การพัฒนาฐานข้อมูลชนิดพันธุ์นกในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
วันที่เขียน 9/8/2561 22:56:25     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 17:26:15
เปิดอ่าน: 5127 ครั้ง

โครงการวิจัยนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและสร้างเนื้อหาข้อมูลชนิดพันธุ์นก ตลอดจนข้อมูลภาพดิจิทัล จากนั้นศึกษารูปแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่มีศักยภาพในการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลชนิดพันธุ์นก โดยได้รวบรวมข้อมูลและภาพถ่ายนกจากพื้นที่ต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน จำนวนทั้งสิ้น 217 ชนิด แบ่งเป็น 39 วงศ์ จากนั้นทำการพัฒนาระบบฐานข้อมูลนก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชื่อโดเมน www.birds.mju.ac.th ประกอบด้วยเมนูหลัก ๆ ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับนก ความเชี่ยวชาญของบุคลากร รายงานข้อมูลนก ข่าว/บทความเกี่ยวกับนก เครือข่าย/ชมรมอนุรักษ์นก งานวิจัยด้านนก เว็บข้อมูลนกที่เกี่ยวข้อง VDO ที่เกี่ยวข้องกับนก กระดานถาม-ตอบ คณะทำงานวิจัย และผู้ดูแลระบบ จากที่ได้เผยแพร่ข้อมูลลงบนเว็บไซต์แล้ว ได้ทำการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลนกในประเด็นต่าง ๆ รวม 138 คน พบว่า ความพึงพอใจในการใช้บริการเว็บไซต์ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85)

การพัฒนาฐานข้อมูลชนิดพันธุ์นกในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

Development of Bird Species Database in the Upper North of Thailand.

 

บทคัดย่อ 

         โครงการวิจัยนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและสร้างเนื้อหาข้อมูลชนิดพันธุ์นก ตลอดจนข้อมูลภาพดิจิทัล จากนั้นศึกษารูปแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่มีศักยภาพในการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลชนิดพันธุ์นก โดยได้รวบรวมข้อมูลและภาพถ่ายนกจากพื้นที่ต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน จำนวนทั้งสิ้น 217 ชนิด แบ่งเป็น 39 วงศ์ จากนั้นทำการพัฒนาระบบฐานข้อมูลนก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชื่อโดเมน www.birds.mju.ac.th ประกอบด้วยเมนูหลัก ๆ ได้แก่  ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับนก  ความเชี่ยวชาญของบุคลากร รายงานข้อมูลนก  ข่าว/บทความเกี่ยวกับนก  เครือข่าย/ชมรมอนุรักษ์นก  งานวิจัยด้านนก  เว็บข้อมูลนกที่เกี่ยวข้อง  VDO ที่เกี่ยวข้องกับนก  กระดานถาม-ตอบ  คณะทำงานวิจัย และผู้ดูแลระบบ จากที่ได้เผยแพร่ข้อมูลลงบนเว็บไซต์แล้ว ได้ทำการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลนกในประเด็นต่าง ๆ รวม 138 คน พบว่า ความพึงพอใจในการใช้บริการเว็บไซต์ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85)

 

คำนำ

         ตามที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ร่วมสนองพระราชดำริในกิจกรรมต่าง ๆ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 โดยการสำรวจและเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืชที่มีความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่มหาวิทยาลัย ได้ก่อให้เกิดองค์ความรู้ต่าง ๆ ต่อยอดเป็นฐานข้อมูลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์มากมาย   
         ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา คณะทำงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ของมหาวิทยาลัย จึงได้จัดพิมพ์หนังสือ “นกในมหาวิทยาลัยแม่โจ้” ขึ้น  ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย เป็นผู้รวบรวมฐานข้อมูลและจัดรูปแบบให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย เพื่อใช้เป็นคู่มือสำหรับการศึกษา การฝึกดูนกสำหรับนักศึกษา บุคลากรในมหาวิทยาลัย และใช้ในกิจกรรมการปลูกจิตสำนึก ด้านการอนุรักษ์ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ     โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ การกระตุ้นให้ทุกคนได้เห็นคุณค่าของ “นก” เหล่านั้น  รวมถึงสภาพธรรมชาติรอบตัว ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เป็นระบบนิเวศวิทยาของสิ่งมีชีวิตที่ต้องอาศัยเกื้อกูลกันในการดำรงอยู่  อันจะเป็นการสร้างความเข้าใจที่ก่อให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน  ด้วยพระปรีชาสามารถและพระบารมีที่ทรงเป็นผู้วางรากฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรไทยอย่างยั่งยืนเพื่อให้เป็นแบบอย่างต่อไป  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ขอมุ่งเป็นส่วนหนึ่ง   ในการสนองพระราชดำริฯ      เพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมพืชและเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่นอย่างยั่งยืนสืบไป (ประภากร ธาราฉาย, 2555)

        ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการทำวิจัยและพัฒนาระบบฐานข้อมูลนก เพื่อหาจำนวนนกในเขตภาคเหนือตอนบนขึ้น  เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้นกเหล่านั้นได้มีชีวิตที่ดีและสามารถดำรงอยู่ในธรรมชาติเพื่อแต่งเติมสีสันและสร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติอย่างยั่งยืนต่อไป  โดยรวบรวมข้อมูลทางวิชาการจากหลากหลายแห่ง  แสวงหาข้อมูลเชิงภาพถ่ายดิจิทัล  การเพิ่มคุณภาพแก่ข้อมูล    และการเผยแพร่สารสนเทศให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้บริการวิชาการบนเว็บไซต์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต   เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษา การค้นคว้า การวิจัย การพัฒนาเชิงนวัตกรรมทางการเกษตรได้ต่อไป

 

วิธีดำเนินการวิจัย 

          รูปแบบการวิจัย

              เป็นการวิจัยประยุกต์ทางวิทยาศาสตร์  โดยพัฒนาระบบฐานข้อมูล  ทำการทดสอบการใช้งานด้วยการทดสอบการใช้งานกับกลุ่มประชากรที่เกี่ยวข้อง เช่น นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 48 คน, บุคลากรภายนอกที่สนใจเกี่ยวกับนก จำนวน 36 คน, นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 21 คน, บุคลากรภายใน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 19 คน และผู้บริหารของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 14 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 138 คน (โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างสำเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ในการประเมิน จากจำนวนประชากรที่เหมาะสมจำนวน 210 คน) (Google Sites, ม.ป.ป.) แล้วประเมินผลระบบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น  ระบบสารสนเทศข้อมูลชนิดพันธุ์นกที่พัฒนาขึ้นมานี้ ใช้กระบวนการที่เรียกว่า วัฏจักรพัฒนาระบบงาน (System Development Life Cycle หรือ SDLC)  ส่วนเนื้อหาฐานข้อมูล  ใช้วิธีการที่ประยุกต์จากการควบคุมทางบรรณานุกรม (Bibliographic control) ทางบรรณารักษศาสตร์

 

ขั้นตอนและวิธีการในการวิจัย

            ดำเนินการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานตามขั้นตอนทางวิชาการของการวิเคราะห์ ออกแบบและการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์  (SDLC) (กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และคณะ, 2551) ดังนี้

                (1.1) การสำรวจข้อมูลเบื้องต้น  โดยการหาปัญหา   โอกาส  เป้าหมาย  และสำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายคือนักวิชาการด้านปักษีวิทยา  การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเรื่องชนิดพันธุ์นก เช่น การจำแนกชนิดพันธุ์ อนุกรมวิธาน ลักษณะทางสัณฐานวิทยา  ฯลฯ  การสำรวจข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น เอกสารอ้างอิงด้านชนิดพันธุ์นก การศึกษาระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลพันธุ์นกที่มีการจัดทำแล้ว  โดยมีขั้นตอนการสำรวจข้อมูลนกเบื้องต้น ดังนี้  

                           (1) การจำแนกชนิดของนกเหล่านี้ให้ถูกต้อง โดยการจำแนกนกแต่ละตัว จะทำให้ทราบว่า นกที่เห็น เป็นชนิดใด มีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ในการดูนก หมั่นสังเกตุดู ลักษณะของนก เปิดดูคู่มือ รวมทั้งบันทึกรายละเอียด และสอบถามจากผู้รู้ ซึ่งหลักการจำแนกชนิดของนก เริ่มจากการสังเกตุ ดังนี้

- ขนาดรูปร่าง ดูว่า นกที่เราพบ มีขนาด รูปร่าง เท่าใด อวัยวะต่างๆ มีลักษณะอย่างไร โดยเปรียบเทียบกับนกที่เรารู้จักดี

- สี และลวดลาย สังเกตสีขน และลวดลาย ที่เป็นลักษณะเด่น เช่น ที่หาง หน้า ลำตัว ดูว่ามีสีอ่อน หรือเข้ม มีแถบ หรือมีลาย

- พฤติกรรม สังเกตท่าทาง และพฤติกรรม เพราะนกแต่ละชนิด มีลักษณะท่าทาง และพฤติกรรมต่างกัน บางชนิดอยู่ใกล้ชุมชน แต่บางชนิดต้องอยู่ในป่าลึก ดังนั้น ถิ่นอาศัย จึงช่วยเราจำแนกชนิดของนกได้ด้วย

                            (2) อุปกรณ์ในการดูนก

กล้องส่องทางไกล เป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุด กล้องส่องทางไกลจะช่วยขยายภาพนกที่อยู่ในระยะไกลให้เห็นได้ชัดเจน

คู่มือดูนก เป็นหนังสือที่ให้รายละเอียดและภาพประกอบของนกแต่ละชนิด ไว้อย่างชัดเจนช่วยให้นักดูนกจำแนกชนิดนกที่พบได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

สมุดบันทึก การจดบันทึกช่วยให้นักดูนกเก็บรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับนกและธรรมชาติที่พบเห็น แล้วนำมาทบทวนในภายหลังได้

อุปกรณ์เสริม เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาจากความเหมาะสม และประโยชน์ใช้สอยในการดูนกแต่ละครั้งเช่น กล้องถ่ายรูป เครื่องบันทึกเสียง เข็มทิศ รวมทั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานที่และสภาพอากาศ (อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า, 2555)

              (1.2) การวิเคราะห์ระบบ  ทำการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากขั้นตอนข้างต้นมาเขียนเป็นฟังก์ชันไฮราคี (Function Hierarchy) ของระบบงานปัจจุบัน   โดยฟังก์ชันไฮราคีจะแสดงให้เห็นภาพรวมของภาระงานในปัจจุบันว่าได้มีการทำอะไร  จากนั้นนำมาเขียนเป็นไดอะแกรมการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagrams , DFD)  โดยที่  DFD จะทำให้มองเห็นภาพรวมในรูปแบบของการไหลของข้อมูลได้  และการเขียนพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary , DD)  ซึ่ง DD เป็นส่วนขยายความของแผนภาพ DFD   โดยที่ DD จะเน้นถึงการให้คำจำกัดความของข้อมูลและกลุ่มข้อมูล  จะทำให้ได้ระบบงานตามภาระงานที่สนใจ

               (1.3) การออกแบบระบบ  กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ของระบบจนครบสมบูรณ์   เช่น  การออกแบบการพิมพ์รายงาน  การกำหนดลักษณะของแบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูล  การออกแบบหน้าจอส่วนแสดงผลหรือรายการเลือก  การออกแบบส่วนเข้าข้อมูล  การออกแบบทางด้านแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล  การออกแบบทางด้านซอฟท์แวร์

               (1.4) การพัฒนาซอฟต์แวร์ และจัดทำเอกสาร ทำการเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม เช่น โปรแกรม Microsoft Visual Studio 2010 และระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2008 มาใช้ในการเขียนโปรแกรมให้ครบสมบูรณ์   ซึ่งในขั้นตอนนี้จะต้องทำเอกสารควบคู่ไปด้วย

               (1.5) การทดสอบและบำรุงรักษาระบบ  (1) การทดสอบข้อมูล  โดยนำข้อมูลชุดทดสอบเข้าระบบ  แล้วดูผลลัพธ์  โดยเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลอื่น  (2) การทดสอบการใช้งานโดยผู้ใช้

             (1.6) การดำเนินงานและประเมินผล   โดยใช้แบบสอบถามแก่กลุ่มเป้าหมาย เช่น นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, บุคลากรภายนอกที่สนใจเกี่ยวกับนก, นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, บุคลากรภายใน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้บริหารของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

ขอบเขตของโครงการวิจัย

       มีดังนี้ 

                (1) ศึกษาเฉพาะชนิดพันธุ์นก ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ดำเนินงานโดยภาครัฐและเอกชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน

                (2)  ทำการจัดเก็บข้อมูลชนิดพันธุ์นก จำนวนทั้งสิ้น 217 ชนิด

 

ผลการวิจัย

          โครงการวิจัยครั้งนี้ ได้รวบรวมข้อมูลและภาพถ่ายนกจากพื้นที่ต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนจำนวนทั้งสิ้น 217 ชนิด แบ่งเป็น 39 วงศ์ จากนั้นทำการพัฒนาระบบฐานข้อมูลนก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในครั้งนี้  แบ่งผลการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

  1. ผลการพัฒนาระบบ
 

          1.1 แผนภูมิบริบทของระบบ (Context diagram) เป็นแผนภาพที่แสดงถึงขอบเขตของสารสนเทศนั้น  โดยจะเป็นมุมมองระดับสูงว่ามีหน่วยงานใดเกี่ยวข้องบ้างติดต่อกับระบบ โดยมีการรับและส่งข้อมูลใดกับระบบ อธิบายได้ดังภาพต่อไปนี้

                   จาก Figure 1 แสดงให้เห็นถึงการทำงานของระบบ โดยแบ่งกลุ่มของผู้ใช้งานระบบ ออกเป็น 2 กลุ่ม  ได้แก่

           1. ผู้ดูแลระบบ หมายถึงผู้ดูแลและจัดการข้อมูลในระบบฐานข้อมูลทั้งหมดในระบบ

           2. ผู้ใช้ระบบ หมายถึง บุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์

 

           1.2 แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) เป็นเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อแสดงการไหลของข้อมูลและการประมวลผลต่าง ๆในระบบสัมพันธ์กับแหล่งเก็บข้อมูลที่ใช้ โดยแผนภาพนี้จะเป็นสื่อที่ช่วยในการวิเคราะห์เป็นไปได้โดยง่าย และมีความเข้าใจตรงกันระหว่าผู้วิเคราะห์ระบบเอง หรือระหว่างผู้วิเคราะห์ระบบกับโปรแกรมเมอร์ หรือระหว่างผู้วิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้ระบบ

        หลังจากได้พัฒนาระบบตามขั้นตอนที่ได้ออกแบบไว้   ผลของการพัฒนาระบบแสดงได้ ดังต่อไปนี้

                สามารถที่จะค้นหาข้อมูลนกและแสดงรายละเอียดของข้อมูลนก โดยจะแสดงข้อมูลตามชื่อนก ชื่ออังกฤษ ชื่อวิทยาศาสตร์ อันดับนก ชื่อวงศ์ และขนาด (Figure 1 – Figure 2) ซึ่งถ้าต้องการดูรายละเอียดของชนิดพันธุ์นกเพิ่มเติม  ก็สามารถคลิกที่ชื่อชนิดพันธุ์นกนั้น ๆ ก็จะแสดงรายละเอียดของนก เช่น ลักษณะลักษณะนก อุปนิสัย ถิ่นอาศัย อาหาร รัง และฤดูผสมพันธุ์ เป็นต้น

 

 

Figure 4 Searching the information of bird In the Upper North of Thailand on system.

 

2. ผลการทดสอบระบบ

           การทดสอบโปรแกรมในครั้งนี้ ผู้วิจัยแบ่งการทดสอบเป็น 2 ขั้นตอน ตามลำดับ ดังต่อไปนี้

               ขั้นตอนที่ 1  การทดสอบแบบแบล็กบอกซ์ (Blackbox Testing) 

                  เป็นการทดสอบเพื่อหาข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระบบ โดยไม่คำนึงถึงคำสั่งภายในโปรแกรม, ทดสอบ Function ต่าง ๆ ของโปรแกรมตาม Requirements ที่มี, ทดสอบโดยดูค่า Output จาก Input ที่ให้กับโปรแกรมต้องมีความสอดคล้องกัน   จากการทดสอบระบบฯ แบบ Blackbox Testing  พบว่าระบบที่ได้พัฒนาขึ้นนี้สามารถทำงานได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ คือ สามารถบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ได้  สามารถตรวจสอบความผิดพลาดเมื่อป้อนข้อมูลไม่ถูกต้อง  และสามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ( Suthida, ม.ป.ป. )

 

               ขั้นตอนที่ 2  การทดสอบโดยใช้แบบประเมิน ได้แก่ 

  • การประเมินผลความพึงพอใจในการใช้บริการเว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลนก มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ผลลัพธ์จากการทดสอบระบบจากการที่ได้ทดลองให้นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, บุคลากรภายนอกที่สนใจเกี่ยวกับนก, นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, บุคลากรภายใน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้บริหารของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทำการประเมิน  โดยแจกแบบสอบถามจำนวน 138 คน    ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม ผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางสถิติ และได้ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลตาม Table 1 และ Table 2

                      จากTable 1 ผลการศึกษา พบว่า ผู้ใช้บริการเป็น นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 34.8  รองลงมาคือบุคลากรภายนอก คิดเป็นร้อยละ 26.1 นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คิดเป็นร้อยละ 15.2  บุคลากรภายใน คิดเป็นร้อยละ 13.8 และผู้บริหารของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คิดเป็น ร้อยละ10.1 ตามลำดับ

 

จาก Table 2  ผลการศึกษา พบว่า ผู้ใช้บริการมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.85    โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • เข้าสู่ Website ได้รวดเร็ว มีค่าเฉลี่ย 3.97
  • ความเหมาะสมของการจัดหมวดหมู่ในการนำเสนอเนื้อหา มีค่าเฉลี่ย 3.92
  • การนำเสนอเนื้อหาเป็นระบบ เรียงตามลำดับ ขั้นตอน ได้รับความสะดวก และข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องและทันสมัย มีค่าเฉลี่ย 3.88
  • มีรายละเอียดที่ต้องการครบถ้วน มีค่าเฉลี่ย 3.84
  • มีคำอธิบายแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย มีค่าเฉลี่ย 3.82
  • หัวข้อมีความสะดุดตา หาง่าย และสวยงาม  มีค่าเฉลี่ย 3.67

วิจารณ์ผลการวิจัย

            ระบบฐานข้อมูลชนิดพันธุ์นกในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เป็นโปรแกรมระบบสารสนเทศที่ได้พัฒนาขึ้น เพื่อให้บริการข้อมูลนกและรายละเอียดข้อมูลนก ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย แก่ผู้ที่สนใจด้านนก บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอ และการจัดการข้อมูลต่างๆ ซึ่งสรุปผลการดำเนินการได้ ดังนี้

  1. สามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนกและรายละเอียดข้อมูลนก ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้สะดวก รวดเร็ว
  2. สามารถนำความรู้ที่ได้จากการวิจัยนี้ไปเป็นแนวทางในการศึกษา วิจัย และพัฒนาเพิ่มเติมในอนาคตได้
  3. ผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่มีความชำนาญทางด้านนก สามารถที่จะสืบค้นหาข้อมูลนกในเบื้องต้นได้
  4. ระบบสามารถจัดเก็บข้อมูลประเภทข้อความ, รูปภาพ และเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องได้
  5. ระบบสามารถค้นหาข้อมูลนกและรายละเอียดข้อมูลนก แยกตามประเภทหัวข้อต่างๆ อาทิเช่นค้นตามชื่อนก, ค้นหาตามชื่อวิทยาศาสตร์ หรือ ค้นหาตามถิ่นอาศัย เป็นต้น ได้
  6. ระบบสามารถจัดการข้อมูลนก (เพิ่ม/ลบ/แก้ไพล์) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัย  ระบบฐานข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้ มีจุดเด่นคือสามารถจัดการข้อมูลได้ปริมาณมาก ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีของบริษัท Microsoft ที่มีความมั่นคง ปลอดภัยและน่าเชื่อถือ, ข้อมูลที่จัดเก็บมีความเชื่อถือได้ (Reliability) เนื่องจากผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ (ด้านปักษีวิทยา) จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ประภากร ธาราฉาย, 2556) และมีความปลอดภัยในการเข้าใช้งาน (Security) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสในการลงข้อมูลในระบบเทคโนโลยีที่เรียกว่า "SSL" (Secure Sockets Layer) ที่เข้ารหัสข้อมูลที่ส่งระหว่างเว็บเบราว์เซอร์และเว็บเซิร์ฟเวอร์ (บรรพต โตสิตารัตน์, 2560)

 

ข้อเสนอแนะ

                 การพัฒนาฐานข้อมูลชนิดพันธุ์นกในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาระบบ ดังนี้

  • รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับนกในด้านต่าง ๆ นั้นเป็นเนื้อหาโดยสรุปและอยู่ในรูปแบบของไฟล์รูปภาพจึงทำให้ผู้ที่สนใจไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ดังนั้นจึงควรมีการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาให้เป็นรูปแบบเนื้อหาต่อไป
  • เมื่อมีรายงานการพบนกชนิดใหม่ก็จะทำการบันทึกข้อมูลพร้อมภาพถ่ายลงไปในระบบฐานข้อมูลเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ค้นคว้าข้อมูลมากที่สุด

 

สรุปผลการวิจัย

 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลชนิดพันธุ์นกในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย  สามารถสรุปผลการประเมินได้ ดังนี้

  • ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลชนิดพันธุ์นกในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย จากผู้ใช้บริการ จำนวน 138 คน ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้บริการมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

              จากข้อสรุปที่ได้จากการทดสอบแบบ Blackbox Testing และการทดสอบโดยใช้แบบประเมินจากกลุ่มตัวอย่าง  ทำให้สามารถสรุปได้ว่า  ระบบฐานข้อมูลชนิดพันธุ์นกในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย  ที่คณะวิจัยได้พัฒนาขึ้นมานี้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับมากและสามารถนำไปใช้งานจริงได้ต่อไป

กิตติกรรมประกาศ

 โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบฐานข้อมูลชนิดพันธุ์นกในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย (The Program Development of Database System of Bird species in the Upper North of Thailand) ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2558   คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณ คุณสุธี ศุภรัฐวิกร ที่เอื้อเฟื้อหนังสือและข้อมูลของนกเพื่อใช้ในการค้นคว้าจนทำให้เนื้อหาในระบบฐานข้อมูลนกสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอบพระคุณ คุณสมัคร ขอดแก้ว คุณอภิสิทธิ์ วิไลจิตร คุณวิศาล น้ำค้าง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรัลศักดิ์ ลอยมี ที่ร่วมเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูลและถ่ายภาพนก รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการถ่ายภาพนกและศึกษาข้อมูลพฤติกรรมของนกแต่ละชนิดในธรรมชาติ จนทำให้ได้ข้อมูลของนกที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

สุดท้ายนี้ คณะผู้วิจัยต้องกล่าวว่า งานวิจัยครั้งนี้จะสำเร็จไม่ได้ถ้าขาดความช่วยเหลือจากสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเจ้าหน้าที่ของสำนักวิจัยฯ ทุกท่านที่ได้อำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงานและดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

 

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง » Assignment in Microsoft Teams
การมอบหมายงาน (Assignment ) สำหรับนักศึกษาในห้องเรียน ระบบ Microsoft Teams สร้างความสะดวกในการมอบหมายงานให้กับนักศึกษา การส่งงาน และสามารถให้คะแนนนักศึกษาแต่ละคนในห้องเรียน สำหรับผู้ที่อยู่ในสถาบัน...
Assignment  Microsoft Teams  การมอบหมายงาน  การให้คะแนน     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สุภาพรรณ อนุตรกุล  วันที่เขียน 26/3/2567 18:01:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 3:42:24   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา » Google Sites สร้างเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย
Google Sites คือโปรแกรมหนึ่งของ บริษััท Google ที่เปิดให้ สมาชิกของ Google สามารถ สร้างเว็บไซต์ของตนเองได้ฟรี โดยการสร้างเว็บไซต์ ด้วย Google Sites นั้น ทำได้ง่าย เหมือนกับการแก้ไข เอกสารธรรมดา ๆ ช...
Google Sites  เว็บไซต์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สุภาพรรณ อนุตรกุล  วันที่เขียน 11/3/2567 17:19:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 14:53:39   เปิดอ่าน 200  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา CLOs ผ่าน มคอ.3
หัวข้อนี้เน้น การออกแบบหลักสูตรให้ตอบสนองต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร สะท้อนถึงความต้องการ ของผู้ที่เกี่ยวข้องครบทุกภาคส่วน และผลการเรียนรู้นั้นต้องครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะเฉพาะทางและทักษ...
CLO  ELO  PLO     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 18/11/2566 23:45:59  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 17:46:44   เปิดอ่าน 331  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » แอปพลิเคชันสำหรับช่วยในการจัดเรียนการสอน
การเรียนผ่านเครื่องมือช่วยสอนโดยใช้แอปพลิเคชันมีบทบาทในการส่งเสริมและช่วยเหลืออาจารย์และนักศึกษาเป็นอย่างมาก บทความนี้ได้รวบรวม 8 เครื่องมือช่วยสอนสำหรับอาจารย์ในการช่วยจัดการเรียนการสอนให้เกิดความ...
Canva  Kahoot  Nearpod  Plicker  Quizizz  Storyboard  Visme  Voxer     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 18/11/2566 23:01:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 16:49:06   เปิดอ่าน 229  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง