เอกสารเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการอบรม “Skill Mapping รุ่นที่ 3”
วันที่เขียน 22/9/2565 12:15:23     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/12/2567 23:52:39
เปิดอ่าน: 1062 ครั้ง

ในการพัฒนาทักษะ (skill) ของนักศึกษาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน สถานประกอบการ หรือผู้ใช้บัณฑิต จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ถึงสิ่งที่สถานประกอบการ/ตลาดแรงงาน มีความต้องการ แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาพัฒนารายวิชาเรียน ในหลักสูตร เพื่อให้ตอบโจทย์การผลิตบัณฑิต ให้มีทักษะ (Skill) เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

ในการฝึกอบรม และเรียนรู้ เรื่อง “Skill Mapping รุ่นที่ ๓” โดยวิทยากรบรรยาย ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ คำฝอย

จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ณ วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๕ ผ่านระบบ Zoom Meeting เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๑.๐๐ น. โดยสรุปเนื้อหาที่ได้จากการอบรม ดังนี้

๑. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ

       จากโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมายอยู่ตลอดเวลา แต่การศึกษานั้นกลับสวนทาง คือ มีการปรับเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน

โดยมนุษย์เราถ้าไม่มีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกสมัยใหม่ จะส่งผลให้เราไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งการศึกษาในบ้านเราก็เช่นกัน ต้องมีการปรับเปลี่ยนตัวเอง

เพื่อให้ทันต่อความต้องการของตลาดแรงงาน /ผู้ใช้บัณฑิต เป็นต้น

       ซึ่งในการเรียนรู้ในสมัยใหม่นี้ ย่อมแตกต่างจากสมัยก่อน โดยที่ต้องสร้างเนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมต่อผู้เรียน เนื่องจากในยุคปัจจุบันมีข้อมูล

สารสนเทศต่าง ๆ มากมาย จึงต้องมีการนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยตั้งเป้าทีความต้องการของตลาดแรงงาน/ผู้ใช้บัณฑิตเป็นหลัก

เพราะสถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่สร้าง/ผลิตบัณฑิตเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน ดังนั้นการที่ตลาดแรงงานจะยอมรับสาถบันอุดมศึกษาได้นั้น ต้องดูที่ผลผลิตที่ตัวบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันนั้น ๆ

ว่ามีคุณภาพ และสามารถตอบโจทย์ตลาดแรงงานได้มาก น้อยเพียงใด และโจทย์ที่สำคัญที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องนำมาพิจารณา ก็คือ การสร้างบัณฑิตให้มีทักษะ (Skill)

ในด้านต่าง ๆ ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill เพื่อให้บัณฑิตที่จบใหม่ได้เข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมีคุณภาพ ซึ่งทางสถาบันอุดมศึกษา จึงต้องนำประเด็น ความต้องการใน Skill ด้านต่าง ๆ

นำมาประกอบการพิจารณาเพื่อนำมาพัฒนา/ปรังปรุงหลักสูตรฯ ให้มีความทันสมัย และตอบโจทย์ของตลาดแรงงานได้ โดยที่ในอนาคตหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาต้องมีการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ได้มาซึ่งความรู้

สร้างทักษะจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาจริง มีการสร้างระบบการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งใน/นอกสถาบัน และเรียนรู้ตลอดเวลา/ตลอดชีวิต ได้ 

ดังนั้นทางสถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องมีการสร้าง Half-Life of Skills ความจำเป็นที่จะต้อง Reskill และ Upskill 

          สรุปท้ายสุดแล้ว สถาบันอุดมศึกษาจำเป็นที่ต้องมีการสำรวจความต้องการของตลาดแรงงาน/สถานประกอบการ/ผู้ใช้บัณฑิต ว่าต้องการบัณฑิตที่มีทักษะทางด้านใดเป็นพิเศษ เพื่อนำมาพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร/เนื้อหารายวิชาให้สอดคล้องกับความต้องการของทักษะในตลาดแรงงาน 

 

 ๒. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่

          ๒.๑ ได้รับความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์การสร้าง Skill Mapping

          ๒.๒ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการเขียน/พัฒนาในส่วนของเนื้อหารายวิชาในหลักสูตรที่ปรับปรุงใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

๓. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)

          ๓.๑ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมมาประยุกต์ใช้ในจัดทำ Skill Mapping ในคำรายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรที่ปรับปรุงใหม่

          ๓.๒ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ นำมาปรับใช้ในการพัฒนารายวิชาในหลักสูตรฯ และนำมาปฏิบัติได้จริงเพื่อให้เกิดทักษะด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ    

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1301
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
รายงานผลการเข้าร่วมกิจกรรมแล้วนำไปใช้ประโยชน์ ประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50) » เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50)
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้าเข้าร่วมงาน "ประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50)" ในระหว่างวันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมดิ...
Poster  STT50     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน อนรรฆอร ศรีไสยเพชร  วันที่เขียน 28/11/2567 14:17:26  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/12/2567 11:57:58   เปิดอ่าน 27  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง