การประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ครั้งที่ 19 (AMM2014)
วันที่เขียน 15/8/2557 16:45:42     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 22:22:01
เปิดอ่าน: 5246 ครั้ง

การประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ครั้งที่ 19 (AMM2014) ระหว่างวันที่ 20 – 22 มีนาคม 2557 ณ ห้อง โรงแรม A – One The Royal Cruise Hotel, Pattaya จังหวัดชลบุรี ด้านเนื้อหา เนื้อหาที่เข้าร่วมประชุมวิชาการฯ นั้น จำแนกรายละเอียดดังนี้ 1. การเสวนา วิชาการ หัวข้อ “คณิตศาสตร์กับการพัฒนาประเทศ” โดย อาจารย์อานนท์ โอภาสพิมลธรรม (อุปนายกสมาคมประกันวินาศภัย และรองกรรมการผู้จัดการ บมจ.วิริยะประกันภัย) อาจารย์สมศักดิ์ อรรถเสรีพงศ์ (ผู้ช่วยรองประธานฝ่ายที่ปรึกษาการเงิน บ.เอไอเอ ประเทศไทย) ดร.ชญานิน เกิดผลงาม (ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบประเมินความเสี่ยง สำนักงาน คปภ.) ดำเนินรายการ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัตนา เลิศสุวรรณศรี โดยเนื้อหาใจความการเสวนาในครั้งนี้ กล่าวถึง การนำคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านการประกันภัย โดยพื้นฐานองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัยนั้นใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์และสถิติมาใช้เป็นอย่างมาก โดยในปัจจุบันมีผู้ที่เชี่ยวชาญ ชำนาญทางด้านการประกันภัยค่อนข้างน้อย และมีอยู่อย่างจำกัด จึงเป็นหน้าที่ของสถาบันระดับอุดมศึกษาที่จะมุ่งผลิตนักคณิตศาสตร์ประกันภัย เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของธุรกิจประกันภัยในอนาคตอันใกล้นี้ 2. การเสวนาวิชาการ หัวข้อ “การสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชาการ” โดย ศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ ธรรมพงษา (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร เลาหโกศล (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ศาสตราจารย์ ดร.กฤษณะ เนียมมณี (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ดำเนินการรายการ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ สร้อยแสง โดยเนื้อหาใจความของการเสวนาในครั้งนี้ เป็นการเสวนาเกี่ยวกับการผลิตผลงานทางด้านวิชาการ โดยเน้นเกี่ยวกับการผลิตผลงานวิชาการทางด้านคณิตศาสตร์ และทางด้านสถิติ ซึ่งจะต้องมีการเผยแพร่ผลงาน และคุณภาพของผลงานวิชาการ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตตำรา เอกสารประกอบคำสอน หนังสือ ที่เกี่ยวข้อง 3. เข้าร่วมรับฟังการบรรยาย การนำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่า จำนวน เรื่อง ได้แก่ 3.1 เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา แคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ 1 เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชันโดยใช้กิจกรรมเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย อ.รัตนากาล คำสอน ม.ราชมงคลล้านนา 3.2 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายเพื่อเสริมรายวิชา Calculus 1 for Engineers เรื่อง การประยุกต์อินทิกรัลจำกัดเขต โดย อ.สุวิมล สิทธิชาติ ม.ราชมงคลล้านนา 3.3 เรื่อง ประสิทธิภาพการเรียนรายวิชา คณิตศาสตร์โดยใช้เกมทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดย คุณพิริยา เลิกชัยภูมิ 3.4 เรื่อง การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ โดย อ.นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตนกุล ม.ราชมงคลล้านนา 3.5 เรื่อง แบบจำลองการจัดการกระบวนการรับสินค้าอุปโภคบริโภคของศูนย์กระจายสินค้า โดย คุณเสาวภา มหาคีตะ 3.6 เรื่อง แบบจำลองสโทแคสติกสำหรับทำนายแนวโน้มปริมาณการใช้ไฟฟ้าในโรงเรียนมัธยม โดย คุณจิราพร บุญมาก 3.7 เรื่อง Optimal Sliding Mode Controllers for a Class of Nonlinear Systems โดย คุณสุรีย์พร ลพล้ำเลิศ 4. การเสวนาวิชาการ หัวข้อ “Statistics Education and Cognitive Skills: An Application of Probability and Statistical Inference in Thai Government Lottery Example” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราฤทธิ์ พานิชกิจโกศล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ ดร.ยงยุทธ ไชยพงศ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กมล บุษบา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเนื้อหาใจความของการเสวนาในครั้งนี้ เป็นการเสวนาเกี่ยวกับการนำสถิติในเชิงทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การออกผลรางวัลลลากกินแบ่งรัฐบาล โดยอาศัยอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีความน่าจะเป็น (Probability Theory) 5. การเสวนาวิชาการ หัวข้อ “คณิตศาสตร์การจัดการ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรัชญา บุญประเสริฐ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ ดร.มรกต ระวีวรรณ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อารยา แจ่มจันทร์ โดยเนื้อหาใจความของการเสวนาในครั้งนี้ เป็นการเสวนาเกี่ยวกับการใช้คณิตศาสตร์ในการจัดการด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการด้านทรัพยากรด้านน้ำ การจัดการด้านธุรกิจการการประกันภัย และความเสี่ยง ต่าง ๆ โดยการจัดการต่าง ๆ เป็นการอาศัยการจัดการเกี่ยวกับตัวเลขและข้อมูลต่าง ๆ อยู่บนพื้นฐานการตัดสินใจภายใต้ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ เป็นต้น ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ จากการเข้าร่วม “การประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ครั้งที่ 19 (AMM2014”) ครั้งนี้ สามารถสรุปสิ่งที่ได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วม จำแนกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้ ส่วนที่ 1 การเรียนการสอน สามารถนำผลการนำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทางด้านคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ สถิติ หรือสถิติประยุกต์ มาใช้เป็นตัวอย่างในการจัดการเรียนการสอน ในรายวิชาทางด้านสถิติ ที่เกี่ยวข้องต่อไป ส่วนที่ 2 การวิจัย สามารถศึกษาหัวข้อวิจัยจากผู้ที่เข้าร่วมนำเสนอในการประชุมวิชาการครั้งนี้ มาต่อยอดในการวิจัย หรือสามารถพัฒนาหัวข้อในส่วนที่เกี่ยวช้องที่จะกลับมาจัดทำวิจัยต่อไปในอนาคตได้

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=309
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:36:43   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง