พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ จากระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์
วันที่เขียน 7/9/2558 4:55:48     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 11:51:24
เปิดอ่าน: 8540 ครั้ง

การเข้าร่วมประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 19 “พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์: จากการศึกษาระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์” เมื่อวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมเซ็นทารา แอนด์ คอนเวนชั่นเซนเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ในงานประชุมได้มีการบรรยายพิเศษ และบรรยายรับเชิญโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์ สาขามนุษยพันธุศาสตร์ และสาขาพันธุศาสตร์ของพืช สัตว์ จุลินทรีย์ และอื่น ๆ นอกจากนี้มีการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบบรรยายและโปสเตอร์ หัวข้อการบรรยายพิเศษและการบรรยายรับเชิญ ได้แก่ พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์กับการปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุศาสตร์สู่พัฒนาการด้านการประมง เทคโนโลยีจีโนมิกส์เพื่อการศึกษาพันธุศาสตร์ในพืช การประยุกต์ใช้พันธุศาสตร์กับการศึกษานิเวศวิทยา เป็นต้น และมีการอภิปราย เรื่อง พืชเทคโนชีวภาพ: ความจริงวันนี้ ในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าของงานวิจัยด้านพันธุศาสตร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาพัฒนาการเรียนการสอน และการทำงานวิจัยต่อไป

หัวข้อการบรรยายพิเศษและการบรรยายรับเชิญ

พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์กับการปรับปรุงพันธุ์พืช 

การปรับปรุงพันธุ์พืชแบบมาตรฐานเพื่อสร้างพืชพันธุ์ใหม่ เป็นวิธีการที่ทำกันมานานกว่า 50 ปี เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา โดยเฉพาะวิชาพันธุศาสตร์ประชากรและพันธุศาสตร์ปริมาณ ร่วมกับการใช้ทักษะและความชำนาญของนักปรับปรุงพันธุ์ ตัวอย่างของความสำเร็จได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียว คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการใช้ประโยชน์จากความรู้ทางพันธุศาสตร์ที่เป็นการใช้ยีนร่วมกัน เป็นยีนด้อยที่ควบคุมคุณภาพในการรับประทานจากข้าวโพดต่างชนิดกัน ได้แก่ ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดหวาน และข้าวโพดหวานพิเศษ มาปรับปรุงคุณภาพของข้าวโพดข้าวเหนียวให้ดีขึ้น จนสามารถสร้างนวัตกรรมชุดพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียว 5 พันธุ์ ได้สำเร็จ ทำให้ข้าวโพดข้าวเหนียวมีมูลค่าเพิ่มขึ้นและมีศักยภาพด้านการตลาดสูงขึ้นด้วย นับเป็นต้นแบบของการสร้างนวัตกรรม เริ่มจากเชื้อพันธุกรรม สู่พันธุ์พืชใหม่และผลิตภัณฑ์อาหาร ที่นำไปสู่การสร้างนักปรับปรุงพันธุ์พืช การเพิ่มรายได้ การเพิ่มสุขภาวะและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย

พันธุศาสตร์สู่พัฒนาการด้านการประมง

ความก้าวหน้าทางพันธุศาสตร์มีส่วนสำคัญทำให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น การปรับปรุงพันธุ์ปลานิลสายพันธุ์ GIFT และพันธุ์กุ้งขาวปาซิฟิกต้านทานโรค TSV ในระยะแรกการปรับปรุงพันธุ์ทำโดยการคัดเลือกจากลักษณะปรากฏ ต่อมามีการคัดเลือกด้วยเครื่องหมายโมเลกุล ที่เรียกว่า Marker Assisted Selection (MAS) การศึกษา genome-wide association / selection ซึ่งเป็นการศึกษา SNPs จำนวนมาก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ

เทคโนโลยีจีโนมิกส์เพื่อการศึกษาพันธุศาสตร์ในพืช

การเปรียบเทียบจีโนมของพืชแต่ละชนิด จะทำให้สามารถค้นหาความแตกต่างทางพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุที่ทำให้พืชแต่ละชนิดมีฟีโนไทป์แตกต่างกันได้ เช่น การใช้เทคนิค genome-wide genotyping ที่เป็นการคัดเลือกจาก single nucleotide polymorphisms (SNPs) markers ทำให้สร้างแผนที่จีโนมที่มีความละเอียดสูง และมีประสิทธิภาพในการค้นหาการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือ markers ที่ยึดติดกับยีนสำคัญในพืชได้

การประยุกต์ใช้พันธุศาสตร์กับการศึกษานิเวศวิทยา

ปัจจุบันได้มีการนำข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์มาใช้ในการระบุสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า “ดีเอ็นเอบาร์โค้ด” ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ระดับความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์เพื่อระบุชนิดของสิ่งมีชีวิต จากการศึกษาในแมลงริ้นดำในประเทศไทย พบว่า เครื่องหมายดีเอ็นเอบาร์โค้ดสามารถระบุสปีชีส์ และนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษานิเวศวิทยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

การเข้าร่วมรับฟังการอภิปราย เรื่อง พืชเทคโนชีวภาพ: ความจริงวันนี้

เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม (Genetic engineering) สามารถนำยีนดีถ่ายฝากให้สิ่งมีชีวิต เพื่อให้แสดงออกลักษณะดีตามต้องการได้ ผลิตผลที่ได้ เรียกว่า จีเอ็มโอ (Genetically Modified Organism) ถ้าเป็นพืชก็เรียกว่า พืชเทคโนชีวภาพ (Biotech Crop) หรือ พืชจีเอ็ม พืชเทคโนโลยีชีวภาพ ได้รับการพัฒนามาเกือบ 20 ปี ได้รับความนิยมยอมรับกันทั่วโลกอย่างรวดเร็ว เนื่องจากประโยชน์ที่ผู้ผลิต ผู้บริโภค รวมทั้งประชาคมทั่วไปได้รับผลประโยชน์ชัดเจน ประเทศต่าง ๆ กำลังนิยมใช้ พืชเทคโนชีวภาพรวมหลายลักษณะ (stacked traits) ที่มีหลายลักษณะดีรวมกัน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ ใช้ข้าวโพดบีทีที่มีความต้านทานสารกำจัดวัชพืช เป็นต้น และในอนาคตอาจรวมเอาลักษณะคุณค่าทางโภชนาการสูงเข้าไปด้วย

ประเทศไทยนำเข้าถั่วเหลืองจีเอ็มเพื่อใช้เป็นอาหารคนและสัตว์มาเกินกว่าสิบปี รวมทั้งข้าวโพดจีเอ็มบางส่วน ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนม่าร์ก็ปลูกฝ้ายบีทีแล้ว เป็นต้น ประเทศบังกลาเทศ ได้อนุมัติให้ปลูกมะเขือม่วงบีที เมื่อเดือนตุลาคม 2556 ทำให้เปิดโอกาสด้านการเงินให้กับเกษตรกรที่ยากจนในประเทศ และลดการสัมผัสสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่ใช้ในมะเขือม่วงได้ถึงร้อยละ 70-90 ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการอนุมัติมันฝรั่ง InnateTM เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2557 เป็นมันฝรั่งที่ลดการผลิตสาร acrylamide ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง เมื่อต้องปรุงเป็นอาหารในสภาพอุณหภูมิสูง ยิ่งไปกว่านั้น ยังเพิ่มความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค โดยลดการสูญเสียได้ถึงร้อยละ 40 อันเนื่องจากมันฝรั่งจะไม่เปลี่ยนสีเมื่อปอกเปลือก หรือเกิดแผลฟกช้ำเพียงเล็กน้อย ในต้นปี 2560 ประเทศในแอฟริกาที่ได้รับการคัดเลือก จะได้รับข้าวโพดเทคโนชีวภาพพันธุ์แรกที่ทนแล้งพันธุ์ DroughtGardTM ซึ่งผลิตจากสหรัฐอเมริกา ที่จะใช้เป็นอาหารหลักสำหรับชาวแอฟริการที่ยากจนมากกว่า 300 ล้านคน

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 1:29:15   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ
โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ ในวันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 08.30 - 15.00 น. ณ ห้องประชุม 2 อาค...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 23/2/2567 23:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 22:32:54   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง