งานประชุมวิชาการประจำปี 2558
วันที่เขียน 13/3/2559 0:21:49     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 13:31:27
เปิดอ่าน: 3439 ครั้ง

การเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี 2558 เมื่อวันที่ 8-9 ธันวาคม 2558 ณ ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมรับฟังการเสนอผลงานทางวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเรื่องที่น่าสนใจดังนี้ การแสดงออกของโปรตีนตอบสนองต่ออุณหภูมิสูงขนาดเล็ก (OsHSP18) จากข้าวไทยในแบคทีเรีย Escherichia coli การวิเคราะห์การแสดงออกและลำดับเบสบางส่วนของยีน OsDFR ในข้าวขาวและข้าวสี การพัฒนาการถ่ายยีนเข้าสู่เอ็มบริโอของเมล็ดข้าวโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงร่วมกับแรงดันสูญญากาศช่วยใน Agrobacterium-mediated transformation การตรวจหาสารเควอซิตินในสารสกัดสมุนไพรด้วยเทคนิค HPLC-ELSD และการผลิตก๊าซชีวภาพจากฟางข้าวโดยกระบวนการย่อยสลายในสภาวะไร้อากาศแบบแห้ง ในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าของงานวิจัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาพัฒนาการเรียนการสอน และการทำงานวิจัยต่อไป

รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี 2558 เมื่อวันที่ 8-9 ธันวาคม 2558 ณ ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามหนังสือขออนุญาตเดินทางไปราชการ เลขที่ ศธ 0523.4.9.1/ 318 ลงวันที่ 25 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ดังนั้น จึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมประชุมวิชาการ ดังต่อไปนี้

ในงานประชุมได้เข้าร่วมรับฟังการเสนอผลงานทางวิชาการ ดังนี้

เรื่อง การแสดงออกของโปรตีนตอบสนองต่ออุณหภูมิสูงขนาดเล็ก (OsHSP18) จากข้าวไทยในแบคทีเรีย Escherichia coli

ยีนโปรตีนตอบสนองต่ออุณหภูมิสูงขนาดเล็ก (small heat shock protein genes; sHsps) ของพืชมีการแสดงออกมากขึ้นที่อุณหภูมิสูง ในงานวิจัยนี้ได้โคลนยีนโปรตีนตอบสนองต่ออุณหภูมิสูงขนาด 18 กิโลดาลตัน class I (OsHsp18) จากข้าวไทย และศึกษาการแสดงออกของยีนในแบคทีเรีย E. coli  พบว่า โปรตีน OsHsp18 อาจเป็นพิษต่อเซลล์แบคทีเรีย ทำให้เซลล์แบคทีเรียไม่สามารถเพิ่มจำนวนเซลล์รอดชีวิตในอุณหภูมิสูงได้

เรื่อง การวิเคราะห์การแสดงออกและลำดับเบสบางส่วนของยีน OsDFR ในข้าวขาวและข้าวสี

ในประเทศไทยมีการกระจายของข้าวพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำ แดง และขาว ซึ่งเกิดจากรงควัตถุที่พบในข้าวสี คือ แอนโทไซยานินและโปรแอนโทไซยานิดิน มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ยีน OsDFR มีรหัสสร้างเอนไซม์ dihydroflavonol 4-reductase (DFR) ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในวิถีการสังเคราะห์แอนโทไซยานินและโปรแอนโทไซยานิดิน งานวิจัยนี้ พบว่า ในข้าวดำมีการแสดงออกของยีน OsDFR โดยพบในเมล็ดสูงกว่าในใบ ส่วนข้าวขาวอาจมีการแสดงออกของยีนแต่มีระดับต่ำ ซึ่งอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนในข้าวขาว

เรื่อง การพัฒนาการถ่ายยีนเข้าสู่เอ็มบริโอของเมล็ดข้าวโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงร่วมกับแรงดันสูญญากาศช่วยใน Agrobacterium-mediated transformation

ในงานวิจัยนี้ได้ใช้เทคนิค sonication-assisted Agrobacterium-mediated transformation (SAAT) ร่วมกับ vacuum infiltration-assisted Agrobacterium-mediated transformation (VIAAT) ในการถ่ายยีนเข้าสู่เอ็มบริโอของเมล็ดข้าวพันธุ์ กข41 พบว่า การถ่ายยีนด้วยวิธีนี้มีประสิทธิภาพ และเป็นทางเลือกสำหรับการถ่ายยีนโดยไม่ต้องผ่านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อพัฒนาข้าวดัดแปลงพันธุกรรมสำหรับใช้ในการศึกษาบทบาทและหน้าที่ของยีน และปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ดีขึ้นต่อไปได้

เรื่อง การตรวจหาสารเควอซิตินในสารสกัดสมุนไพรด้วยเทคนิค HPLC-ELSD

สารเควอซิตินอยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านเนื้องอก และต้านจุลินทรีย์ ในงานวิจัยนี้ ได้ตรวจหาสารเควอซิตินจากพืชสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ สมอไทย ฟักข้าว และโกฐน้ำเต้า พบว่า สารสกัดหยาบจากสมอไทยมีปริมาณสารเควอซิตินสูงที่สุด รองลงคือ โกศน้ำเต้า และไม่พบสารเควอซิตินในสารสกัดจากฟักข้าว

เรื่อง การผลิตก๊าซชีวภาพจากฟางข้าวโดยกระบวนการย่อยสลายในสภาวะไร้อากาศแบบแห้ง 

การศึกษาการผลิตก๊าซชีวภาพจากฟางข้าวในสภาวะไร้อากาศแบบแห้ง พบว่า สารอินทรีย์ในฟางข้าวสามารถย่อยสลายและเปลี่ยนเป็นก๊าซมีเทนได้สูงถึงร้อยละ 50.18 การผลิตก๊าซชีวภาพจากฟางข้าวในสภาวะไร้อากาศ พบว่า ระยะการหมัก 30 วัน ได้ปริมาณก๊าซทั้งหมด 263.21 ล./กก.

 

ในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าของงานวิจัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาพัฒนาการเรียนการสอน และการทำงานวิจัยต่อไป

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=476
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง