รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : ยีน
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566
การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566 “นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ” session 6 เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรด้านพืช หัวข้อ เรื่อง การแก้ไขยีน Pi21 โดยระบบ CRISPR/Cas9 เพื่อให้ข้าวต้านทานโรคไหม้ การจัดกลุ่มพันธุ์ข้าวไทยด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์ที่แตกต่างของยีนซึ่งเกี่ยวข้องกับความทนแล้ง เครื่องหมายไมโครแซตเทลไลต์ที่แยกความแตกต่างระหว่างข้าวโฟเลตสูงและต่ำ และความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนที่เกี่ยวข้องกับการออกดอกในลำไยพันธุ์ต่าง ๆ จากการกระตุ้นด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรต
คำสำคัญ : การแก้ไขยีน  ข้าว  ความทนแล้ง  โฟเลต  ลำไย  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 113  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 22/1/2567 22:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 11/4/2567 5:35:08
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » มะเขือเทศกาบาและปลาแก้ไขยีนในญี่ปุ่น
เทคนิคการแก้ไขยีนหรือการแก้ไขจีโนม (gene/genome editing) เป็นการเปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอเป้าหมายโดยการตัดดีเอ็นเอในจีโนมของสิ่งมีชีวิตและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงยีนในระหว่างกระบวนการซ่อมแซมดีเอ็นเอ ประเทศญี่ปุ่นใช้เทคนิคแก้ไขยีนระบบ CRISPR/Cas9 ผลิตมะเขือเทศแก้ไขยีน 1 ชนิด และปลาแก้ไขยีน 2 ชนิด ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายและบริโภคเป็นอาหารได้แล้ว โดยไม่ต้องผ่านการตรวจสอบเหมือนอาหารที่มาจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เนื่องจากเทคนิคการแก้ไขยีนไม่มีการใส่ดีเอ็นเอแปลกปลอม (foreign gene) เข้าไปในสิ่งมีชีวิต
คำสำคัญ : เทคนิคการแก้ไขยีน  ปลาแก้ไขยีน  มะเขือเทศกาบา  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3542  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 20/7/2566 8:41:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 16:20:21
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » มะเขือเทศกาบาและปลาแก้ไขยีนในญี่ปุ่น
เทคนิคการแก้ไขยีนหรือการแก้ไขจีโนม (gene/genome editing) เป็นการเปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอเป้าหมายโดยการตัดดีเอ็นเอในจีโนมของสิ่งมีชีวิตและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงยีนในระหว่างกระบวนการซ่อมแซมดีเอ็นเอ ประเทศญี่ปุ่นใช้เทคนิคแก้ไขยีนระบบ CRISPR/Cas9 ผลิตมะเขือเทศแก้ไขยีน 1 ชนิด และปลาแก้ไขยีน 2 ชนิด ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายและบริโภคเป็นอาหารได้แล้ว โดยไม่ต้องผ่านการตรวจสอบเหมือนอาหารที่มาจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เนื่องจากเทคนิคการแก้ไขยีนไม่มีการใส่ดีเอ็นเอแปลกปลอม (foreign gene) เข้าไปในสิ่งมีชีวิต
คำสำคัญ : เทคนิคการแก้ไขยีน  ปลาแก้ไขยีน  มะเขือเทศกาบา  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3542  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 20/7/2566 8:41:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 16:20:21
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนา หรือประชุมวิชาการ » การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 11
ข้าพเจ้า นางสาวเจนจิรา ทิพย์ชะ ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัด สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการนำเสนอผลงานวิชาการและเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 11 และการประชุมวิชาการระดับนานาชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 10 The 11th Rajamangala University of Technology National Conference and The 10th Rajamangala University of Technology International Conference ในหัวข้อวิถีราชมงคลขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคม เมื่อวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2562 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ : rmutcon2019  เครือข่ายควบคุมการแสดงออกของยีน  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1799  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน เจนจิรา ทิพย์ชะ  วันที่เขียน 26/9/2562 12:26:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 10:11:51
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » สรุปประโยชน์ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ในการประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ข้าพเจ้าได้นำเสนองานวิจัยภาคโปสเตอร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมในลิ้นจี่จากลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน matK และได้รับฟังการบบรรยายพิเศษ เรื่อง ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร โดย พันเอก รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ซึ่งทำให้ทราบถึงทิศทางการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต นอกจากนี้ยังได้ฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายหลายเรื่อง ได้แก่ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่นครพนม 1 โดย ผศ.ดร.กัญลยา มิขะมา ซึ่งได้กล่าวถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตของลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 รวมถึงการปรับตัวของเกษตรกรในการแก้ปัญหาดังกล่าว การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เรื่อง ความสามารถในการแก้หมันของละอองเรณูในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดย ยุวรัตน์ จันทสุข ซึ่งนำเสนอการตรวจสอบการแก้หมันของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และพบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 จึงจัดอยู่ในกลุ่ม B-line ของระบบ WA-CMS การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เรื่อง การโคลนยีนและผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีนจากยีน Mr-RPCH ของกุ้งก้ามกราม โดย ผศ.ดร.กีรวิชญ์ เพชรจุล ซึ่งเป็นวิธีการผลิตโกรทฮอร์โมนของกุ้งในแบคทีเรีย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เป็นอาหารเสริมเร่งการเจริญเติบโตของกุ้งต่อไป นอกจากนี้ยังได้ฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายเรื่องที่อยู่นอกศาสตร์ของสาขาวิชาอีก 6 เรื่อง การเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้กว้างขึ้นทั้งในศาสตร์ของสาขาวิชาพันธุศาสตร์และนอกสาขาวิชา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยในอนาคต
คำสำคัญ : การแก้หมันของละอองเรณู  ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร  ประชุมวิชาการแม่โจ้  ยีน Mr-RPCH  ลิ้นจี่นครพนม 1  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3197  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 9/1/2562 10:41:26  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/4/2567 12:59:20
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจีโนมในการศึกษายีนของพืชและการปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์
การใช้ข้อมูลจีโนมิก (genomic data) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผันแปรทางพันธุกรรมกับฟีโนไทป์เพื่อระบุตำแหน่งในจีโนมที่มีหน้าที่สัมพันธ์กับลักษณะที่สนใจโดยไม่ต้องทำการสร้างประชากรจาการผสมพันธุ์ การศึกษาในพืชโดยใช้ข้อมูล transcriptomics และ proteomics ร่วมด้วย จะสามารถทำให้ได้ข้อมูลของยีนที่ควบคุมการตอบสนองของพืชต่อความเครียดนั้นได้ นอกจากนี้ ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีจีโนมและ genome-wide association study ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์ให้ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ข้อมูลของ single nucleotide polymorphisms (SNP) ที่ระดับจีโนม ได้นำมาใช้ในการทำ genotyping และใช้ในโปรแกรมการปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์ในหลายประเทศรวมทั้งในประเทศไทย
คำสำคัญ : SNP  การปรับปรุงพันธู์ปศุสัตว์  การศึกษายีนพืช  ข้อมูลจีโนมิก  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3450  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 5/9/2560 11:39:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 14:13:08
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » นำเสนองานวิจัยแบบบรรยาย การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1 (3 rd TECHCON 2017 & 1 st ITECH 2017) “คิดอย่างสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม ขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยี”
งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม 2560 ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม กรุงเทพฯ โดยในงานวิจัยเราศึกษาการมีเสถียรภาพของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการรักษาโรคมะเร็ง โดยใช้ยีนบำบัดเริ่มโดยการสร้างแบบจำลองยีนบำบัดสำหรับรักษาโรคมะเร็ง ต่อจากนั้น ศึกษาเกี่ยวกับจุดสมดุลและพัฒนาแบบจำลองโดยลอตคา-โวเทียรา (Lotka-Volterra) มันเป็นสิ่งสำคัญมากในการตรวจสอบพฤติกรรมของจุดสมดุล เช่น การมีเสถียรภาพของจุดสมดุลในเงื่อนไขบางอย่าง โดยเฉพาะการมีเสถียรภาพจำกัด นอกจากนี้ การจำลองรูปแบบเป็นที่กำหนดโดยการประมาณค่าพารามิเตอร์บางอย่าง
คำสำคัญ : แบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการรักษาโรคมะเร็ง ยีนบำบัด จุดสมดุลแบบจำลองโดยลอตคา-โวเทียรา การมีเสถียรภาพ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3634  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน เกรียงไกร ราชกิจ  วันที่เขียน 25/8/2560 20:51:59  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 20:43:56
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » งานประชุมวิชาการประจำปี 2558
การเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี 2558 เมื่อวันที่ 8-9 ธันวาคม 2558 ณ ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมรับฟังการเสนอผลงานทางวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเรื่องที่น่าสนใจดังนี้ การแสดงออกของโปรตีนตอบสนองต่ออุณหภูมิสูงขนาดเล็ก (OsHSP18) จากข้าวไทยในแบคทีเรีย Escherichia coli การวิเคราะห์การแสดงออกและลำดับเบสบางส่วนของยีน OsDFR ในข้าวขาวและข้าวสี การพัฒนาการถ่ายยีนเข้าสู่เอ็มบริโอของเมล็ดข้าวโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงร่วมกับแรงดันสูญญากาศช่วยใน Agrobacterium-mediated transformation การตรวจหาสารเควอซิตินในสารสกัดสมุนไพรด้วยเทคนิค HPLC-ELSD และการผลิตก๊าซชีวภาพจากฟางข้าวโดยกระบวนการย่อยสลายในสภาวะไร้อากาศแบบแห้ง ในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าของงานวิจัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาพัฒนาการเรียนการสอน และการทำงานวิจัยต่อไป
คำสำคัญ : ก๊าซชีวภาพ  ข้าว  ยีน  สมุนไพร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3399  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 13/3/2559 0:21:49  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 14:02:17