เทคนิคการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อการศึกษาวิจัยอย่างมืออาชีพ
วันที่เขียน 18/4/2560 16:28:50     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 10/12/2566 21:14:05
เปิดอ่าน: 3270 ครั้ง

ในปัจจุบันงานวิจัยไม่ได้สืบค้นข้อมูลเฉพาะในสาขาของตัวเองเท่านั้น ยังมีการค้นหาข้อมูลนอกสาขามากถึง 44% และมีความร่วมมือกับสาขาอื่น และนอกประเทศ ถึง 47% โดยเฉลี่ยนักวิชาการมีการอ่านวารสาร 6 เรื่องต่อสัปดาห์ ซึ่งได้จากการสืบค้นจากฐานข้อมูลต่างๆ เช่น ScienceDirect หรือ Mendeley หรือ EBSCO เป็นต้น สามารถเข้าถึงการใช้งานได้ 3,800 Journals ครอบคลุม 24 สาขา

          การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล EBSCO จะสืบค้นงานฐานข้อมูลผ่านหน้า website หอสมุด ซึ่งในฐานข้อมูล EBSCO จะมีเครื่องมือเด่นๆ คือ Research starter, Full text finder และ Plum print  โดยข้อมูลที่ได้นี้นักวิจัยสามรถนำไปอ้างอิงได้ และในการหา Full text จะมีตัวเลือกก่อนการสืบค้น(Search option) กรองผลการสืบค้น(Refine result)  เครื่องมือจัดการการสืบค้น(Tools) แจ้งเตือนเมื่อมีเนื้อหาใหม่ (Keyword alert) แจ้งเตือนเมื่อมีวารสารใหม่(Journal alert) ระบุสาขาที่ต้องการสืบค้น(Advance search) ทำให่การสืบค้นง่าย สะดวกและแคบลงมา และยังมี Plum print  matrices เป็นตัวบ่งชี้ว่าวารสารนั้นมีการสืบค้นมากหรือน้อยอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถสืบค้นหา E-books และดาวน์โหลด(Download) จัดเก็บไว้ได้อีกด้วย

            การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ScienceDirect และ Mendeley สามารถสืบค้นงานฐานข้อมูลผ่านหน้า website หอสมุด เช่นเดียวกัน ซึ่งการวิจัยในปัจจุบันไม่ได้สืบค้นข้อมูลเฉพาะในสาขาของตัวเองเท่านั้น ยังมีการค้นหาข้อมูลนอกสาขามากถึง 44% และมีความร่วมมือกับสาขาอื่น และนอกประเทศ ถึง 47% โดยเฉลี่ยนักวิชาการมีการอ่านวารสาร 6 เรื่องต่อสัปดาห์ ซึ่งได้จากการสืบค้นจากฐานข้อมูลต่างๆ เช่น ScienceDirect หรือ Mendeley สามารถเข้าถึงการใช้งานได้ 3,800 Journals ครอบคลุม 24 สาขา ในการสืบค้นผ่านฐานข้อมูล ScienceDirect สามารถทำได้ง่าย โดยใส่ keyword  ที่ต้องการสืบค้น หรือ ชื่อผู้แต่ง ชื่อวารสาร หนังสือ และใน Full text ที่สืบค้นได้จะมี Highlights คล้ายส่วนสำคัญในการอ่านสรุปสั้นๆเอาไว้ด้วย ส่วนการสืบค้นผ่านฐานข้อมูล Mendeley จะมี Full text นับล้านฉบับ มีทั้งผ่านการกรอง และยังไม่ได้กรอง ที่สามารถอ้างอิงและอ้างอิงไม่ได้ และมีระบบการทำงานคล้าย Facebook ทำให้สามารถโพส Status, Time lines หรือ Follow ติดตามผลงานใครก็ได้ โดยสามารถกรองคุณภาพงานวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยดูจากค่า n-index ของบุคคลที่ติดตามผลงานได้  นอกจากนี้ยังสามารถ install Mendeley Desktop Plugin MS word เพื่อง่ายต่อการเขียนบรรณานุกรรม ในงานเขียนต่างๆ ซึ่งสามารถดึงเอา Full text จากฐานข้อมูลเข้าสู่ MS word โดยตรง และมีรูปแบบการเขียนบรรณานุกรรมที่หลากหลายสามารถเลือกได้ตามที่แต่ละวารสารกำหนด  และในฐานข้อมูล Mendeley ยังสามารถหากลุ่มงานวิจัย หรือหาแหล่งทุน หรือหางาน ในสาขาที่สนใจได้ นับเป็นฐานข้อมูลที่เปิดกว้าง และทำให้มีผู้ที่สนใจเข้าไปใช้งานจำนวนมาก ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันขึ้นอย่างไร้พรมแดน แต่ข้อเสียคือ ข้อมูลมีจำนวนมาก และข้อมูลบางอย่างยังไม่สามารถนำมาอ้างอิงได้

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=681
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนา หรือประชุมวิชาการ » การศึกษาที่เน้นผลลัพท์และการประเมินการเรียนรู้ระดับรายวิชา (CLOs)
การศึกษาที่เน้นผลลัพท์และการประเมินการเรียนรู้ระดับรายวิชา (CLOs) ผลลัพท์การเรียนรู้ตามคุณวุฒิแต่ละระดับ จะต้องสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของหลักสูตร สถาบัน วิชาชีพ และบริบทของประเทศ/โลก ซึ่งประกอบด้วย...
PLO,CLOs     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน เจนจิรา ทิพย์ชะ  วันที่เขียน 4/12/2566 14:01:08  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 10/12/2566 19:09:32   เปิดอ่าน 18  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การประชุมวิชาการ » การอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ รุ่นที่ 11
การเข้าร่วม “การอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ รุ่นที่ 11” เมื่อวันที่ ๒๒-๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมอินทนิล สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิชามญชุ์ ลิ่มเจริญชาติ  วันที่เขียน 30/9/2566 13:49:26  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 9/12/2566 22:05:45   เปิดอ่าน 127  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
สรุปเนื้อหาจากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ » สรุปเนื้อหาประเด็นที่สนใจจากการเข้าร่วมโครงการอบรม "การเขียนบทความวิชาการอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์และเลือกวารสารวิชาการที่เหมาะสมกับผลงาน"
หนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญในการเขียนบทความคือคำนำ ที่กล่าวถึงประเด็นวิจัยหรือบทความ ความสำคัญของหัวข้อหรือชื่อเรื่อง การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องรวมถึงมีบทความที่กล่าวถึงเรื่องนี้หรือไม่ และวัตถุปร...
การเขียนบทความ  คำนำ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน เยาวลักษณ์ คงธรรม  วันที่เขียน 29/9/2566 9:37:30  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/12/2566 1:58:27   เปิดอ่าน 113  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง