การทำรายการหัวเรื่องด้วยเครื่องมือบรรณารักษ์คือ ฐานข้อมูลหัวเรื่อง
วันที่เขียน 20/7/2563 15:02:10     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 13:25:56
เปิดอ่าน: 2322 ครั้ง

[0] บทนำ เนื้อหาใน KM blog ครั้งนี้จะขยายความจากเนื้อหาที่ได้นำเสนอแก่บุคลากรห้องสมุดสายงานวิเคราะห์และทำรายการ (cataloging) เพิ่มเติมจากที่ได้นำเสนอในที่ประชุม/การพูดคุย โดยในวงพูดคุยได้แนะนำถึงการสร้างบัญชีคำหัวเรื่องภาษาไทยพอสังเขป และเน้นการใช้งานฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ (Thaiccweb) ระดับพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่ [1] จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 (มีนาคม-มิถุนายน 2563) และนโยบายให้ทำงานจากบ้าน (work from home) นั้น งานห้องสมุดเกี่ยวกับการวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร โดยเฉพาะการวิเคราะห์และให้หัวเรื่องแก่บทความวารสาร ซึ่งบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ และบุคลากรห้องสมุดที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานลักษณะนี้จากบ้านได้ แต่อาจไม่สะดวกเพราะขาดเครื่องมือบรรณารักษ์คือคู่มือหัวเรื่องภาษาไทย ที่ใช้ในการตรวจสอบและกำหนดหัวเรื่องแก่เนื้อหาเอกสาร [2] เดิมคู่มือหัวเรื่องนี้จัดทำเป็นฉบับพิมพ์ 2 เล่ม (หนาประมาณเล่มละ 1,000 หน้า) และมีจำนวนตัวเล่มจำกัดเพียง 1-2 สำเนา (copies) จึงไม่เพียงพอกับบุคลากรทุกคน ประกอบกับคู่มือไม่อาจเพิ่มเติม/แก้ไขรายการคำหัวเรื่องใหม่ๆ ได้ จึงค่อนข้างล้าสมัย รวมทั้งเป็นเครื่องมือระบบมือที่การใช้งานค้นหาคำไม่สะดวกแบบระบบฐานข้อมูลหัวเรื่อง [3] คู่มือหัวเรื่องที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ใช้งานในปัจจุบัน จัดทำโดยผู้เขียน blog KM นี้ โดยใช้โปรแกรมจัดการศัพท์สัมพันธ์ (thesaurus management software) ชื่อ Thes_y.pas เป็นโปรแกรมภาษาปาสคาลบนโปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS for DOS ของ Unesco ซึ่งผู้เขียนได้พัฒนาโปรแกรมขึ้นจากต้นแบบโปรแกรมตัวอย่าง Thes.pas ของ Unesco โปรแกรมนี้ช่วยในการสร้างคำหัวเรื่องภาษาไทยใหม่ๆ สะดวก สามารถสร้างหัวเรื่องที่มีความสัมพันธ์กัน 2 ทาง (two-way relationship) ได้อัตโนมัติ และมีการตรวจสอบความสัมพันธ์แบบศัพท์สัมพันธ์ (ความสัมพันธ์ NT/BT/RT/UF-Use) อัตโนมัติ รวมทั้งมีระบบดรรชนีค้นหาคำที่หลากหลายและละเอียด ในการสร้างคำหัวเรื่องนั้นผู้เขียนจะเทียบเคียงศัพท์หัวเรื่องไทยจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาอังกฤษ Library of Congress Subject Headings (LCSH) ของห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน ที่เป็นฐานข้อมูลบน Classificationweb.net อีกทอดหนึ่ง อย่างไรก็ตามโปรแกรมนี้ทำงานบน DOS ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Windows 98 ซึ่งปัจจุบันไม่อาจติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ทำงานของบุคลากรแต่ละคนได้ จึงคงใช้งานเพียงผู้เขียน และการสร้างฐานข้อมูลหัวเรื่องเป็นหลัก ผู้เขียนประมาณการว่าหากจัดทำเป็นหนังสือคู่มือหัวเรื่อง (เล่มละ 1,000 หน้า) จะมีประมาณ 12 เล่ม [4] ผู้เขียนได้นำฐานข้อมูลให้บริการบนโปรแกรม CDS/ISIS for Windows ซึ่งโปรแกรมเมอร์ของห้องสมุดได้จัดทำเครื่องแม่ข่าย (server) ด้วยโปรแกรมลักษณะ virtual machine (ทำนอง VMware) ที่ทำงานระบบปฏิบัติการ Windows Server 200x เพื่อให้โปรแกรม CDS/ISIS for Windows ทำงานได้ แล้วบุคลากรห้องสมุดใช้งานโปรแกรมด้วยวิธีการ remote acess ใช้งาน แต่เนื่องจากเป็นการใช้ในเครือข่ายอินทราเน็ต (intranet) ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้เท่านั้น จึงไม่เอื้อต่อการใช้งานลักษณะการทำงานจากบ้านของแต่ละบุคคลได้ [5] ผู้เขียนแนะนำฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ (หรือ Thaiccweb) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลหัวเรื่องของคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา อันเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดประมาณ 30 แห่ง และห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นหนึ่งในสมาชิกเครือข่ายดังกล่าวด้วย จึงได้รับ user name (account) ในการใช้งาน รวมทั้งสามารถสร้างและเสนอหัวเรื่องใหม่ได้ ปัจจุบันค่อนข้างมีหัวเรื่องพื้นฐานเพียงพอแล้ว และผู้เขียนประมาณการว่าหากจัดทำเป็นหนังสือคู่มือหัวเรื่อง (เล่มละ 1,000 หน้า) จะมีประมาณ 8 เล่ม [6] สถานภาพการใช้งานฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ มีหลายระดับ เช่น Visitor (ดูได้เพียงหัวเรื่องหลัก), Member (ดูรายละเอียดคำ การโยงคำต่างๆ และเสนอหัวเรื่องใหม่ได้), Editor (ปัจจุบันมี 2 คนคือ ผู้เขียน และบรรณารักษ์สำคัญอีกคนหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), Administrator (ดูแลระบบทั้งหมด) ซึ่งในส่วนบุคลากรห้องสมุดสามารถใช้งานในระดับ Member ได้ โดย log in ด้วยบัญชีผู้ใช้ชื่อ mju1 และรหัสผ่านตามที่แจ้งในวง KM หลังจากนั้นสามารถใช้งานสืบค้นหัวเรื่องต่างๆ ได้สะดวก เนื่องจากฐานข้อมูลนี้เป็นระบบ web-based ใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงช่วยอำนวยความสะดวกให้บุคลากรห้องสมุดสามารถใช้ฐานข้อมูลนี้จากบ้านพักของตนในช่วงการทำงานจากบ้านได้ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าหากมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในอนาคตและมีมาตรการให้บุคลากรทำงานจากบ้าน ฐานข้อมูลนี้จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือบรรณารักษ์/นักเอกสารสนเทศ/ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ที่เกี่ยวข้องกับงานหัวเรื่องในภาระงานการวิเคราะห์และทำรายการเนื้อหาได้เป็นอย่างดี.

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
คู่มือ » คู่มือปฏิบัติงานการสร้างรายการทรัพยากรของวารสาร (item)
ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำการเปลี่ยนระบบห้องสมุดอัตโนมัติใหม่ คือระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (ALIST) ในส่วนของการลงทะเบียนที่เป็นการลงรับวารสารในส่วนของโมดู Serical C...
item  รายการทรัพยากรวารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:47:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 13:08:49   เปิดอ่าน 94  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » การสร้าง item เพื่อการยืมคืน
แนวทางการปฏิบัติงานข้างต้นในส่วนของงานด้านวารสาร สำนักหอสมุดได้ปฏิบัติตามนโยบายของผู้บริหาร ตั้งแต่การบันทึกรายการบัตรทะเบียนวารสาร การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบเดิม (horizon) จนถึงปัจจุบันใช้ระบ...
item  ข้อมูลตัวเล่มวารสาร  วารสารล่วงเวลา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:31:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 13:23:27   เปิดอ่าน 84  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » คู่มือการปฏิบัติงาน ทะเบียนวารสารในโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST
ปัจจุบัน สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST เวอร์ชั่น 4.0.2009 ซึ่งการดำเนินงานเกี่ยวกับวารสารจะใช้โปรแกรมย่อยของระบบควบคุมวารสาร (Serial Control Module) เพื่อควบคุมก...
ALIST  ทะเบียนวารสาร  ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:20:35  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 12:57:34   เปิดอ่าน 89  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » การตรวจสอบทะเบียนวารสาร
วารสารจัดเป็นทรัพยากรสารนิเทศประเภทหนึ่งที่นับได้ว่ามีความสำคัญและความจำเป็นสำหรับผู้ใช้บริการอย่างมาก วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูล ให้ความรู้ทางวิชาการที่หลากหลาย มีความทันสมัยและทันต่อเหตุการ...
ทะเบียนวารสาร  สถานะของวารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:58:39   เปิดอ่าน 92  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » บรรณานุกรมรายงานการวิจัย
รายงานการวิจัยหมายถึง การเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ผลที่เกิดขึ้นในขณะที่ดำเนินการวิจัย รวมถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับการวิจัยและน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานของผู้วิจัย และผู้เกี่ยวข้...
บรรณานุกรม  รายงานการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:03:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:03:49   เปิดอ่าน 85  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง