สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566
วันที่เขียน 22/1/2567 22:18:42     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 12:40:51
เปิดอ่าน: 168 ครั้ง

การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566 “นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ” session 6 เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรด้านพืช หัวข้อ เรื่อง การแก้ไขยีน Pi21 โดยระบบ CRISPR/Cas9 เพื่อให้ข้าวต้านทานโรคไหม้ การจัดกลุ่มพันธุ์ข้าวไทยด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์ที่แตกต่างของยีนซึ่งเกี่ยวข้องกับความทนแล้ง เครื่องหมายไมโครแซตเทลไลต์ที่แยกความแตกต่างระหว่างข้าวโฟเลตสูงและต่ำ และความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนที่เกี่ยวข้องกับการออกดอกในลำไยพันธุ์ต่าง ๆ จากการกระตุ้นด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรต

การแก้ไขยีน Pi21 โดยระบบ CRISPR/Cas9 เพื่อให้ข้าวต้านทานโรคไหม้: โรคไหม้เกิดจากเชื้อราทำให้ทำลายผลผลิตของข้าว ยีน Pi21 เป็นยีนควบคุมลักษณะความต้านทานต่อโรคไหม้ มีรหัสสร้างโปรตีน proline-rich ที่มีส่วนประกอบสำคัญ คือ putative heavy-metal-binding domain  เป็นยีนต้านทานโรคไหม้ที่ไม่จำเพาะต่อชนิดของเชื้อรา และทำให้พืชมีความต้านทานแบบวงกว้าง การแก้ไขยีน Pi21 ด้วยระบบ CRISPR/Cas9 สามารถทำให้ข้าวมีความต้านทานต่อโรคไหม้เพิ่มขึ้นได้

การจัดกลุ่มพันธุ์ข้าวไทยด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์ที่แตกต่างของยีนซึ่งเกี่ยวข้องกับความทนแล้ง: การเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับความทนแล้ง 4 ยีน ในข้าวไทย 15 พันธุ์ พบว่า มีความแตกต่างจำนวน 145 ตำแหน่ง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 มีลักษณะรากลึกและทนแล้ง กลุ่มที่ 2 ไวต่อความแล้ง กลุ่มที่ 3 มีลักษณะรากตื้น และกลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มข้าวไทยอินดิกา ผลที่ได้สามารถนำบริเวณลำดับนิวคลีโอไทด์ที่แตกต่างไปออกแบบเครื่องหมายดีเอ็นเอ และพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอที่สัมพันธ์กับความทนแล้งได้

เครื่องหมายไมโครแซตเทลไลต์ที่แยกความแตกต่างระหว่างข้าวโฟเลตสูงและต่ำ: โฟเลตหรือวิตามินบี 9 มีประโยชน์ต่อร่ายกายมนุษย์ และช่วยป้องกันโรคมะเร็ง การพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีโฟเลตสูงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคข้าว การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดไมโครแซตเทลไลต์จำนวน 27 เครื่องหมาย พบว่า มี  5 เครื่องหมาย ที่สามารถให้ความแตกต่างระหว่างข้าวที่มีโฟเลตสูงและข้าวที่มีโฟเลตต่ำ เครื่องหมายดีเอ็นเอที่ได้จะนำไปศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องหมายดีเอ็นเอกับปริมาณโฟเลต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีปริมาณโฟเลตสูงต่อไป

ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนที่เกี่ยวข้องกับการออกดอกในลำไยพันธุ์ต่าง ๆ จากการกระตุ้นด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรต: การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของลำไย โดยใช้ไพรเมอร์ที่ออกแบบมาจากลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนที่แสดงออกแตกต่างกันระหว่างลำไยที่ไม่ได้รับและได้รับสารโพแทสเซียมคลอเรต พบว่า ไพรเมอร์ LcAF9 ให้แถบดีเอ็นเอที่ชัดเจนและแสดงความแตกต่างของลำไยได้ ดังนั้น สามารถนำไปพัฒนาเป็นเครื่องหมายดีเอ็นเอเพื่อระบุพันธุ์ลำไย และนำไปวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ เพื่อศึกษาหน้าที่ของยีนและกลไกการออกดอกของลำไยต่อไป

เอกสารอ้างอิง

https://conference.mju.ac.th/index.php/abs

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1421
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง