เกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร AUN-QA กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่เขียน 15/9/2564 15:42:21     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:42:40
เปิดอ่าน: 3445 ครั้ง

ด้วยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้นำระบบการประเมินคุณภาพภายใน ASEAN University Network Quality Assurance (AUN_QA) มาใช้ในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับหลักสูตร/คณะ และระดับสถาบัน ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเกิดความเข้าใจในระบบการประเมินภายใต้ AUN_QA นั้น ทางมหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการจัดโครงการสัมมนา โดยให้ความรู้ในด้านการประกันคุณภาพภายใน AUN-QA เพื่อนำไปสู่การเขียนรายงานการประเมินตนเองของหลักสูตรไปในทิศทางเดียวกัน

  • สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการสัมมนาในการเข้าร่วมอบรมครั้งนี้ โดยมีเนื้อหาสาระ สรุปได้ดังนี้

                            ด้วยมหาวิทยาลัยแม่โจ้จะดำเนินกนารใช้ระบบการประเมินคุณภาพภายใน ASEAN University Quality Assurance (AUN-QA) มาใช้ในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพทั้งในระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน โดยการสัมมนาในครั้งนี้เป็นการให้ความรู้ในด้านการประกันคุณภาพการศึกษา AUN-QA ตามเกณฑ์หรือตัวชี้วัดกำหนด จำแนกตาม Criteria ต่าง ๆ ดังนี้

                            Criteria : Expected Learning Outcomes

                            ๑.๑ ELO have been clearly formulated and aligned with the wisdom and mission of the university.

                               มีการกำหนด PLO ที่ชัดเจน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และพันธกิจมหาวิทยาลัย โดยต้องเขียนการได้มาของ PLO ว่ามีกระบวนการอย่างไร การกำหนด PLO มีความชัดเจนหรือยัง มีการเชื่อมโยงไปกับพันธกิจ และวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยได้อย่างไร ผู้มีส่วนได้/ส่วนเสียมีกลุ่มใดบ้าง แต่ละกลุ่มคือใคร และนำมาพัฒนาในรายละเอียดหลักสูตรให้สอดคล้องกัน

                            ๑.๒ ELO cover both subject specific and generic.

                            ELO ครอบคลุมความรู้และทักษะเฉพาะสาขาวิชา และความรู้และทักษะทั่วไป

                               โดยหลักสูตรต้องกำหนด PLO ที่เป็นทั้ง Specific and Generic ของหลักสูตรได้สามารถผนวก life long learning เข้าไปกับตัว generic ได้

                               การกำหนด YLO จะต้องสอดคล้อง และทำให้ PLO บรรลุได้

                            ๑.๓ ELO clearly reflect the requirements of the stakeholders.

                            ELO สะท้อนความต้องการของผู้มีส่วนได้/ส่วนสียได้จริงหรือไม่

                           Criteria : Programme Specification

                            ๒.๑ The information in the programme specification is comprehensive and up-to-date

                            สารสนเทศที่เกี่ยวกับข้อกำหนดของหลักสูตรมีความครอบคลุมและเป็นปัจจุบัน

                            โดยมีการปรับ มคอ. ๒ ให้เป็นปัจจุบัน และมีกระบวนการได้มาของ PLO ที่ชัดเจนหรือไม่

                            ๒.๒ The information in the course specification is comprehensive and up-to-date.

                            สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับรายวิชามีความครอบคลุมเป็นปัจจุบัน โดยมีการพิจารณาในรายวิชาใน มคอ. ๓ และ ๔ ว่ามีความเป็นปัจจุบัน และต้องเขียนให้เชื่อมโยงของ CLO (มคอ. ๓) กับ PLO ที่อยู่ใน มคอ. ๒ อย่างไร (มีแนวทางแสดงให้เห็นว่ามีการพัฒนา/ปรับปรุงอย่างไร)

                            ๒.๓ The programme and course specification are communicated and made available to the stakeholders.

                            การเข้าถึงและรับรู้ข้อกำหนดของหลักสูตร และข้อกำหนดรายวิชาของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

                               ตัวโปรแกรมกับรายวิชามีการสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือไม่ อย่างไร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถเข้าถึงได้อย่างไร

                      Criteria : Programme Structure and Content

                            ๓.๑ The curriculum is designed based on constructive alignment with the ELO.

                               ความสอดคล้องของการออกแบบหลักสูตรและ ELO

                               การออกแบบหลักสูตรต้องสอดคล้องเชื่อมโยงกับ Criteria ๔.๒ และ Criteria ๕.๑ ที่ต้องสอดคล้องกับ PLO ที่ได้ออกแบบไว้ใน Criteria ๑

                               การออกแบบหลักสูตรต้องเอา PLO ไปใช้ในการออกแบบรายวิชา (Backward Curriculum Design) รายวิชาต้องเป็น content ใหม่ ๆ ที่เป็นไปตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder’s needs)

                            ๓.๒ The contribution made by each course to achieve the ELO is clear.

                               ความเหมาะสมในสัดส่วนของรายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรเพื่อให้บรรลุ ELO

                               สิ่งที่ต้องการเห็นในรายวิชาที่อยู่ในหลักสูตร มีการช่วยกันบูรณาการให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ในหลักสูตรอย่างไรบ้าง

                            ๓.๓ The curriculum is logically structed, sequenced, integrated and up-to-date.

                               การจัดเรียงรายวิชาในหลักสูตรอย่างเป็นระบบ มีการบูรณาการและเป็นปัจจุบัน

                            สิ่งที่ได้กำหนดไว้ใน Curriculum Mapping มีการจัดโครงสร้างลำดับอย่างชัดเจน มีการพัฒนาปรับปรุง สามารถใช้งานได้ สามารถเปลี่ยนแปลงได้กับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยสามารถกำหนดออกมาเป็นโมดูลเพื่อการวิเคราะห์ได้ โดยหลักสูตรจะต้องดูรายวิชาตั้งแต่ชั้นปีที่ ๑ – ๔ ว่าการใช้ Module ต้องสร้างผลการเรีบนรู้ในแต่ละชั้นปี Curriculum Mapping ต้องเชื่อมโยงกับ TQF ๕ ด้านด้วย โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหาวิชาให้ดูความเชื่อมโยงใน Criteria ๔.๒ และ Criteria ๕.๒ ด้วย และให้หลักสูตรไปดูรายวิชาศึกษาทั่วไปว่ามีความสำคัญกับ PLO ของหลักสูตรอย่างไร และที่สำคัญคือ การมี PLO จำนวนไม่มากจนเกินไป จะทำให้หลักสูตรเน้นคุณลักษณะของบัณฑิตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

                            Criteria : Teaching and Leaning Approach

                            ๔.๑ The educational philosophy is well articulated and communicated to all stakeholders.

                            ปรัชญาการศึกษา (ของมหาวิทยาลัย) จะต้องมีการกำหนด และสื่อสาร โดยหลักสูตรไม่ต้องกำหนดปรัชญการศึกษาของหลักสูตร

                            ๔.๒ Teaching and learning activities are constructively aligned to the achievement of the ELO.

                            กิจกรรมการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกับการบรรลุสำเร็จตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                               โดยการจัดการเรียนการสอนต้องสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ (PLO) ต้องเกิดขึ้นทั้งตัวผู้สอนและผู้เรียน โดยสามารถทำให้ตัวผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองได้

                            ๔.๓ Teaching and learning activities enhance life-long learning.

                            กิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                               การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเลือกทักษะที่จำเป็นที่ต้องพัฒนาผู้เรียน อาทิเช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะทางด้านเทคโนโลยี เป็นต้น โดยการเรียนรู้จะต้องให้สอดรับและบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ได้แก่

                            PLO ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

                            YLO ผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละชั้นปี   

                            CLO ผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา โดยต้องกำหนดระดับการเรียนรู้ว่าอยู่ในระดับใด

                            LLO ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับบทเรียน/หน่วยเรียน/คาบเรียน สามารถทำการสอนและวัดประเมินผู้เรียนได้ตรงมากขึ้น ดังนั้น LLO จึงต้องอยู่ในแผนการสอน และการวัด LLO จะต้องสอดคล้องกับ PLOs ด้วย                           

                            Criteria : Student Assessment

                            ๕.๑ The student assessment is constructively aligned to the achievement of the ELO.

                            การประเมินผู้เรียนสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของ ELO

                               การประเมินผู้เรียนต้องมีการประเมินนักศึกษาทุกช่วงเวลาของการศึกษา โดยคำนึงถึง Constructive Alignment ให้เหมาะสมกับวิธีการสอนเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยการประเมิน ๒ แบบ ได้แก่ Formative (ประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน) และ Summative (ประเมินเพื่อวัดผลลัพธ์)

ภาพประกอบ: จากการเข้าร่วมสัมมนา

                            ๕.๒ The student assessment including timeline, methods, regulations, weight distribution, rubrics and grading are explicit and communicated to students.

                            ความชัดเจนและการสื่อสารไปยังผู้เรียนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผู้เรียน ช่วงเวลาการประเมิน วิธีการประเมิน เกณฑ์การประเมิน การกระจายน้ำหนักในการประเมิน เกณฑ์การให้คะแนน/ตัดเกรด

                            ๕.๓ Methods including assessment rubrics and marking schemes are used to ensure validity, reliability and fairness of student assessment.

                            เกณฑ์การให้คะแนนและ rubrics การให้คะแนน มีความเที่ยงตรง มีความเชื่อมั่น และโปร่งใส

                               การประเมินผู้เรียนได้มีการกำหนดเกณฑ์แบบ rubrics หรือไม่ ทั้งนี้การทำ rubrics มีการชี้แจงให้ผู้เรียนได้ทราบหรือไม่ มีการทำเกณฑ์เฉลยข้อสอบ มีการทำเกณฑ์ให้คะแนน และระบุได้ว่าใช้วิธีการประเมินอะไรบ้าง มีความถูกต้องและความน่าเชื่อถือหรือไม่ ในการจัดการสอน โดยผู้สอนออกข้อสอบได้กำหนดเกณฑ์การให้คะแนนอย่างไร มีทำเฉลยหรือไม่เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการตรวจ

                            ๕.๔ Feedback if student assessment is timely and helps to improve learning.

                            การให้ข้อมูลย้อนกลับหลังจากที่ได้ทำการประเมินผู้เรียแล้ว ได้อย่างเหมาะสมกับช่วงเวลาที่จะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้

                               การให้ feedback แก่ผู้เรียนต้องทำทันทีเพื่อให้ทันเวลาที่ผู้เรียนจะสามารถพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง

                            ๕.๕ Students have ready access to appeal procedure.

                            การรับรู้ถึงสิทธิ และกระบวนการอุทธรณ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียน

                               หลักสูตรได้มีการชี้แจงขั้นตอน/วิธีการอุทธรณ์แก่ผู้เรียนให้รับทราบหรือไม่ โดยผู้สอนได้ดำเนินการตามที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ และช่องทางการอุทธรณ์ร้องทุกข์ควรมีหลากหลายช่องทาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้ง่าย

                            Criteria : Academic Staff Quality

                            หลักในการเขียนวิเคราะห์เรื่องบุคลกรสายวิชาการ มี ๔ ขั้นตอน ดังนี้

ภาพประกอบ: จากการเข้าร่วมสัมมนา

                            มีการวางแผนบุคลากรระยะสั้น กลาง และยาว พร้อมทั้งกำหนดสมรรถนะของบุคลากรสายวิชาการที่หลักสูตรมีความต้องการ ทั้งสมรรถนระและจำนวน เพื่อให้มีบุคลากรสายวิชาการเพียงพอต่อการผลักดันขับเคลื่อนให้ผู้เรียนบรรลุ PLOs

                            มีการกำหนดแผนอัตรากำลัง/การมอบหมายงาน เพื่อให้บุคลากรทำงานร่วมกันให้เป็นไปตามแผน มีแผนพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีสมรรถนะที่สูงขึ้น สามารถทำงานในหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ มีการประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากรเพื่อให้เกิดการปรับปรุง/พัฒนา และมีการมอบรางวัล/ชมเชย เพื่อให้บุคลากรมีกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่และเกิดความผูกพันในองค์กร

                            ๖.๑ Academic staff planning (considering, succession, promotion, re-deployment, termination, and retirement) is carried out to fulfil the needs for education, research and service.

                            แผนการบริหารจัดการบุคลากรสายวิชาการ (การสืบทอดตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การปรับวิธีการจัดสรรบุคลากรเข้าสู่ตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การเกษียณ) ตอบสนอง ความต้องการด้านการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ

                               การทำแผนบุคลากรนั้นทางหลักสูตรจะต้องมีแผนรองรับในด้านการพัฒนาบุคลากร โดยพิจารณาวางแผนเพื่อให้สามารถตอบสนองบรรลุ LLOs, CLOs และ PLOs

                            ๖.๒ Staff-to-student ratio and worked are measured and monitored to improve the quality of education, research and service.

                            การเปรียบเทียบอัตราส่วนบุคลากรสายวิชาการต่อจำนวนนักศึกษา และภาระงานติดตามตรวจสอบข้อมูลเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ

                               โดยพิจารณาจากภารกิจทั้ง ๓ ด้าน แต่เนื่องจาก การคิดค่า FTE นั้นจะคิดเฉพาะด้านการเรียนการสอนเท่านั้น ดังนั้นหลักสูตรควรมีการนำค่าภาระงานให้ครบถ้วนทุกด้าน

                            ๖.๓ Recruitment and selection criteria including ethics academic freedom for appointment. Development and promotion are determined and communicated.

                            เกณฑ์ในการสรรหา และการคัดเลือกบุคลากรสายวิชาการ ได้ถูกกำหนดและบุคลากรได้ทราบโดยทั่วกัน ซึ่งประกอบด้วย จรรยาบรรณ ความรับผิดชอบต่อเสรีภาพทางวิชาการ การจัดสรรบุคลากรเข้าสู่ตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่งของบุคลากร

                            การสรรหาบุคลากร การมอบหมายงาน และการเลื่อนตำแหน่งของบุคลากรสายวิชาการ มีการกำหนดอย่างชัดเจน โดยพิจารณาความเหมาะสมทั้งคุณวุฒิ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และสมรรถนะของแต่ละคน เพื่อผลักดันให้ผู้เรียนบรรลุ PLO

                            ๖.๔ Competences of academic staff identified and evaluated.

                            การประเมินความสามารถของบุคลากรสายวิชาการ

                               การกำหนดสมมรถนะที่จำเป็นในการผลักดันหลักสูตร ต้องสอดคล้องต่อการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร มีความหลากหลายและเหมาะสมตามสถานการณ์ เช่น ปัญหาโรคระบาดในปัจจุบัน COVID-19 ผู้สอนต้องมีการปรับกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ มีการจัดทำสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลิดเวลา

                            ๖.๕ Training and developmental needs of academic staff are identified and activities are implemented to fulfil them.

                            ความต้องการในการฝึกอบรมและพัฒนาตนเองของบุคลากรสายวิชาการ ถูกนำไปใช้จัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากรสายวิชาการ

                               บุคลากรสายวิชาการสามารถพัฒนาสมรรถนะ โดยใช้ IDP วิเคราะห์เบื้องต้นได้ว่ามีแผนการพัฒนาตนเองอย่างไร แล้วทางหลักสูตร/คณะจะ support ได้อย่างไร เพื่อให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอน

                            ๖.๖ Performance management including rewards and recognition is implemented to motivate and support education, research and service.

                            การบริหารผลการปฏิบัติงาน การให้รางวัล และการยอมรับ เพื่อเป็นแรงจูงใจ ผลักดันและสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย และการให้บริการวิชาการ

                               การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการให้รางวัล การสร้างการยอมรับเป็นการกระตุ้นให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน

                            ๖.๗ The types and quality of research activities by academic staff are established, monitored and benchmarked for improvement.                           

                            การตรวจสอบ ประเมิน และเปรียบเทียบ ในประเภทและจำนวนงานวิจัย ของบุคลากรสายวิชาการ

                               เป็นการตรวจสอบคุณภาพผลงานวิจัยของอาจารย์ว่ามีคุณภาพในระดับใด โดยอาจมีการเปรียบเทียบผลงานวิชาการกับหลักสูตรใกล้เคียงเพื่อปรับปรุงคุณภาพงานวิจัยต่อไปในอนาคต

                            Criteria : Support Staff Quality

                     ๗.๑ Support staff planning (at the library, laboratory, IT facility and student services) is carried out to fulfil the needs for education, research and service.

                     แผนการบริหารจัดการบุคลากรสายสนับสนุน (บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ) ที่ให้บริการ/ตอบสนองความต้องการในการศึกษา การวิจัยและการบริการวิชาการ

                            มีการวางแผนการบริหารจัดการบุคลากรสายสนับสนุนทั้งในระยะสั้น กลาง และยาว เพื่อให้ตอบสนองความต้องการในการศึกษา การวิจัยและการบริการวิชาการ ในด้านห้องปฏิบัติการ เทคโนโลยีสารสนเทศ การให้บริการห้องสมุด รวมถึงนักวิชาการศึกษา/กิจการนักศึกษา โดยหลักสูตรฯ พิจารณาว่ามีการให้บริการในด้านต่าง ๆ พอเพียงต่อความต้องการของนักศึกษาหรือไม่

                            ๗.๒ Recruitment and selection criteria for appointment,

                            เกณฑ์ในการสรรหา การคัดเลือก การแต่งตั้ง การมอบหมายงาน และการเลื่อนขั้นบุคลากรสายสนับสนุน ได้ถูกกำหนดและบุคลากรได้ทราบโดยทั่วกัน

                               หลักสูตรได้มีการกำหนดคุณสมบัติหรือเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคลากรสายสนับสนุนที่จะมาช่วยในการบริการนักศึกษาในด้านการเรียนการสอนไว้อย่างไร ตั้งแต่เกณฑ์การรับสมัคร การคัดเลือกและการสรรหาบุคลากร และหลังจากได้มาแล้วมีการมอบหมายงานอย่างไร มีการประเมินเลื่อนขั้นบุคลากรอย่างไร และทางหลักสูตรได้มีการกำหนดและชี้แจงให้บุคลากรให้ทราบอย่างไร

                            ๗.๓ Competences of support staff are identified and evaluated.

                            การประเมินความสามารถของบุคลากรสายสนับสนุน

                               การประเมินสมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุน จะต้องถูกกำหนดให้ครบถ้วนตั้งแต่ขั้นตอนแรกในการรับบุคลากรเข้ามาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน และการบริหารของหลักสูตร

                            ๗.๔ Training and developmental needs of support staff are identified and activities are implemented to fulfill them.

                            ความต้องการในการฝึกอบรมและพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุน ถูกนำไปใช้จัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากรสายสนับสนุน

                               หลักสูตรมีการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุนอย่างเป็นระบบ เพื่อสนับสนุนในด้านการจัดการเรียนการสอน โดยการพัฒนานั้นจะต้องตอบสนองความต้องการของบุคลากรสายสนับสนุนด้วย

                            ๗.๕ Performance management including rewards and recognition is implemented to motivate and support education, research and service.

                            การบริหารผลการปฏิบัติงาน การให้รางวัล และการยอมรับ เพื่อเป็นแรงจูงใจ ผลักดันและสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัยและการให้บริการวิชาการ

                               หลักสูตรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามสายงาน การให้รางวัล ให้กำลังใจ การแต่งตั้งตามตำแหน่งตามธรรมเนียมปฏิบัติเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากร

                     Criteria : Student Quality and Support

                            ๘.๑ The student intake policy and admission criteria are defined, communicated published, and up-to-date.

                            การประกาศนโยบายและเกณฑ์การรับสมัครนักศึกษาเข้าเรียนในหลักสูตร มีความชัดเจน และเป็นปัจจุบัน และผู้ที่สนใจจะเข้ามาเรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก

                               การกำหนดนโยบายกับผู้เรียนและเกณฑ์ในการสมัคร หลักสูตรมีเกณฑ์การกำหนดเกณฑ์การรับสมัคร วิธีหรือช่องทางการสื่อสาร ข้อมูลมีความทันสมัยเป็นปัจจุบันหรือไม่

                            ๘.๒ The methods and criteria for the selection of students are determined and evaluated.

                            การกำหนดและประเมินกระบวนการและเกณฑ์การคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียน

                               กล่าวถึงวิธีการคัดเลือกผู้เรียนเพื่อให้ให้ได้ผู้เรียนตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยหลังจากที่ผู้เรียนสมัครมาแล้ว เช่น ปี ๒๕๖๔ มีการรับสมัคร ๔ รอบ แต่ละรอบมีการคัดเลือกผู้เรียนอย่างไร เกณฑ์ในการคัดเลือกแต่ละรอบเป็นอย่างไร

                            ๘.๓ There is an adequate monitoring system for student progress, academic performance, and workload.

                            ระบบในการติดตามความก้าวหน้าในการเรียนของนักศึกษา ผลการเรียน และภาระการเรียนของนักศึกษา

                               หลักสูตรมีระบบในการติดตามดูแลนักศึกษา ทั้งเรื่องการเรียน การใช้ชีวิต ดูเรื่องของภาระงานด้านการเรียนด้วย รวมไปถึงเรื่องของการทำงานในรายวิชาที่เรียน มีงานที่เหมาะสม หรือภาระงานล้นเกินไปหรือไม่

                            ๘.๔ Academic advice, co-curricular activities, student competition, and other student support service are available to improve learning and employability.

                            การให้คำแนะนำปรึกษาทางวิชาการ กิจกรรมเสริมหลักสูตร การส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าสู่เวทีการแข่งขัน และบริการสนับสนุนนักศึกษาอื่น ๆ เพื่อให้มีการพัฒนาการเรียนรู้ ทักษะและความสามารถในการทำงาน

                               ในส่วนการให้คำปรึกษา การเรียนของผู้เรียน หลักสูตรต้องมีการวางแผนการดำเนินการในการเสริมทักษะต่าง ๆ ที่เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร นอกเหนือจากในหลักสูตร และมีการประเมินผลที่สามารถวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมเวทีต่าง ๆ อย่างไร ทั้งในเชิงวิชาการ และกิจกรรมเสริมทางด้านวิชาการ เป็นต้น

                            ๘.๕ The physical, social and psychological environment is conductive for education and research as well as personal well-being.

                            สภาพแวดล้อมทางกายภาพ สภาพแวดล้อมทางสังคม และสภาพแวดล้อมทางจิตใจ ที่ส่งเสริมด้านการเรียนการสอน ส่งเสริมการวิจัย และส่งเสริมสุขภาวะส่วนบุคคล

                               สภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิตของผู้เรียน มีด้านใดบ้าง มีความสะอาด ปลอดภัย เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้เรียน และเสริมบรรยากาศให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่

                     Criteria : Facilities and Infrastructure

                            หลักสูตรพัฒนาผู้เรียนให้ตอบสนองต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร โดยสิ่งสนับสนุนจะต้องมีการจัดให้อย่างมีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ทางกายภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ ห้องสมุด พื้นที่สำหรับทำกิจกรรม ซึ่งทั้งหมดเป็นองค์ประกอบที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สิ่งที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน อุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ แหล่งอ้างอิง E-book เว็บไซต์ สภาพแวดล้อม เช่น พื้นที่สีเชียว (Green zone) หลักสูตรมีสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนที่เพียงพอหรือไม่ ห้องเรียน อุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการ เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนหรือไม่ ตลอดจนมาตรฐานความปลอดภัย

                            ๙.๑ The teaching and learning facilities and equipment (lecture halls, classrooms, project rooms, etc.) are adequate and update to support education and research.

                            ความเพียงพอและความทันสมัยของสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน ห้องบรรยายขนาดใหญ่ ห้องเรียนปกติ ห้องทำโครงการ ฯลฯ) เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการทำวิจัย

                               หลักสูตรควรมีการพิจารณาว่าสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการจัดการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน ห้องสัมมนา ห้องปฏิบัติการ ห้องอ่านหนังสือ ห้องปฏิบัติการ ที่มีอยู่นั้น สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้อย่างเพียงพอหรือไม่ อุปกรณ์การสอน และสื่อการสอนมีเพียงพอกับจำนวนนักศึกษาหรือไม่

                            ๙.๒ The library and its resourced are adequate and updated to support education and research.

                            ความเพียงพอและความทันสมัยของทรัพยากรห้องสมุดที่ใช้บริการต่อผู้เรียน มีหนังสือหรือทรัพยากรที่เพียงพอต่อการศึกษา และการทำวิจัยของผู้เรียนในหลักสูตรหรือไม่ สถานที่และชั่วโมงทำการที่ห้องสมุดให้บริการเหมาะสม

                            ๙.๓ The laboratories and equipment are adequate and updated to support education and research.

                            ความพอเพียงและความทันสมัยของห้องปฏิบัติการและเครื่องมืออุปกรณ์ที่ให้บริการ เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการทำวิจัย

                               หลักสูตรพิจารณาความทันสมัยของห้องปฏิบัติการให้เหมาะสม และสอดคล้องกับการความต้องการของผู้เรียน และสนับสนุนในด้านการเรียนการสอน

                            ๙.๔ The IT facilities including e-learning infrastructure are adequate and updated to support education and research.

                            ความพอเพียงและความทันสมัยของโครงสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสร้าง e-learning เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการทำวิจัย

                               หลักสูตรควรพิจารณาว่าอุปกรณ์ด้านคอมพิวเตอร์ ตลอดจนโปรแกรม และระบบเครือข่ายสามารถตอบสนองต่อผู้เรียน ยิ่งโดยเฉพาะการเรียนออนไลน์ หรือการสืบค้นที่ต้องใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

                            ๙.๕ The standards for environment, health and safety and access for the people with special needs are defined and implemented.

                            การกำหนดและดำเนินการตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย และสนองความต้องการพิเศษสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นพิเศษ

                               มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัยด้านชีวอนามัย ได้แก่ มาตรฐานทั่วไป เช่น ประตูหนีไฟ ถังดับเพลิง ระบบเซฟตี้ในลิฟต์ ตลอดจนคำนึงถึงการอำนวยความสะดวกต่อผู้พิการ เป็นต้น

                            Criteria ๑๐: Quality Enhancement

                            ๑๐.๑ Stakeholder’s needs and feedback serve as input to curriculum design and development.

                            การใช้ความต้องการและข้อมูลย้อนกลับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นข้อมูลในการออกแบบ และพัฒนาหลักสูตร

                               หลักสูตรต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหลักสูตร โดยทำการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร โดยการนำข้อมูลการพัฒนานั้นสะท้อนกลับไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย

                            ๑๐.๒ The curriculum design and development process is established and subjected to evaluation and enhancement.

                            กระบวนบวนการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร ได้ถูกประเมินและปรับปรุงให้ดีขึ้น

                               กระบวนการออกแบบและการพัฒนาหลักสูตรในแต่ละภาคการศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร สามารถรวบรวมข้อมูลหรือปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างภาคการศึกษา/ปีการศึกษา มาประชุมเพื่อปรับกระบวนการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสม ซึ่งสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาทบทวน ประเมินการเรียนการสอนได้เป็นระยะ ๆ

                            ๑๐.๓ The teaching and learning processes and student assessment are continuously reviewed and evaluated to ensure their relevance and alignment.

                            การทบทวนและประเมินกระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการวัดประเมินผลมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อยืนยันความสอดคล้องและความเหมาะสมตามที่กำหนดไว้

                               หลักสูตรควรมีการทบทวนกระบวนการเรียนการสอน และการวัดประเมินผลเป็นระยะ ๆ และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหา และสามารถหาวิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาได้

                            ๑๐.๔ Research output is used to enhance teaching and learning.

                            ผลงานวิจัยถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอน

                               หลักสูตรได้นำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้หรือบูรณาการกับการเรียนการสอนอย่างไร

                            ๑๐.๕ Quality of support services and facilities (at the library, laboratory, IT facility and student service) is subjected to evaluation and enhancement.

                            การประเมินและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ (ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ เทคโนโลยีสารสนเทศ และบริการอื่นที่ให้บริการแก่นักศึกษา)

                               การประเมินคุณภาพการให้บริการและสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนต่าง ๆ การวัดคุณภาพไม่ควรระบุแค่ระดับความพึงพอใจมากน้อย แต่ควรมีการประเมินเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานได้

                            ๑๐.๖ The stakeholder’s feedback mechanisms are systematic and subjected to evaluation and enhancement.

                            การประเมินและปรับปรุงระบบและกลไกการรับข้อมูลย้อนกลับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

                               หลักสูตรมีระบบกลไกในการเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนกลับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อนำมาประเมินและปรับปรุงคุณภาพหลักสูตร และการออกแบบย้อนกลับที่ตรงกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้ได้ข้อมูลสะท้อนกลับที่ตรงประเด็น และตรงกับกลุ่มของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

                            Criteria ๑๑: Output

                            ๑๑.๑ The pass rates and dropout rates are established, monitored and benchmarked for improvement.

                            มีการกำหนด ติดตามและเทียบเคียงอัตราการสำเร็จการศึกษา และอัตราของการออกกลางคัน เพื่อใช้ในการปรับปรุง

                               สิ่งที่หลักสูตรควรพิจารณาได้แก่ นักศึกษาที่เข้ามาเรียนเป็นไปตาม PLOs ของหลักสูตรหรือไม่ โดยดูในส่วนของ pass rate กับ dropout rates ของนักศึกษา โดยนำมากำหนดตัวชี้วัดเพื่อดำเนินการและกำกับติดตาม เก็บข้อมูล และทำข้อมูลย้อนกลับเพื่อจะทำให้เห็นแนวโน้ม และเห็นเป้าหมายที่จะพัฒนารวมถึงการเทียบดูการพัฒนากับคู่เทียบ

                            ๑๑.๒ The average time to graduate is established, monitored and benchmarked for improvement.

                            มีการกำหนด ติดตาม และเทียบเคียงระยะเวลาโดยเฉลี่ยในการเรียนจนจบการศึกษา เพื่อใช้ในการปรับปรุง

                               มีการพิจารณาการได้มาของข้อมูลระยะเวลาที่สำเร็จการศึกษาของผู้เรียน ต้องนำตัวเลขมาวิเคราะห์ด้วยว่าทำไมนักศึกษาไม่สำเร็จการศึกษาตามแผนการศึกษาที่กำหนด โดยมีกระบวนการ แนวทางในการแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร

                            ๑๑.๓ Employable of graduate is established, monitored and benchmarked for improvement.

                            การกำหนด ติดตามและเทียบเคียงการได้งานของบัณฑิต เพื่อใช้ในการปรับปรุง

                               หลักสูตรติดตามภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิตซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหลักสูตร โดยติดตามการได้งานของบัณฑิตนำมาปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของตลาดต่อไป

                            ๑๑.๔ The types and quantity of research activities by student are established, monitored and benchmarked for improvement.

                            การกำหนด ติดตามและเทียบเคียงประเภท และปริมาณของการทำวิจัยของนักศึกษา เพื่อใช้ในการปรับปรุงการวิจัย และได้มีการนำมาทำแผน และนำมาเทียบกับคู่เทียบ

                               หลักสูตรต้องคำนึงถึงประเภท และปริมาณของงานวิจัยของนักศึกษา โดยมองทิศทางประเด็นของงานวิจัยว่าสามารถตอบโจทย์ สอดคล้องกับหลักสูตร/คณะ และระดับมหาวิทยาลัย เพื่อตอบโจทย์สังคม รวมถึงการเปรียบเทียบเพื่อดูการพัฒนากับคู่เทียบ

                            ๑๑.๕ The satisfaction levels of stakeholders are established, monitored and benchmarked for improvement.

                            การกำหนด ติดตาม และเทียบเคียงระดับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อใช้ในการปรับปรุง

                               การกำหนด ติดตามและเทียบเคียงระดับความพึงพอใจของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อคุณภาพของหลักสูตรว่ากลุ่มคนเหล่านั้นมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของหลักสูตรอย่างไร

 

  • ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่

                          ๒.๑ สร้างความรู้/ความเข้าใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใต้เกณฑ์ AUN-QA ในระดับหลักสูตรได้

                          ๒.๒. สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำรายงานการประเมินตนเองตามแนวทางของเกณฑ์ AUN-QA ในระดับหลักสูตรได้

                          ๒.๓ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อคิดเห็นต่อแนวทางการดำเนินงานภายใต้เกณฑ์ AUN-QA ระหว่างหลักสูตรในกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)

                          ๓.๑ ได้แนวทางในการจัดทำการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรภายใต้เกณฑ์คุณภาพ AUN-QA ในระดับหลักสูตรได้

                          ๓.๒ เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใต้เกณฑ์คุณภาพ AUN-QA ในระดับหลักสูตรได้

                          ๓.๓ สามารถวิเคราะห์ GAP Analysis และนำสิ่งที่วิเคราะห์ได้มาจัดทำทำรายงานการประเมินตนเองตามแนวทางของเกณฑ์ AUN-QA ในระดับหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

 

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1217
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:36:43   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง