|
อ. มธุรส ชัยหาญ
»
การเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานภาคบรรยายในการประชุมวิชาการเครือข่ายวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ ครั้งที่ 12 (Thai Forest Ecological Research Network Conference, T-FERN # 12) หัวข้อเรื่อง “ธรรมชาติ ป่าไม้ และที่ดิน: การปรับตัวและการบรรเทาต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” เมื่อวันที่ 9-10 กุมภาพันธุ์ 2566
|
คุณสมบัติในการต้านออกซิเดชันและการยับยั้งแบคทีเรียสาเหตุฟันผุของสารสกัดใบเมี่ยงธรรมชาติ
Characteristics of Antioxidation and Antibacterial of Dental Caries by Natural Miang Extracts
มธุรส ชัยหาญ1 วชิระ ชุ่มมงคล2 เพิ่มศักดิ์ สุภาพรเหมินทร์3 ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ4 และธีระพล แสนพันธุ์5
1 หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ 50290
2 หลักสูตรเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ 50290
3 คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ 50290
4 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการป่าไม้) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ แพร่ 54140
5 สาขาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ 50290
*Corresponding author: E-mail: mathurot@mju.ac.th
บทคัดย่อ
แบคทีเรีย Streptococcus mutans เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคฟันผุซึ่งพบได้บ่อยในประเทศกำลังพัฒนา งานวิจัยนี้จึงมุ่นเน้นหาสารที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียสาเหตุฟันผุโดยใช้สารสกัดใบเมี่ยงในตัวทำละลายเอทานอลมาศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans สายพันธุ์ DMST18777 และ Lactobacillus spp. สารสกัดหยาบใบเมี่ยงจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงโซนใสการยับยั้งได้ดีที่สุด เท่ากับ 14.50 ± 0.70 และ 21.30 ± 0.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ สารสกัดหยาบใบเมี่ยงจังหวัดพะเยา แสดงโซนใสการยับยั้งเท่ากับ 12.30 ± 0.50 และ 18.00 ± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ การศึกษาเบื้องต้นโดยวิธี disc diffusion พบว่า S. mutans และ Lactobacillus spp.ไวต่อสารสกัดเอทานอล ผลการวิเคราะห์ระดับฟีนอลิกรวมและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ พบว่าใบเมี่ยงมีค่าเฉลี่ยปริมาณฟีนอลิกรวม เท่ากับ 17.54 มิลลิกรัม แกลลิค/กรัม ตัวอย่างและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบเมี่ยง มีค่าเฉลี่ย 14.03 ไมโครโมล
คำสำคัญ ใบเมี่ยง, สารฟีนอลิก, ฟลาโวนอยด์, ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย, ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน
Abstract
Streptococcus mutans is one of important causes for tooth decay. The ethnomedicine uses Miang leaves for decrease in stomachache, increase in appetite, and decrease toothache. Streptococcus mutans is the main pathogen responsible for the development of dental caries in humans, especially in developing countries. There is a global need for alternative preventions and products for dental caries that are safe, economical and effective. Camellia sinensis var. assamica extracted showed strong antibacterial activity. The aims of this research were isolation and antibacterial activity evaluation of chemical compounds from dry Miang leaves. The crude ethanolic extract was partitioned with 95 % ethanol. The chemical substances were evaluated in antibacterial activities for S. mutans DMST 18777 and Lactobacillus sp. It was found that crude extracts from Maehongson province gave the higher inhibition activity to S. mutans DMST 18777 and Lactobacillus spp. with inhibition zone of 14.50 ± 0.70 and 21.30 ± 0.60 mm, respectively followed by the crude extracts from Phayao province. Crude extracts from Phayao province showed activity against S. mutans DMST 18777 and Lactobacillus spp. with inhibition zone of 12.30 ± 0.50 and 18.00 ± 0.50 mm, respectively. Preliminary screening for antibacterial activity of the extracts was performed by paper disc diffusion method. The diameter of inhibition zones indicated that 80 % of S. mutans were susceptible to ethanol extracts. The results from the study of antioxidant shows that Miang leave has an average phenolic content of 17.54 mg GAE/g sample and the extracts have highest antioxidant average of 14.03 micromol. These results suggest that the extract of Camellia sinensis var. assamica might be useful for the control of bacteria causing dental caries and subsequent dental caries development.
Keywords : Miang, Phenolic, Flavonoid, Antibacterial, Antioxidation
|
คำสำคัญ :
ใบเมี่ยง, สารประกอบฟีนอลิก, ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย, กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
658
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
มธุรส ชัยหาญ
วันที่เขียน
18/4/2566 11:18:39
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 20:20:15
|
|
|
|
|
การบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
»
กิจกรรมนักศึกษา กับการใช้เทคโนโลยี สู่วิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21
|
โลกในศตวรรษที่ 21 กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือกิจกรรมนักศึกษานั้น ถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะและประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนนั้นทำให้นักศึกษามีโอกาสได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ เป็นเครื่องมือฝึกให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม เป็นหมู่คณะ และรู้จักคิด รู้จักวางแผนอย่างเป็นกระบวนการ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ จะเป็นตัวกำหนดการทำงานขององค์กรอย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีระยะเวลาที่แน่นอน สามารถวางระบบการทำงานที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ และปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน ฯลฯ
|
คำสำคัญ :
กิจกรรมนักศึกษา วิชาชีวิต การเรียนรู้นอกห้องเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานบริการการศึกษา
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
9853
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ณัฐภัทร ดาวสุข
วันที่เขียน
9/9/2562 9:57:41
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 14:47:42
|
|
|
|
|
|