รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : จีโนมิกส์
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การปรับปรุงพันธุ์พืชตระกูลแตงโดยใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์
พืชตระกูลแตง (Cucurbitaceae) ประกอบด้วยแตงกวา มะระ เมล่อน สควอช แตงโม และฟักทอง โดยแตงกวาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและเป็นพืชต้นแบบสำหรับการศึกษาการกำหนดเพศและชีววิทยาของท่อลำเลียงในพืช การศึกษาจีโนมของแตงกวาได้มีการหาลำดับเบสได้แล้ว ลำดับเบสของจีโนมจะเป็นประโยชน์ทำให้เข้าใจลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ การแสดงออกของเพศ การต้านทานโรค การสังเคราะห์สารที่ทำให้เกิดรสขม (cucurbitacin) และกลิ่นหอม นอกจากนี้ จีโนมแตงกวาจะเป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่าสำหรับการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์แตงกวาให้เป็นพันธุ์การค้า และการผลิตสารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีฤทธิ์ต้านมะเร็งอีกด้วย
คำสำคัญ : การปรับปรุงพันธุ์พืช  เทคโนโลยีจีโนมิกส์  พืชตระกูลแตง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5253  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 7/1/2561 8:31:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 0:01:54
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » จีโนมและจีโนมิกส์
การเข้าร่วมประชุมวิชาการจีโนมิกส์และพันธุศาสตร์ ได้เข้าร่วมรับฟังการเสนอผลงานทางวิชาการ ดังนี้ สิ่งมีชีวิตต้นแบบ (model organisms) ได้ถูกนำมาใช้ในการวิจัยอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ เช่น เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะห้องปฏิบัติการ วงจรชีวิตสั้น จีโนมมีขนาดเล็ก สิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่ใช่ต้นแบบ (non-model organisms) มีการนำมาศึกษาได้ยากกว่า แต่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจ กำลังเป็นที่สนใจในการนำมาศึกษาวิจัย เนื่องจากพัฒนาการด้านเทคโนโลยีจีโนมิกส์รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม (genome editing) ได้ถูกพัฒนาขึ้นมานานหลายทศวรรษ จากระบบ zinc-finger endonucleases (ZFNs), transcription-activator like effector nuclease (TALENs) จนถึงเทคนิคที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ ระบบ clustered regularly interspaced short palindromic repeats (CRISPR) / CRISPR-associated (Cas) protein 9 เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมได้ถูกนำมาใช้เพื่อการบำบัดรักษาโรคด้วยยีน (gene therapy) ในโรคทางพันธุกรรมหลายชนิด
คำสำคัญ : การปรับแต่งจีโนม  จีโนม  จีโนมิกส์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 6152  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 6/9/2559 17:15:47  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 10:12:18
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ จากระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์
การเข้าร่วมประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 19 “พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์: จากการศึกษาระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์” เมื่อวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมเซ็นทารา แอนด์ คอนเวนชั่นเซนเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ในงานประชุมได้มีการบรรยายพิเศษ และบรรยายรับเชิญโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์ สาขามนุษยพันธุศาสตร์ และสาขาพันธุศาสตร์ของพืช สัตว์ จุลินทรีย์ และอื่น ๆ นอกจากนี้มีการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบบรรยายและโปสเตอร์ หัวข้อการบรรยายพิเศษและการบรรยายรับเชิญ ได้แก่ พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์กับการปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุศาสตร์สู่พัฒนาการด้านการประมง เทคโนโลยีจีโนมิกส์เพื่อการศึกษาพันธุศาสตร์ในพืช การประยุกต์ใช้พันธุศาสตร์กับการศึกษานิเวศวิทยา เป็นต้น และมีการอภิปราย เรื่อง พืชเทคโนชีวภาพ: ความจริงวันนี้ ในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าของงานวิจัยด้านพันธุศาสตร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาพัฒนาการเรียนการสอน และการทำงานวิจัยต่อไป
คำสำคัญ : การปรับปรุงพันธุ์  จีโนมิกส์  พันธุศาสตร์  พืชเทคโนชีวภาพ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 8558  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 7/9/2558 4:55:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 8:47:24
เกร็คความรู้จากการประชุมวิชาการ » การศึกษาทางพันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ยุคใหม่ (Next generation sequencing for genetics and genomics studies)
การศึกษาทางพันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ยุคใหม่ (Next generation sequencing for genetics and genomics studies)เป็นเทคนิคใหม่ที่แสดงถึงการพัฒนาขององค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำไปสู่การพัฒนาวิธีการใหม่ๆในการศึกษาทางด้านพันธุศาสตร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิจัยและพัฒนาศักยภาพในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งองค๋ความรู้ต่างเหล่านี้จะมีประโยชน์อย่างมากต่อ มนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อม
คำสำคัญ : Next generation sequencing for genetics and genomics studies  จีโนมิกส์  พันธุศาสตร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 7199  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุภารัตน์ ลีธนัชอุดม  วันที่เขียน 1/9/2557 9:13:11  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 17:45:29