มะเขือเทศกาบาและปลาแก้ไขยีนในญี่ปุ่น
วันที่เขียน 20/7/2566 8:41:52     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/7/2567 10:37:55
เปิดอ่าน: 3625 ครั้ง

เทคนิคการแก้ไขยีนหรือการแก้ไขจีโนม (gene/genome editing) เป็นการเปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอเป้าหมายโดยการตัดดีเอ็นเอในจีโนมของสิ่งมีชีวิตและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงยีนในระหว่างกระบวนการซ่อมแซมดีเอ็นเอ ประเทศญี่ปุ่นใช้เทคนิคแก้ไขยีนระบบ CRISPR/Cas9 ผลิตมะเขือเทศแก้ไขยีน 1 ชนิด และปลาแก้ไขยีน 2 ชนิด ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายและบริโภคเป็นอาหารได้แล้ว โดยไม่ต้องผ่านการตรวจสอบเหมือนอาหารที่มาจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เนื่องจากเทคนิคการแก้ไขยีนไม่มีการใส่ดีเอ็นเอแปลกปลอม (foreign gene) เข้าไปในสิ่งมีชีวิต

เทคนิคการแก้ไขยีนหรือการแก้ไขจีโนม (gene/genome editing) เป็นการเปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอเป้าหมายโดยการตัดดีเอ็นเอในจีโนมของสิ่งมีชีวิต และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงยีนในระหว่างกระบวนการซ่อมแซมดีเอ็นเอ  เทคนิคการแก้ไขยีนระบบ CRISPR/Cas9 ได้รับความสนใจและมีประสิทธิสูง ทำหน้าที่คล้ายกรรไกรทางพันธุกรรมสามารถตัดแต่งดีเอ็นเอในพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ได้อย่างแม่นยำสูงมาก เทคนิค CRISPR/Cas9 ถูกคิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน คือ เอมมานูเอล ชาน์เพนเทียร์ (Emmanuelle Charpentier) และเจนนิเฟอร์ เอ โดด์นา (Jennifer A. Doudna) ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ในปี ค.ศ. 2020

ประเทศญี่ปุ่นใช้เทคนิคแก้ไขยีนระบบ CRISPR/Cas9 ผลิตมะเขือเทศแก้ไขยีน 1 ชนิด และปลาแก้ไขยีน 2 ชนิด รวมทั้งหมด 3 รายการ ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายและบริโภคเป็นอาหารได้แล้ว โดยไม่ต้องผ่านการตรวจสอบเหมือนอาหารที่มาจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เนื่องจากเทคนิคการแก้ไขยีนไม่มีการใส่ดีเอ็นเอแปลกปลอม (foreign gene) เข้าไปในสิ่งมีชีวิต

ญี่ปุ่นพัฒนามะเขือเทศพันธุ์ Sicilian Rouge High GABA ของบริษัท Sanatech Seed โดยใช้เทคโนโลยีการแก้ไขยีนระบบ CRISPR/Cas9 เพื่อให้มี gamma-aminobutyric acid (GABA) ปริมาณสูง GABA เป็นกรดอะมิโนที่พบได้ในพืช สัตว์ และแบคทีเรีย ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท ช่วยให้ผ่อนคลาย และช่วยลดความดันโลหิต มะเขือเทศแก้ไขยีนนี้มีปริมาณ GABA สูงกว่ามะเขือเทศทั่วไป 4-5 เท่า

เอนไซม์ glutamate decarboxylase (GAD) เป็นเอนไซม์หลักในการสังเคราะห์ GABA ประกอบด้วยโดเมน (autoinhibitory domain) ด้าน C-terminal ที่ทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ เมื่อกำจัดโดเมนนี้ออก จะทำให้เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ ในจีโนมของมะเขือเทศมียีน GAD 5 ยีน การกำจัด autoinhibitory domain ของยีน SIGAD2 และ SIGAD3 โดยเทคนิคการแก้ไขยีนระบบ CRISPR/Cas9 ทำให้เพิ่มปริมาณ GABA สะสมอยู่ในมะเขือเทศแก้ไขยีนในปริมาณสูง โดยญี่ปุ่นได้ประกาศว่ามะเขือเทศแก้ไขยีน จะไม่ถูกควบคุมเหมือนพืชและผลิตภัณฑ์ที่มาจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม

นอกจากนี้ประเทศญี่ปุ่น ยังได้พัฒนาปลาแก้ไขยีนด้วยเทคนิค CRISPR/Cas9 จำนวน 2 ชนิด ซึ่งได้รับอนุญาตให้จำหน่ายได้แล้ว ได้แก่ ปลาปักเป้าเสือ (tiger puffer fish) ได้รับการแก้ไขยีน leptin receptor gene ด้วยระบบ CRISPR ยีนนี้มีรหัสสร้างโปรตีนที่ทำหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร เมื่อทำการแก้ไขยีนจะทำให้ยีนนี้หยุดการทำงาน ทำให้ปลาแก้ไขยีนมีความอยากอาหารและน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปลาแก้ไขยีนมีน้ำหนักมากกว่าปลาปักเป้าเสือทั่วไปถึง 1.9 เท่า อีกชนิดหนึ่ง คือ ปลาทรายแดง (red sea bream fish) ได้รับการแก้ไขยีน myostatin gene ด้วยระบบ CRISPR ยีนนี้มีรหัสสร้างโปรตีนมัยโอสแตตินที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อไม่ให้มากเกินไป เมื่อทำการแก้ไขยีนจะทำให้ยีนนี้หยุดการทำงาน ทำให้ปลาแก้ไขยีนมีขนาดใหญ่กว่าปลาทรายแดงทั่วไปถึง 1.2 เท่า เมื่อเลี้ยงด้วยปริมาณอาหารที่เท่ากัน เมื่อเลี้ยงปลาแก้ไขยีนทั้ง 2 ชนิดนี้ จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้

เอกสารอ้างอิง

สัมมนา Webinar เรื่อง Gaba Tomato and GM Eggplant : Thailand’s Opportunities” เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 ผ่านระบบออนไลน์ ด้วยโปรแกรม Zoom จัดโดยสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ (Biotechnology Alliance Association; BAA)

Nonaka S, Arai C, Takayama M, Matsukura C, Ezura H. Efficient increase of ɣ-aminobutyric acid (GABA) content in tomato fruits by targeted mutagenesis. Sci Rep. 2017 Aug 1;7(1):7057

https://www.isaaa.org/kc/cropbiotechupdate/files/thai/thai-2021-03-24.pdf

https://kasettumkin.com/agriculture-news/article_64832

https://www.nature.com/articles/s41587-021-01197-8

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การใช้งาน ChatGPT » เทคนิคการใช้ AI: Chat GPT ช่วยทำงานวิจัยให้สำเร็จ
การใช้งาน ChatGPT ในงานวิจัยเพื่อให้ผู้วิจัยสามารถรวบรวมข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะการโต้ตอบกับ ChatGPT เป็นภาษาอังกฤษ ที่สามารถรวบรวมข้อมูลมาจากหลายแหล่งทั่วโลก ขณะที่การโต้ตอบด้วยภาษาไทยยังม...
AI  ChatGPT  งานวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ก่องกาญจน์ ดุลยไชย  วันที่เขียน 18/7/2567 10:41:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/7/2567 1:52:31   เปิดอ่าน 43  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/7/2567 1:09:59   เปิดอ่าน 47  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/7/2567 14:46:44   เปิดอ่าน 49  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/7/2567 3:47:24   เปิดอ่าน 63  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/7/2567 9:10:59   เปิดอ่าน 74  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง