ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 35
ชื่อสมาชิก : ณภาภัช เลี้ยงประยูร
เพศ : หญิง
อีเมล์ : chidchanok@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 12/1/2554 0:00:00
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 12/1/2554 15:21:44


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
เหตุแห่ง “เวลา” ข้อจำกัด หรือ ข้ออ้าง ต่อการอุทิศตนเพื่อกิจกรรมส่วนรวมขององค์กร ภาระหน้าที่ของแต่ละปัจเจกบุคคล ย่อมมีเรื่องของ “เวลา” เข้ามาเป็นทั้งข้อจำกัด และข้ออ้าง ในการแบ่งรับแบ่งสู้ภาระหน้าที่งาน ปัญหา หรือเหตุปัจจัยอื่นๆอยู่เสมอ โดยเฉพาะเหตุแห่งการอุทิศตนให้แก่งานส่วนรวมต่างๆ ภายในองค์กร มักมีคำว่า “ไม่ว่าง” “ไม่มีเวลา” เข้ามาเป็นตัวบดบังการอุทิศตนเหล่านั้นเสมอ กล่าวง่ายๆคือ “เวลา” คือเหตุสำคัญต่อการอุทิศตนเพื่อนส่วนรวมนั่นเอง ซึ่งเราไม่สามารถปฏิเสธข้อจำกัด และข้ออ้าง แห่ง “เวลา” ได้ ยิ่งบุคคลที่มีภาระส่วนตัวมากมายก็มักจะปฏิบัติงานให้ตรงตามเวลาเข้างานและเวลาออกงานเท่านั้น โดยกิจกรรมนอกเหนืออื่นๆที่องค์กรจัดขึ้น บุคลเหล่านี้มักมีขอจำกัด และข้ออ้าง เรื่อง”เวลา” เสมอ หากด้วยเหตุนี้ การปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างตามจรรยาบรรณวิชาชีพในการให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรอย่างสม่ำเสมอจึงมักสร้างปัญหาหลักภายในองค์กรอยู่ร่ำไป ทั้งนี้ การปลูกฝังทางด้านจิตใจของแต่ละบุคคลจึงสามารถนำมาเป็นข้อตัดสิน เหตุแห่ง “เวลา” ได้ดีที่สุด  ซึ่งบางคนสามารถนิ่งดูดายกิจกรรมส่วนรวมขององค์กรได้อย่างหน้าตาเฉย บางกลุ่มอาจรู้สึกสำนึกอยู่บ้างในงานส่วนรวมแต่กลับเห็นว่าความสามารถของตนอาจไม่เหมาะสมต่องานจึงทำได้พียงถามไถ่ถึงกิจกรรมส่วนรวมเท่านั้น ผิดกับบางคนที่สามารถทุ่มเทปฏิบัติงานส่วนรวมได้เสมอโดยไม่คิดถึงตนเองเลยแม้แต่น้อย เพราะหลักอย่างหนึ่งที่บุคคลเหล่านี่ระลึกถึงเสมามา คือ อาสาสมัคร หรือจิตอาสา โดยได้มีคำนิยามจากหลายสำนักกล่าวถึงเรื่องอาสาสมัคร หรือจิตอาสา ไว้อย่างมากมาย เช่น Susan J. Ellis และ Katerines H. Noyes (อ้างในศุภรัตน์ รัตนมุขย์,2544) ให้ความหมายว่า เป็นการเลือกกระทำสิ่งต่างๆ ที่เห็นว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำและเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงินทอง  และการกระทำนี้ไม่ใช่ภาระงานที่ต้องทำตามหน้าที่  จากความหมายนี้จะเห็นองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 4 ประการ คือ 1.การเลือก (Choose) เป็นการเน้นที่เจตจำนงที่อิสระที่จะกระทำหรือไม่กระทำในสิ่งใดๆ 2.ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility )หมายถึงการกระทำที่มุ่งมั่นเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นซึ่งอาจเป็นได้ทั้งบุคคล กลุ่มคน หรือสังคมส่วนรวม 3.โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงินทอง ( Without Monetary Profit) หมายถึงไม่ได้หวังผลรายได้ทางเศรษฐกิจ แต่อาจรับเป็นรางวัลหรือค่าใช้จ่ายทดแทนที่ตนเองได้ใช้จ่ายไปแต่ไม่อาจเทียบได้กับค่าของสิ่งที่ได้กระทำ 4.ไม่ใช่ภาระงานที่ต้องทำตามหน้าที่ ( Beyond Basic Obligations) หมายถึงสิ่งที่ทำนั้นอยู่นอกเหนือความจำเป็นหรือสิ่งที่ถูกคาดหวังว่าจะต้องทำตามภาระหน้าที่ โดยสรุปแล้ว ข้อจำกัด และข้ออ้าง แห่งเวลา ของแต่ละบุคคล จะสามารถปรับเปลี่ยนได้ หากเพียงแต่ท่านพึ่งระลึกถึงคำว่า อาสาสมัคร หรือจิตอาสา ไว้ในจิตใจของทุกท่านตลอดเวลา ภาระงานส่วนรวมขององค์กรจะไม่ตกเป็นภาระงานของใครคนใดคนหนึ่งอีกต่อไป เพียงเท่านี้องค์กรก็จะน่าอยู่ขึ้น ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้น ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งรู้สึกถูกทอดทิ้งอยู่ตลอดเวลา จะกลายเป็นองค์กรแห่งความช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้อย่างสนิทใจนั่นเอง -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เมษายน 2558; ณภาภัช เลี้ยงประยูร (นักวิชาการศึกษา) สังกัดสำนักงานคณบดี คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- ยังไม่มีรายการคำถาม
“สถานศึกษาไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย” ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในมหาวิทยาลัยที่ไม่เคยถูกแก้ไขอย่างแท้จริง “สถานศึกษาไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย” เป็นหนึ่งในถ้อยคำทีปรากฏให้เห็นบ่อยมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งบนพื้นสื่อออนไลน์ ประเด็นความรุนแรงทางเพศหลากหลายรูปแบบเกิดขึ้นในสถานศึกษาที่สมควรจะเป็นสถานที่ปลอดภัยที่ถูกนำมาตีแผ่ในช่วงหลายเดือนมานี้ไม่เพียงสะท้อนให้เห็นความฉาบฉวยของประโยค “สถานศึกษาเป็นพื้นที่ปลอดภัย” ที่สถาบันและภาครัฐที่เกี่ยวข้องร่วมรณรงค์มานานหลายปี แต่สะท้อนให้เห็นการขาดความเข้าใจในประเด็นความเท่าเทียมทางเพศและความรุนแรงทางเพศ การล่วงละเมิดทางเพศและการคุกคามทางเพศเป็นเป็นปัญหาใหญ่ที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมาช้านาน แต่การล่วงละเมิดทางเพศในสถานศึกษากลับถูกปูพรมทับด้วยข้ออ้างเพื่อปกป้อง “ภาพลักษณ์ของสถาบัน” และในขณะเดียวกัน ผู้ประสบความรุนแรงทางเพศก็ไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการคุ้มครองและเยียวยาได้ เนื่องจากสถานศึกษาไม่มีมาตรการในการจัดการผู้กระทำที่เหมาะสม ซ้ำร้ายทัศนคติของบุคลากร เจ้าหน้าที่และผู้คนในสังคมสถานศึกษาที่ส่งเสริมวัฒนธรรมข่มขืน (rape culture) อันได้แก่สภาพสังคมที่เอื้อให้เกิดความรุนแรงทางเพศและกล่าวโทษผู้ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ เช่น กล่าวโทษการต่งกายของผู้ถูกกระทำ ปล่อยให้ผู้คุกคามทางเพศลอยนวลพ้นผิด ฯลฯ ยังสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยที่กระทำซ้ำความรุนแรงกับผู้ถูกกระทำซึ่งทำให้ผู้ถูกกระทำลำบากใจที่จะเปิดเผยเรื่องราว เข้ารับการเยียวยา หรือเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ปัจจัยสำคัญที่แยกความรุนแรงทางเพศออกจากกิจกรรมทางเพศคือ “ความยินยอม (Consent)” อันเป็นข้อตกลงระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมทางเพศทุกฝ่ายเกี่ยวกับรายละเอียดและขอบเขตของกิจกรรมทางเพศที่แต่ละฝ่ายสมัครใจจะทำด้วยความมั่นใจและปราศจากแรงกดดัน กล่าวคือหากปราศจากความยินยอมพร้อมใจของผู้เข้าร่วมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแล้ว กิจกรรมทางเพศที่เกิดขึ้นถือเป็นความรุนแรงทางเพศทันที ความยินยอมพร้อมใจทางเพศ (Sexual Consent) ต้องถูกแสดงออกมาอย่างชัดเจนและเป็นอิสระ (Freely Given) ความเงียบหรือความลังเลไม่สามารถถือว่าเป็นความยินยอมได้ ความยินยอมต้องเกิดจากความสมัครใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้ออย่างแท้จริงโดยปราศจากอิทธิพลของสารหรือสภาวะทางอารมณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการตัดสินใจ การข่มขู่ใช้กำลัง หรือการบังคับข่มขู่หรือตะล่อม (Coercion) ในทุกรูปแบบ ผู้มีส่วนร่วมต้องได้รับข้อมูลรายละเอียดของกิจกรรมที่เกิดขึ้นและให้ความยินยอมในทุกขั้นตอน (Informed) โดยความยินยอมนั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะถูกถอนเมื่อใดก็ได้ (Reversible) และการยินยอมครั้งหนึ่ง ไม่ได้หมายถึงการยินยอมในครั้งต่อ ๆไปด้วย (Specific) นอกจากนี้ ความยินยอมที่สมบูรณ์ต้องคำนึงถึงความสามารถในการตัดสินใจให้การยินยอมของบุคคลด้วย ผู้เยาว์หรือผู้ที่ไม่สามารถตัดสินใจ รวมถึงรับรู้รายละเอียดและผลกระทบของกิจกรรมทางเพศได้เองโดยสมบูรณ์ เช่น คนที่เมาสุรา คนหมดสติ ผู้ป่วยโรคจิตเภท ฯลฯ ถือว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่สามารถให้ความยินยอมได้ ความรุนแรงทางเพศไม่ได้จำกัดอยู่แค่การกระทำทางกายภาพเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงการกระทำทางเพศในทุกรูปแบบที่ปราศจากความยินยอม ไม่ว่าจะเป็นทางวาจาหรือทางออนไลน์ ตัวอย่างเช่น การแซว (Catcalling), การบังคับให้ร้องเพลงที่มีเนื้อหาทางเพศขณะรับน้อง, การแอบถ่าย, การโพสรูปพร้อมข้อความคุกคามทางเพศ ก็ถือเป็นความรุนแรงทางเพศ นอกจากนี้ในความสัมพันธ์คู่รักหรือคู่สมรส ก็สามารถเกิดความรุนแรงทางเพศได้เช่นกัน ความรุนแรงต่อคนรัก (Intimate partner violence) และความรุนแรงในครอบครัว (Domestic violence) ถือเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญในสังคมเนื่องจากมักถูกผลักให้เป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องระหว่างบุคคล ความสัมพันธ์ที่มีร่วมกันไม่ได้ลดทอนความรุนแรงที่เกิดต่ออีกฝ่ายหนึ่งแต่อย่างใด และผู้ถูกกระทำมีสิทธิทุกประการในการดำเนินการตามกฎหมายไม่จำเป็นต้องยอมความหรือไกล่เกลี่ยหากไม่ต้องการ ความรุนแรงทางเพศสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ การล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual abuse) คือกิจกรรมทางเพศที่ปราศจากความยินยอมพร้อมใจที่ผู้กระทำกระทำแก่บุคคลอื่นโดยที่บุคคลนั้นไม่ต้องการ ถูกบังคับ หรือกระทำขณะที่บุคคลนั้นไม่สามารถให้ความยินยอมได้ เช่น การข่มขืน (Rape) การเผยแพร่คลิปอนาจารโดยปราศจากความยินยอม การแสวงผลประโยชน์ทางเพศ (Sexual exploitation) คือการกดดันข่มขู่ให้ผู้ถูกกระทำตอบสนองความต้องการทางเพศ โดยใช้ความปลอดภัยหรือความมั่นคงในชีวิต เช่น หน้าที่ สวัสดิการ เป็นเครื่องมือต่อรอง อย่างไรก็ดี การแสวงประโยชฯทางเพศอาจนับได้ว่าเป็นการล่วงละเมิดทางเพศรูปแบบหนึ่งเช่นกัน การคุกคามทางเพศ (Sexual harassment) คือการเข้าหาซึ่งมีนัยยะทางเพศอันไม่พึงประสงค์ที่ทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกไม่สบายใจ เช่น การเล่นมุกสองแง่สองง่าม การผิวปากแซว การคอมเมนต์ลวนลามทางออนไลน์ การสตอล์ก (stalking) โดยการตัดสินว่าพฤติกรรมใดเป็นการคุกคามทางเพศหรือไม่นั้นต้องวัดจากความรู้สึกของผู้ได้รับผลกระทบ ไม่ใช่เจตนาของผู้กระทำ อย่างไรก็ตาม แม้กฎหมายของประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกรณีความผิดทางเพศ แต่คงไม่มีการบัญญัตินิยามการล่วงละเมิดทางเพศและการคุกคามทางเพศที่ครอบคลุมชัดเจน ยังมีช่องว่างในมาตรการคุ้มครองผู้ถูกกระทำและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาอยู่มาก วัฒนธรรมอำนาจกดขี่แบบชายเป็นใหญ่ (Patriarchy) ส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมการโทษเหยื่อ (Victim blaming culture) ที่ฝังรากลึกในสังคมไทยส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพจิตใจของผู้ถูกกระทำ ทำให้ผู้ถูกกระทำจำนวนมากจึงรู้สึกไม่ปลอดภัย โทษตัวเอง และไม่กล้าที่จะออกมาบอกเล่าเรื่องราวของตนเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ถูกกระทำติดอยู่ในความสัมพันธ์ที่ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ (Abusive relationship) มาเป็นเวลานานเนื่องจากถูกผู้ใช้ความรุนแรงใช้อำนาจเหนือครอบงำ หรือมีลักษณะไม่ตรงกับ “ผู้ถูกกระทำที่สมบูรณ์แบบ(Perfect Victim
- ยังไม่มีรายการคำถาม
ความหมายของคำว่า"กิจการนักศึกษา" และ "กิจกรรม"นักศึกษา