การเรียนการสอนชีววิทยาในโลกปัจจุบัน
วันที่เขียน 12/3/2558 20:56:46     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 2:07:15
เปิดอ่าน: 7818 ครั้ง

การเรียนการสอนชีววิทยาในโลกปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคนิคการสอนเพื่อช่วยให้นักเรียนและนักศึกษาใน generation X, Y และ Z ได้มีความรู้ความเข้าใจ ในการเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 25th Biennial Conference of the Asian Association of Biology Education ณ ประเทศมาเลเซีย ทำให้ได้ทราบการสอนเทคนิค PCR เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เรื่องความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชที่ระดับดีเอ็นเอ การจัดกิจกรรม Gallery Walk ทำให้นักศึกษาได้นำเสนอผลงานของตนเองกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน และการพัฒนาสื่อการสอนทางการทดลอง เรื่อง Central dogma โดยใช้ wheat-germ cell-free protein synthesis systems ทำให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนการ transcription และ translation ซึ่งเทคนิคเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาและพันธุศาสตร์เป็นอย่างดี

รายงานการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง 

25th Biennial Conference of the Asian Association of Biology Education

วันที่ 13-16 ตุลาคม 2557

ณ ประเทศมาเลเซีย

ในงานประชุมได้มีการบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนและงานวิจัยทางด้านชีววิทยา และมีการนำเสนอผลงานของคณาจารย์และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ทั้งในรูปแบบบรรยายและโปสเตอร์

การเรียนการสอนชีววิทยาในโลกปัจจุบัน

การสอนเทคนิค PCR อย่างง่าย โดยการทำ Kitchen PCR ซึ่งเป็นโปรแกรมการทดลองเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชที่ระดับดีเอ็นเอ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นประเด็นสำคัญในโลกปัจจุบัน ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจความหลากหลายทางนิเวศวิทยาและสัณฐานวิทยาเป็นอย่างดี แต่ความเข้าใจความหลากหลายทางพันธุกรรมยังมีอยู่น้อย ดังนั้น จึงมีการพัฒนาการเรียนการสอนโดยการทำเทคนิค PCR อย่างง่าย Kitchen PCR ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ การสกัดดีเอ็นเอจากเนื้อเยื่อพืชใน Tris buffer การเพิ่มปริมาณของบริเวณจีโนมของพลาสติด คือ psbA-tmH intergenic region โดยวิธี PCR และการวิเคราะห์ชิ้นส่วนดีเอ็นเอที่เพิ่มปริมาณได้โดยเทคนิค gel electrophoresis และการย้อมเจลด้วย ethidium bromide หรือ Fast Blast DNA stain เทคนิค Kitchen PCR ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจความหลากหลายทางพันธุกรรม และเทคนิคทางพันธุศาสตร์โมเลกุลได้

การจัดกิจกรรม Gallery Walk สำหรับการเรียนการสอนชีววิทยา ซึ่งเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ทำให้นักศึกษาได้มีการนำเสนอผลงานของตนเองกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน และอาจารย์จะได้ทำการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาที่นักศึกษาเตรียมมานำเสนอและประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ จากผลงานวิจัยในห้องเรียน พบว่า กิจกรรม Gallery Walk เป็นกลยุทธ์ที่ดีในการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาส่วนใหญ่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่ตนเองเตรียมมานำเสนอต่อเพื่อนร่วมชั้นเป็นอย่างดี นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับกิจกรรมนี้ และอยากให้มีการจัดกิจกรรมแบบนี้อีกในการเรียนการสอนด้านชีววิทยา อย่างไรก็ตาม การจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์แบบบอกความรู้ (didactic approaches) [คือ การจัดการเรียนรู้ที่สอดแทรกธรรมชาติของวิทยาศาสตร์เข้าไปในบทเรียนโดยการให้ข้อมูล เช่น การบรรยาย หรือ ยกตัวอย่าง แต่ไม่ได้มีกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ หรือประสบการณ์จัดไว้ให้นักเรียน (ที่มา: kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/6317/10/Chapter1.pd)] ก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสอนผู้เรียนใน generation Y และ Z

การพัฒนาสื่อการสอนทางการทดลอง เรื่อง Central dogma เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนการ transcription และ translation โดยการใช้ระบบ wheat-germ cell-free protein synthesis systems เนื่องจากเมล็ดข้าวสาลีประกอบด้วยสารอาหารและกระบวนการที่รวมทั้งเอนไซม์ในปฏิกิริยาที่จะทำงานได้ในหลอดทดลอง วัตถุดิบที่ไม่เป็นอันตรายและไม่ขัดต่อข้อโต้แย้งทางจริธรรม วัสดุที่ใช้ในการสอนประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรก คือ กระบวนการ transcription โดยการสังเกตสีที่เกิดจากการใช้สีย้อม (dye) ที่จำเพาะต่อ RNA ขั้นตอนที่สอง คือ กระบวนการ translation โดยการสังเกตการเรืองแสง (luminescence) จาก green fluorescent protein (GFP) ที่ถูกสังเคราะห์โดย wheat-germ cell-free systems การทดลองดังกล่าวมีประสิทธิภาพอย่างมากทำให้นักศึกษาเข้าใจหลักการของ Central dogma ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันสื่อการสอนนี้ได้พัฒนาเป็น experimental kit และมีจำหน่ายแล้วด้วย

การเสนองานวิจัยในรูปแบบบรรยายและโปสเตอร์

ในงานประชุมมีการแบ่งการนำเสนอผลงานวิจัยในภาคบรรยายออกเป็นห้องต่าง ๆ ได้แก่ Research in biology, Creating the next generation of biology teachers, The Endangered Planet-How can Biology Education help?, Seeing the living world in a new light-Technology in biology education, Biology education in an X, Y, Z world และ Assessment beyond examinations biology education in an X, Y, Z World การเข้าร่วมฟังบรรยายในหัวข้อวิจัยต่าง ๆ ทำให้ได้รับความรู้ด้านงานวิจัยและเทคนิคการสอนที่ทันสมัยที่สามารถนำกลับมาพัฒนาด้านทักษะการสอนและงานวิจัยได้เป็นอย่างดี 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=352
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:36:43   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง