ในการเข้าร่วมโครงการประชุมวิชาการทางสถิติและสถิติประยุกต์ ประจำปี 2565 (International Conference on Applied Statistics 2022: ICAS 2022)
ในหัวข้อ “Data-Driven Statistics and Innovation” โดยสรุปเนื้อหาที่ได้จากการอบรม มีรายละเอียดดังนี้
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2565
ฟังบรรยายพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง “An Invitation to some new statistics from Optimal Transport” โดย Professor Dr. Hung T. Nguyen ซึ่งเป็นการบรรยายโดยนำความรู้ทางด้านสถิติมาประยุกต์ใช้ในการหาจุดคุ้มทุนเกี่ยวกับการขนส่ง ซึ่งเป็นการนำเอาองค์ความรู้ทางด้านสถิติมาประยุกต์ใช้กับงานทางด้านการขนส่ง พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ
หลังจากนั้นฟังบรรยายบทความรับเชิญ ในหัวข้อเรื่อง “Probabilistic Interpretation of Non-Probabilistic Approach to Uncertainty: Interval and Fuzzy” โดย Professor Dr. Vladik Kreinovich โดยการบรรยายเป็นการนำความรู้ทางด้าน Non-Probability มาประยุกต์ใช้กับงานทางด้านการตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน พร้อมทั้งมีตัวอย่างข้อมูลประกอบ
ช่วงบ่ายมีการนำเสนอผลงานวิจัย โดยแบ่งห้องย่อยเป็น 3 ห้อง โดยมีการเลือกเข้าฟังหัวข้อที่มีความสนใจ โดยเน้นหัวข้อวิจัยทางด้านการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) และการวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร (Multivariate Analysis) ดังนี้
“An Approximation of ARL of Cumulative Sum Control Chart for SARMAX (P,Q,r) Model using Numerical Integral Equation Method” โดย Phassaraporn Puengpapat และคณะ
“Average Run Length of Exponentially Weighted Moving Average Control Chart for ARIMAX (p,d,q,r) Model using Numerical Integral Equation Method” โดย Wethaka Wareenin และคณะ โดยเป็นการประยุกต์งานทางด้านการควบคุมคุณภาพโดยแผนภูมิควบคุม (Control Chart) โดยใช้วิธีการหาตัวแบบที่เหมาะสม ด้วยวิธีการ Numerical Integral Equation และนำมาประยุกต์ใช้กับแผนภูมิควบคุม พร้อมตัวอย่างข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับทฤษฎี
“Bivariate Assessment of Drought Return Periods and Frequency based on Copulas for Northeast Thailand” โดย Prapawan Chomphuwiset และคณะ โดยเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร โดยมีการนำ Copulas มาประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านอุตุนิยมวิทยา โดยดูปริมาณความชื้น และปริมาณฝนตก อุณหภูมิที่ส่งผลต่อความแห้งแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย
และรับฟังการเสวนาพิเศษ หัวข้อเรื่อง “เส้นทางสู่ความสำเร็จในวิชาชีพอาจารย์สาขาสถิติ” โดย รศ.ดร.กมล บุษบา รศ.ดร.วราฤทธิ์ พานิชกิจโกศล รศ.ดร.ปิยภัทร บุษบาบดินทร์ ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.เสาวณิต สุขภารังษี ซึ่งได้รับความรู้เกี่ยวกับการขอกำหนดทางตำแหน่งทางวิชาการ การขอทุนวิจัย และการตีพิมพ์บทความวิชาการในวารสารวิชาการต่าง ๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาตนเองในสายวิชาชีพวิชาการของคณาจารย์สาขาสถิติ
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565
ฟังบรรยายบทความรับเชิญ หัวข้อเรื่อง “On the Partial-Geometric Distribution” โดย Professor Dr. Andrei Velodin ซึ่งเป็นการบรรยายถึงการแจกแจงเรขาคณิตบางส่วน รวมทั้งการประยุกต์ใช้
หลังจากนั้นรับฟังการบรรยายบทความรับเชิญ หัวข้อเรื่อง “The a prior procedure for estimating the Cohen’s effect size under skew normal settings” โดย Prof. Dr. Tonghui Wang โดยเป็นการบรรยายเกี่ยวกับขนาดตัวอย่างภายใต้การแจกแจงปรกติแบบเบ้ โดยมีการแสดงถึงข้อมูลภายใต้การจำลองข้อมูล ภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อทำการเปรียบเทียบ
และรับฟังการบรรยายบทความรับเชิญ หัวข้อเรื่อง “Bayesian modelling of integer-valued transfer function models” โดย Professor Dr. Cathy W. S. Chen เป็นการบรรยายเกี่ยวกับตัวแบบเบส์ โดยอธิบายถึงการปรับเปลี่ยนค่าฟังก์ชันในตัวแบบ ภายใต้ตัวแบบเบส์ โดยผ่านวิธีการจำลองแบบมอนติคาร์โล (Monte Carlo Simulation)
ช่วงบ่ายรับฟังการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง “How to often Should we Repeat a Diagnostic Test Screening for a Medical Condition?” โดย Professor Dr. Dankmar A. W. Bohning โดยเนื้อหาบรรยายเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้สถิติกับข้อมูลทางการแพทย์ การสาธารณสุข โดยตัวอย่างข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งสำไส้ของประชาชนในเมืองซิดนีย์
หลังจากนั้นเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานวิจัย อาทิเช่น “Estimating the Population Size based on Mixture Geometric Distribution with Validation Data” โดย Parawan Pijitrattana โดยเป็นการประมาณขนาดประชากรโดยข้อมูลมีการแจกแจงแบบ Mixture Geometric ด้วยข้อมูลสมเหตุสมผล
“An Efficiency Comparison of Distance Measure in K-Nearest Neighbors Imputation for Spatial Data” โดย Prawit Banjong and Seksan Kiatsupaibul โดยเนื้อหาการบรรยายเป็นการนำเสนอ การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการวัดระยะห่างด้วยวิธี K-Nearest Neighbors สำหรับข้อมูลเชิงพื้นที่