหาและให้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ มีอะไรบ้าง (เช่น ค้นตามชื่อภาพยนตร์)
(ตอบได้>1) …………………… ………………… ………………
…………………… …………………. ………………… ………………
…………………… …………………. ………………… ………………
8. ช่องทางการค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ ที่ยังไม่มีบริการมีอะไรบ้าง (ตอบได้ >1)
…………………… …………………. ………………… ………………
…………………… …………………. ………………… ………………
9. หากจะนำ CD ภาพยนตร์ไปเสนอร่วมกิจกรรม เช่น วันพ่อ วิกฤติเศรษฐกิจ การติดถ้ำ ฯลฯ จะค้นหา
ได้จากช่องทาง ……………………. คำค้น …………………………………………….
10. ข้อแตกต่างระหว่าง “OPAC ALIST” กับ “OPAC Film ภาพยนตร์ดีเด่น” มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1)
………………………………………. …………………………………………….
………………………………………. …………………………………………….
------------------------
แนวคำตอบ
1. สื่อโสตทัศน์ที่มีบริการในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
[./.] CD […] VDO tape […] เทปคาสเส็ท […] แผ่นเสียง […] สไลด์
[…] แผนที่ [./.] ออนไลน์ [./.] Video on demand
2. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด มีรหัส/เลขหมู่/เลขเรียก คือ…CDT… [วิชาการ CDA, CDE, CDS]
3. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ …3,200.. เรื่อง (titles) [+/- 10% ok]
4. ปัจจุบันห้องสมุดทำรายการภาพยนตร์เช่นไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
[…] List รายชื่อและเลขรหัส [./.] MARC 21 […] RDA […] MetaData [./.] AACR2
5. ความละเอียดในการลงรายการภาพยนตร์ของห้องสมุด ม.แม่โจ้ เทียบกับห้องสมุดอื่นๆ (ตอบ>1ข้อ)
[./.] Top3 (1ถึง3ของประเทศ) […] Top10 (4ถึง10ของประเทศ)
[…] ปานกลาง (เหมือนห้องสมุดทั่วไป) […] ด้อยกว่าห้องสมุดส่วนใหญ่
6. เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ที่ห้องสมุดมีบริการ มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1)
…OPAC ALIST……………………. … OPAC Film ฐานภาพยนตร์ดีเด่น ………….
…แฟ้มประเภท (genre) ภาพยนตร์ …. … บอร์ดแนะนำ ….…………………………….
7. ช่องทางการค้นหาและให้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ มีอะไรบ้าง (เช่น ค้นตามชื่อภาพยนตร์)
(basic) ชื่อเรื่อง (+เพิ่ม) ชื่อบุคคล (ผู้กำกับ นักแสดง ฯลฯ) หัวเรื่อง เลขรหัส/หมู่
(add.) ภาพปก เรื่องย่อ ภาพยนตร์ใหม่ ประเภท ประเทศ
รางวัล รายได้ Top 10 การเข้าฉาย ปี ถาม บร.
8. ช่องทางการค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ ที่ยังไม่มีบริการมีอะไรบ้าง (ตอบได้ >1)
คะแนน Rating กลุ่มผู้ชม บริษัทผู้สร้าง
Keyword (Assigned) รางวัล (+) ชื่อตัวละคร Plot คำคม
Reference การโยง Thesaurus ภาพยนตร์ใกล้เคียง ภาพ Boolean App.
9. หากจะนำ CD ภาพยนตร์ไปเสนอร่วมกิจกรรม เช่น วันพ่อ วิกฤติเศรษฐกิจ การติดถ้ำ ฯลฯ จะค้นหา
ได้จากช่องทาง …หัวเรื่อง ………………. คำค้น …บิดา วิกฤติเศรษฐกิจ ถ้ำ ….
10. ข้อแตกต่างระหว่าง “OPAC ALIST” กับ “OPAC Film ภาพยนตร์ดีเด่น” มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1)
1. user interface, design ALIST ค้นสื่อรวมทุกประเภท ; OPAC Film ฐานเฉพาะทาง ค้นง่าย
2. คอลเลคชัน (scope, size) ALIST เฉพาะที่มีในห้องสมุด ; OPAC Film มีนอกเหนือ
3. สถานภาพ Item ALIST เชื่อมกับระบบยืมคืน ; OPAC Film ไม่เชื่อม (พัฒนาได้)
4. อื่นๆ (ระบุ) …………………………………………………………………………………..
------------------------
|
คำสำคัญ :
KM การจัดการความรู้ ฐานข้อมูล ดรรชนี บริการของห้องสมุด ภาพยนตร์ สื่อโสตทัศน์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2417
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
21/11/2562 9:34:01
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
19/11/2567 6:43:34
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การพัฒนาคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ดีเด่น : งานเทคนิคห้องสมุด : Flow chart ขั้นตอนงานแบบพิเศษ
|
สำนักห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดองค์กรภายในใหม่ งานด้านบริการสื่อโสตทัศน์ของห้องสมุด ซึ่งมีทรัพยากรสารสนเทศหลักที่ผู้ใช้นิยมใช้งานคือภาพยนตร์นั้น ได้ปรับเปลี่ยนสายงานไปอยู่ภายใต้สายงานใหม่ และทีมงานในสายงานใหม่ได้มีการประชุม พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิควิธีปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพระหว่างกัน ผู้เขียน blog ได้นำเสนอประเด็นงานหนึ่งเกี่ยวกับขั้นตอนงานเทคนิคห้องสมุดเพื่อจัดทำคอลเลคชันและฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น ซึ่งแตกต่างจากการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ในห้องสมุดต่างๆ โดยทั่วไป
ในการนำเสนอขั้นตอนงาน ได้มีการจัดทำแผนผังงาน Flow chart ประกอบ แสดงขั้นตอนงานแบบพิเศษ (ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ผู้เขียน blog รับผิดชอบ) ที่มีการจัดการฐานข้อมูลปกติของห้องสมุด (ระบบโปรแกรม ALIST) และฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (ระบบโปรแกรม CDS/ISIS, Elib) รายละเอียดมีค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามได้คัดขั้นตอนงานโดยสรุปมานำเสนอ เพื่อผู้สนใจสามารถมองเห็นประเด็นหรือแนวทางเบื้องต้นของขั้นตอนงานแบบพิเศษนี้ได้
อนึ่ง การนำเสนอข้อมูลในเวที KM web ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาจไม่รองรับการนำเสนอภาพ Flow chart หรือภาพ scan ผู้เขียนจึงเสนอเพียงข้อความเท่านั้น
ขั้นตอนการทำงานวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ดีเด่น แบบพิเศษ
0 ข้อมูลเบื้องต้น ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (CDS/ISIS) ฐาน Film
1 คัดเลือกการนำเข้าคอลเลคชัน
2 ตรวจสอบการซ้ำซ้อนข้อมูลที่มี
3 (ถ้าซ้ำ Copy) พิจารณาจะเพิ่มหรือไม่
4 กำหนดเลขรหัส CDT (เลข CDT ตามเดิม กรณีซ้ำ ; เลข CDT ใหม่ กรณีไม่ซ้ำ)
5 ตรวจสอบข้อมูลว่ามีในฐานข้อมูล Film หรือไม่
6 (ถ้าไม่มีในฐาน Film) วิเคราะห์และทำรายการบรรณานุกรม MARC
7 (ถ้าไม่มีในฐาน Film) บันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูล Film
8 (ถ้าไม่มีในฐาน Film) ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
9 บันทึกข้อมูลด้านการจัดซื้อจัดหา หัวเรื่อง ฯลฯ
10 คัดเลือกและถ่ายข้อมูลรายการเข้าฐานห้องสมุด ด้วยไฟล์ ISO-2709 data exchange format
ก. ฐานข้อมูลห้องสมุดระบบหลัก (ALIST)
ข. ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) (Elib)
ค. ฐานข้อมูลอื่นๆ เช่น Video on demand (VOD) (TASLiB) ; UC (union catalog)
11 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และเพิ่มเติม เช่น การถ่ายโอน รหัสคอลเลคชัน ภาพปก
12 จัดเตรียมตัวสื่อ เช่น สติกเกอร์ บาร์โคด ชั้นวาง
13 บันทึกข้อมูลรายการสื่อแต่ละชิ้น (Item) ในระบบ ALIST
14 จัดทำข้อมูลอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ภาพปก แฟ้มช่วยค้น ป้าย ปชส
15 บำรุงรักษาฐานข้อมูล (สำเนา, update, edit)
16 ประเมินงาน สถิติ รายงาน วิเคราะห์ปัญหาและพัฒนางาน
ข้อมูลโดยละเอียดมีมาก และห้องสมุดยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ กับผู้สนใจ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นแง่สื่อภาพยนตร์ แง่การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร แง่การจัดทำฐานข้อมูล ฯลฯ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้หรือต่างสถาบัน หากผู้สนใจมีข้อสงสัยและคำแนะนำใดๆ หรือข้อมูลเพิ่มเติม (ซึ่งผู้เขียน blog มีเอกสารที่เคยเป็นวิทยากรจัดอบรม และเอกสารวิจัยเพื่อพัฒนางาน R2R จำนวนหนึ่ง) กรุณาติดต่อผู้เขียน blog ซึ่งเป็นผู้บริการคอลเลคชันภาพยนตร์ได้ ซึ่งผู้เขียนพร้อมบริการผู้สนใจด้วยความยินดี. [end]
|
คำสำคัญ :
Flow chart การพัฒนาคอลเลคชันห้องสมุด ฐานข้อมูล ผังงาน ภาพยนตร์ วิธีทำงาน
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2275
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
18/9/2562 17:22:57
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 16:03:55
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
ภาพยนตร์เป็นทรัพยากรห้องสมุดที่มีคุณค่า สามารถสนองตอบวัตถุประสงค์ของห้องสมุด ที่มี 5 ประการคือ การให้ความรู้ (education) ข่าวสาร (information) วิจัย (research) ความบันดาลใจ (inspiration) และนันทนาการ (recreation) หรือ EIRIR ได้หลายข้อ โดยเฉพาะด้านการให้ความรู้ นันทนาการพักผ่อนหย่อนใจ และความบันดาลใจ ทิศทางของบริการภาพยนตร์ในห้องสมุดต่างๆ ก็ให้ความสำคัญและมีการจัดซื้อจัดหามาบริการผู้ใช้ในห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น
ปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้พัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ให้มีจำนวนมากขึ้น และคัดสรรภาพยนตร์ที่มีคุณค่ามาบริการผู้ใช้มากขึ้น จัดระบบสารสนเทศภาพยนตร์ให้มีความละเอียดสำหรับการสืบค้นเรื่องที่ต้องการ พร้อมทั้งพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยการสืบค้นให้ใช้งานได้สะดวกและง่ายขึ้นจากการใช้โปรแกรมสืบค้น OPAC แบบปกติของห้องสมุด โดยตั้งชื่อว่า “ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น”
ผู้สนใจสามารถใช้งานบริการสารสนเทศภาพยนตร์ได้ที่ https://lib.mju.ac.th/film/ หรือสามารถพิมพ์คำค้นจาก Google เช่น ฐานข้อมูลภาพยนตร์ หรือ แม่โจ้ ภาพยนตร์ เป็นต้น ระบบสืบค้นของ Google ก็จะแสดงข้อมูลเว็บต่างๆ ซึ่งเว็บเพจฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีอันดับผลการสืบค้นที่ดี สามารถขึ้นเป็นลำดับที่ 1 ของแหล่งข้อมูลในไทยได้
การใช้งานจะมีเมนูต่างๆ ให้ผู้สนใจเลือกค้นหาได้หลากหลายลักษณะ นักศึกษา คณาจารย์ ของมหาวิทยาลัยสามารถเลือกหาภาพยนตร์ที่ต้องการชมหรือใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ทั้งจากชื่อเรื่อง หรือจากคำค้นอื่นๆ เช่น รายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น รางวัลภาพยนตร์ หัวข้อเรื่องที่ต้องการ เช่น ครู การศึกษา เกษตรกร นักธุรกิจ วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ฯลฯ
ข้อมูลโดยละเอียดยังมีอีกมาก และห้องสมุดยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ กับผู้สนใจใช้สื่อภาพยนตร์ไม่ว่าจะเป็นด้านความบันเทิงหรือด้านวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นแง่ส่วนบุคคลหรือแง่การเรียนการสอนทางวิชาการหรือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามอัธยาศัย หากผู้สนใจมีข้อสงสัยและคำแนะนำใดๆ หรือข้อมูลเพิ่มเติม (ซึ่งผู้เขียน blog มีเอกสารที่เคยเป็นวิทยากรจัดอบรม และเอกสารวิจัยเพื่อพัฒนางาน R2R จำนวนหนึ่ง) กรุณาติดต่อผู้เขียน blog ซึ่งเป็นผู้บริการคอลเลคชันภาพยนตร์ได้ ซึ่งผู้เขียนพร้อมบริการผู้สนใจด้วยความยินดี. [end]
|
คำสำคัญ :
ฐานข้อมูล ดรรชนี บริการของห้องสมุด ภาพยนตร์ สื่อโสตทัศน์
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2365
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
18/9/2562 16:49:03
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 16:45:34
|
|
|
บริการฐานข้อมูลเฉพาะทาง
»
ฐานข้อมูลบรรณานุกรมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว: การพัฒนาฐานข้อมูล ระบบดรรชนี และการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลบรรณานุกรม
|
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลบรรณานุกรมเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (2) เพื่อศึกษาระบบดรรชนีหัวเรื่องและศัพท์สัมพันธ์ ประเภทหัวเรื่องย่อยประเภทชื่อบุคคล (พระนามพระมหากษัตริย์) และ/หรือกลุ่มบุคคล (กษัตริย์และผู้ครองนคร) ตามมาตรฐานบัญชีคำหัวเรื่องภาษาไทย และมาตรฐานสากล Library of Congress (3) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาสารสนเทศด้านพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากข้อมูลรายการบรรณานุกรม ในแง่องค์ประกอบของข้อมูลที่รวบรวมได้ การผลิตและการแพร่กระจายสารสนเทศ ขอบเขตเนื้อหาสารสนเทศเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่พิจารณาจากหัวเรื่องย่อย รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ที่ศึกษาถึง (1) รายการบรรณานุกรมเอกสาร (2) ดรรชนีหัวเรื่องสำหรับเอกสารเนื้อหาพระมหากษัตริย์ โดยเน้นหัวเรื่องย่อยตามหลังกลุ่มชื่อบุคคล/พระนามพระมหากษัตริย์ ประชากรที่ศึกษาได้แก่ ข้อมูลบรรณานุกรมเอกสารเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) แหล่งประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการรวบรวมข้อมูลและสร้างฐานข้อมูลได้แก่ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาและแหล่งสหบรรณานุกรม รวม 8 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS โปรแกรมจัดการหัวเรื่องแบบศัพท์สัมพันธ์ (Red_demo) โปรแกรมระบบงานห้องสมุด Elib และแบบสอบถามบรรณารักษ์ผู้มีความเชี่ยวชาญงานหัวเรื่องเพื่อประเมินบัญชีคำหัวเรื่องย่อยที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า
(1) ฐานข้อมูลบรรณานุกรมเอกสารที่สร้างขึ้นชื่อ King9 มีจำนวน 4,201 ระเบียน จัดทำในระบบจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS สามารถถ่ายโอนข้อมูลตามมาตรฐานรูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 ไปยังโปรแกรม Elib เพื่อบริการบนเว็บได้ (elib.library.mju.ac.th/elib) และอาจพัฒนาโปรแกรมสืบค้นให้สะดวกต่อการใช้งานจากต้นแบบโปรแกรมสืบค้นภาพยนตร์ดีเด่นได้
เมื่อเปรียบเทียบจำนวนเอกสารในฐานข้อมูล King9 (เฉพาะช่วงปี 2489-2549) กับ
สหบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ที่จัดทำปี 2549 จะมีสัดส่วน 100 : 33.21 หรือฐานข้อมูล King9 รวบรวมได้มากกว่า 3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลเฉพาะเอกสารรายงานผลการวิจัยจากการวิจัยและวิทยานิพนธ์ กับฐานข้อมูล TDC (Thai Digital Collection) ของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ Thailis จะมีสัดส่วน 100 : 19.01 หรือรวบรวมได้มากกว่า 5 เท่า และเมื่อเปรียบเทียบกับฐานข้อมูล NRCT ของห้องสมุด/ศูนย์ข้อมูลการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จะมีสัดส่วน 100 : 80.28 หรือมากกว่า 0.2 เท่า
ประเภทข้อมูลส่วนใหญ่เป็นสิ่งพิมพ์หนังสือ (86.79%) ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นหนังสือภาษาไทย (95.47%) จัดทำในช่วงปีพิมพ์ 2540-2549 (30.83%) และ 2550-2559 (36.13%) รวม 2 ช่วงประมาณ 2 ใน 3 ของเอกสารทั้งหมด
สถิติรายการบรรณานุกรมที่มีข้อมูลในเขตข้อมูล (MARC tag) ต่างๆ ในส่วนข้อมูล
หัวเรื่อง (tag 6xx) มีเฉลี่ย 5.33 คำ/ชื่อเรื่อง ข้อมูลเพิ่มมูลค่าที่รวบรวมเพิ่ม คือ สารบาญ (บันทึกเป็นข้อความ) (tag 505) เฉลี่ย 0.39/ชื่อเรื่อง สาระสังเขป (บันทึกเป็นข้อความ) (tag 520) เฉลี่ย 0.16/
ชื่อเรื่อง แฟ้มข้อมูลภาพปก JPG เฉลี่ย 0.61/ชื่อเรื่อง แฟ้มข้อมูลภาพสารบาญ JPG, ภาพสาระสังเขป JPG, เอกสารเนื้อเรื่องฉบับเต็ม full text แบบ PDF file เฉลี่ย 0.09/ชื่อเรื่อง
(2) ดรรชนีหัวเรื่องตามกลุ่มบุคคล (กษัตริย์และผู้ครองนคร--หัวเรื่องย่อยต่างๆ) เก็บ
รวบรวมได้ 130 คำ แต่ไม่ได้สร้างศัพท์สัมพันธ์เพราะเป็นคำกว้างเกินไป สามารถใช้หัวเรื่องตาม
ชื่อบุคคลแทนได้ ดรรชนีหัวเรื่องตามชื่อบุคคล/พระนามพระมหากษัตริย์ (ภูมิพลอดุลยเดชฯ--
หัวเรื่องย่อยต่างๆ) รวบรวมได้ 250 คำ และสร้างชุดคำศัพท์สัมพันธ์แล้วเสร็จ จำนวน 54 หน้า
ภายหลังการสร้างบัญชีคำศัพท์สัมพันธ์แล้ว ได้นำไปทดลองใช้วิเคราะห์หัวเรื่องใหม่ (re-cataloging) แก่เอกสาร 2,378 รายการ ประมวลผลจำนวนดรรชนีหัวเรื่องในระบบ พบว่า มีจำนวนเซตคำค้น (set of index terms or index forms) ว่า ภูมิพลฯ--[หัวเรื่องย่อยต่างๆ] เพิ่มมากขึ้น 3.18 เท่า และจำนวนเซตคำดรรชนีที่พบเอกสาร (set of index postings or found documents) เพิ่มมากขึ้น 2.62 เท่า สรุปคือฐานข้อมูลมีคุณภาพด้านการค้นคืนสูงขึ้น. [end]
|
คำสำคัญ :
ฐานข้อมูล ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ศัพท์สัมพันธ์ หัวเรื่อง
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2400
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
18/9/2562 15:39:37
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 18:09:31
|
|
|
งานวิจัย
»
การจัดการองค์ความรู้ในสวนสมุนไพร โดยประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ด
|
โครงการสวนสมุนไพรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ครบรอบพระชนมายุ 80 พรรษา ซึ่งปัจจุบันรองรับการเรียนการสอนด้านสมุนไพรของหลักสูตรการแพทย์แผนไทยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีแนวคิดการจัดสวนสมุนไพรตามพิกัดยาไทย ซึ่งมีพืชสมุนไพรต่างๆ ที่จัดเป็นกลุ่ม ตามตำรับยาแผนโบราณ ที่มีการอ้างอิงในการเรียนแพทย์แผนไทย สภาเภสัชกรรมไทย มีส่วนของกลุ่มสมุนไพรสาธารณสุขมูลฐานหรือสมุนไพรประจำบ้าน ที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ใช้จำนวน 61 พืช สมุนไพรล้านนาและสมุนไพรอื่นๆ ภายในพื้นที่สวนจัดวางตำแหน่งตามเส้นทางเดินศึกษาภายในสวน
ปัจจุบันเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างมาก และการให้บริการเกี่ยวกับบาร์โค้ด 2 มิติ (2 Dimension Barcode) ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล และสามารถสืบค้นข้อมูลเพื่อมาแสดงผลบนอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ ทางคณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นความสำคัญได้นำเอาเทคโนโลยีบาร์โค้ด 2 มิติมาประยุกต์เชื่อมโยงเข้ากับฐานสมุนไพรในสวนพฤกษศาสตร์กล้วยไม้ร้อยปีสมเด็จย่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้ผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถสืบค้นข้อมูล ต่าง ๆ ของพันธุ์ไม้ สมุนไพรในสวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติ จากอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่
|
คำสำคัญ :
คิวอาร์โค้ด ฐานข้อมูล บาร์โค้ด 2 มิติ ระบบสืบค้นสารสนเทศ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
4740
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สมชาย อารยพิทยา
วันที่เขียน
15/8/2562 10:40:02
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 23:09:07
|
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
ดรรชนีและหัวเรื่องสำหรับสารสนเทศภาพยนตร์ : กรณีศึกษา ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาดรรชนีสืบค้นเนื้อหาสารสนเทศ
ภาพยนตร์ (2) เพื่อทดลองนำดรรชนีสืบค้นเนื้อหาสารสนเทศภาพยนตร์ไปใช้ในโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ดีเด่นของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (3) เพื่อสร้างบัญชีคำหัวเรื่องสำหรับเป็นเครื่องมือช่วยการทำรายการและการสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ การวิจัยหลักเป็นการวิจัยเอกสาร ทำการวิเคราะห์เนื้อหาสื่อภาพยนตร์ สร้างคำดรรชนีหัวเรื่อง รวบรวมหัวเรื่องซึ่งเป็นประชากรในการวิจัยมาวิเคราะห์ และสร้างบัญชีคำหัวเรื่องภาษาไทยสำหรับภาพยนตร์ขึ้น
เครื่องมือวิจัยคือแบบบันทึกแนวทางการกำหนดคำดรรชนีสำหรับภาพยนตร์ แบบบันทึกรายการคำดรรชนีลักษณะควบคุมรายการหลักฐาน (authority control) และโปรแกรมจัดการด้านข้อมูลต่างๆ คือ CDS/ISIS, Elib, Film_opac, Microsoft Word สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า
การใช้แบบบันทึกแนวทางการกำหนดคำดรรชนี ที่ศึกษาวิเคราะห์ดรรชนีภาพยนตร์ 6 ประเด็นคือ (1) องค์ประกอบสารสนเทศภาพยนตร์ (2) เขตข้อมูล MARC tag (3) รูปแบบคำดรรชนีที่ใช้ (4) ลักษณะดรรชนีในระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ คือแฟ้มข้อมูลดรรชนีผกผันและระบบควบคุมรายการหลักฐาน (5) โปรแกรมสืบค้น OPAC กับการสืบค้นตามช่องทางเข้าถึง (6) โปรแกรมสืบค้น OPAC กับการสืบค้นด้วยคำสำคัญ สามารถกำหนดดรรชนีเพื่อเข้าถึงเนื้อหาภาพยนตร์ได้ 5 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นดรรชนีแบบหัวเรื่อง ได้แก่ (1) ดรรชนีเนื้อเรื่อง (2) ดรรชนีประเทศภาพยนตร์ (3) ดรรชนีประเภทหรือแนวภาพยนตร์ (4) ดรรชนีรางวัลภาพยนตร์ (5) ดรรชนีรายได้ภาพยนตร์ การทดลองนำไปใช้งานจริงกับฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น ซึ่งให้บริการ ณ เว็บไซต์ https://library.mju.ac.th/film/ การวิจัยพบว่าเมื่อได้ปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรมให้มี
คุณสมบัติรองรับดรรชนีทั้ง 5 ชนิดดังกล่าวแล้ว สามารถใช้ประโยชน์ของดรรชนีสารสนเทศ
ภาพยนตร์ได้ สำหรับหัวเรื่องที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์และทำรายการภาพยนตร์ดีเด่น พบว่านำมาสร้างบัญชีคำหัวเรื่องภาษาไทยสำหรับภาพยนตร์ได้ โดยมีหัวเรื่อง 2,604 คำ เป็นหัวเรื่องที่มีการใช้บ่อยครั้ง 757 คำ และมีรายการโยงแบบ “ดูที่” 570 คำ
คำสำคัญ : ดัชนี ; หัวเรื่อง ; ภาพยนตร์ ; ฐานข้อมูล ; การทำรายการทางบรรณานุกรม ; การสืบค้นสารสนเทศ
|
คำสำคัญ :
การทำรายการทางบรรณานุกรม การสืบค้นสารสนเทศ ฐานข้อมูล ดัชนี ภาพยนตร์ หัวเรื่อง
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3159
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
21/9/2561 11:34:10
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 16:57:39
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การเข้าถึงสารสนเทศภาพยนตร์ดีเด่นจากบริการห้องสมุด และแหล่งบริการบางประเภท
|
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อรวบรวมและคัดเลือกรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่ควรจัดบริการในห้องสมุด (2) เพื่อสำรวจการเข้าถึงภาพยนตร์ดีเด่นจากห้องสมุด และแหล่งบริการบางประเภทที่น่าสนใจ การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น แหล่งประชากรคือห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (8 แห่ง) แหล่งสารสนเทศภาพยนตร์ออนไลน์ระบบสมาชิก (3 แห่ง) แหล่งสารสนเทศภาพยนตร์ออนไลน์ละเมิดลิขสิทธิ์ (2 แห่ง) แหล่งจำหน่ายซีดีภาพยนตร์ (ถูกลิขสิทธิ์) (3 แห่ง) แหล่งจำหน่ายซีดีภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์ (3 แห่ง) เครื่องมือที่ใช้คือโปรแกรม CDS/ISIS ของ Unesco, Elib, FilmOPAC สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ผลวิจัยมีดังนี้
1. รายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น รวบรวมได้ 4,750 รายชื่อ นำเสนอไว้ในฐานข้อมูลภาพยนตร์
ดีเด่น (https://library.mju.ac.th/film/)
2. เกณฑ์การกำหนดรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น คือ (1) ภาพยนตร์ต่างประเทศ เน้นภาพยนตร์อเมริกัน (2) ภาพยนตร์ได้รับรางวัล (3) ภาพยนตร์ได้รับการจัดลำดับให้เป็นภาพยนตร์ดีหรือน่าสนใจโดยแหล่งที่น่าเชื่อถือ (4) ภาพยนตร์ทำรายได้สูงจากการฉาย (5) ภาพยนตร์กลุ่ม Top ของประเภท/แนวภาพยนตร์ และช่วงปี (6) ภาพยนตร์กลุ่ม Top ตามหัวข้อเนื้อหา (topics) หัวเรื่อง
3. การเข้าถึงสารสนเทศภาพยนตร์ดีเด่น 4,750 เรื่อง พบว่า แหล่งที่มีภาพยนตร์ดีเด่นจากมากไปน้อยคือ (1) ห้องสมุด (62.15%) (2) แหล่งภาพยนตร์ออนไลน์ละเมิดลิขสิทธิ์ (เช่น 037hd.com) (52.36%) (3) แหล่งจำหน่ายภาพยนตร์ซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ (เช่น LineDVD.com) (49.71%) (4) แหล่งจำหน่ายซีดีภาพยนตร์ถูกลิขสิทธิ์ (เช่น CAP, LidoDVD) (37.54%) และ (5) แหล่งภาพยนตร์ออนไลน์ระบบสมาชิก (เช่น IFLIX) (15.41%) ตามลำดับ ผลรวมของจำนวน
ภาพยนตร์ดีเด่นที่พบในทุกแหล่งหลังหักรายชื่อซ้ำซ้อนแล้ว มีจำนวน 3,488 รายชื่อ (73.43% ของรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นทั้งหมด) หรือในทางตรงข้ามคือ รายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่ไม่พบในแหล่ง
ข้อมูลใดๆ จำนวน 1,262 รายชื่อ (26.57%)
คำสำคัญ : ภาพยนตร์ ; แหล่งสารสนเทศ ; ฐานข้อมูล ; การเข้าถึงสารสนเทศ ; การพัฒนาคอลเลคชัน
|
คำสำคัญ :
การเข้าถึงสารสนเทศ การพัฒนาคอลเลคชัน ฐานข้อมูล ภาพยนตร์ แหล่งสารสนเทศ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2726
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
21/9/2561 11:25:19
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 20:03:50
|
|
|
|
|
|
คู่มือการใช้งานระบบสารสนเทศ
»
คู่มือการใช้งานระบบฐานข้อมูลนก มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
ตามที่คณะทำงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่่องมาจากพระราชดำริฯ ของมหาวิทยาลัย ได้จัดพิมพ์หนังสือ “นกในมหาวิทยาลัยแม่โจ้” ขึ้น ซึ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย เป็นผู้รวบรวมฐานข้อมูลและจัดรูปแบบให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย เพื่อใช้เป็นคู่มือสำหรับการศึกษา การฝึกดูนกสำหรับนักศึกษา บุคลากรในมหาวิทยาลัย และใช้ในกิจกรรมการปลูกจิตสำนึก ด้านการอนุรักษ์ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ การกระตุ้นให้ทุกคนได้เห็นคุณค่าของ “นก” เหล่านั้น รวมถึงสภาพธรรมชาติรอบตัว ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เป็นระบบนิเวศวิทยาของสิ่่งมีชีวิตที่่ต้องอาศัยเกื้อกูลกันในการดำรงอยู่ อันจะเป็นการสร้างความเข้าใจที่ก่อให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ด้วยพระปรีชาสามารถและพระบารมีที่่ทรงเป็นผู้วางรากฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรไทยอย่างยั่งยืนเพื่อให้เป็นแบบอย่างต่อไป มหาวิทยาลัยแม่โจ้ขอมุ่งเป็นส่วนหนึ่ง ในการสนองพระราชดำริฯ เพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมพืชและเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่นอย่างยั่งยืนสืบไป
ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการทำวิจัยและพัฒนาระบบฐานข้อมูลนก เพื่อหาจำนวนนกในเขตภาคเหนือตอนบนขึ้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้นกเหล่านั้นได้มีชีวิตที่ดีและสามารถดำรงอยู่ในธรรมชาติเพื่อแต่งเติมสีสันและสร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติอย่างยั่งยืนต่อไป โดยรวบรวมข้อมูลทางวิชาการจากหลากหลายแห่ง แสวงหาข้อมูลเชิงภาพถ่ายดิจิทัล การเพิ่มคุณภาพแก่ข้อมูล และการเผยแพร่สารสนเทศให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้บริการวิชาการบนเว็บไซต์หรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษา การค้นคว้า การวิจัย การพัฒนาเชิงนวัตกรรมทางการเกษตรได้ต่อไป
|
คำสำคัญ :
นก ; ปักษีวิทยา ; ฐานข้อมูล ; ระบบสืบค้นสารสนเทศ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
6972
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สมชาย อารยพิทยา
วันที่เขียน
14/7/2560 15:11:19
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 12:17:30
|
|
|
|