พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช
วันที่เขียน 31/8/2557 18:00:33     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/12/2567 22:22:15
เปิดอ่าน: 4926 ครั้ง

พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 มีหลักการและเหตุผล คือ ส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์พืช และพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ อนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์พันธุ์พืชเก่า และส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล บำรุง รักษา และใช้ประโยชน์พันธุ์พืชอย่างยั่งยืน การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ได้กล่าวถึง พันธุ์พืช คุณสมบัติของพันธุ์พืชที่สามารถได้รับการคุ้มครอง สิทธิของนักปรับปรุงพันธุ์ และอายุการคุ้มครอง นอกจากนี้ การคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป และพันธุ์พืชป่า มีแนวทางปฏิบัติตามที่กำหนดในมาตรา 52 และมาตรา 53 การทราบกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้พันธุ์พืช จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานวิจัยในการปรับปรุงพันธุ์ และการพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ รวมถึงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากพืชเก่าได้อย่างถูกต้อง

พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 มีหลักการและเหตุผล ดังนี้

  1. ส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์ และพัฒนาพันธุ์พืชใหม่
  2. สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาพันธุ์พืชใหม่
  3. อนุรักษ์ และพัฒนาการใช้ประโยชน์พันธุ์พืชเก่า
  4. ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล บำรุง รักษา และใช้ประโยชน์พันธุ์พืชอย่างยั่งยืน

การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ได้กล่าวถึง พันธุ์พืช

คุณสมบัติของพันธุ์พืชที่สามารถได้รับการคุ้มครอง สิทธิของนักปรับปรุงพันธุ์ และอายุการคุ้มครอง ไว้ดังนี้

พันธุ์พืช 

          พันธุ์พืชต้องประกอบด้วยลักษณะต่อไปนี้

  1. มีความสม่ำเสมอของลักษณะประจำพันธุ์ทางด้านสัณฐานวิทยา สรีรวิทยา หรือคุณสมบัติอื่น ๆ ที่เป็นผลเนื่องจากการแสดงออกของสภาพทางพันธุกรรมที่จำเพาะต่อพันธุ์พืชนั้น
  2. มีความคงตัวของลักษณะประจำพันธุ์
  3. มีลักษณะประจำพันธุ์แตกต่างจากพันธุ์อื่นอย่างเด่นชัด

 

 

องค์ประกอบของพันธุ์พืชใหม่ที่จดทะเบียนได้

          พันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ได้ต้องมีองค์ประกอบดังนี้

  1. พันธุ์พืชใหม่
  2. มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากพันธุ์พืชอื่น
  3. มีความสม่ำเสมอ
  4. มีความคงตัว

ลักษณะเฉพาะ คือ มีความแตกต่างจากพันธุ์อื่นที่ปรากฏอยู่ในวันยื่นขอจดทะเบียน โดยความแตกต่างนั้นเกี่ยวข้องกับลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อการเพาะปลูก การบริโภค เภสัชกรรม การผลิต การแปรรูป

ความใหม่ คือ ไม่มีการนำส่วนขยายพันธุ์มาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นการขายหรือจำหน่ายด้วยประการใด ทั้งในและนอกราชอาณาจักรโดยนักปรับปรุงพันธุ์หรือด้วยความยินยอมของนักปรับปรุงพันธุ์เกินกว่า 1 ปีก่อนวันยื่นขอจดทะเบียน

          ความสม่ำเสมอ คือ มีความสม่ำเสมอของลักษณะประจำพันธุ์ทางด้านสัณฐานวิทยา สรีรวิทยาหรือคุณสมบัติอื่นที่เป็นผลเนื่องจากการแสดงออกของสภาพทางพันธุกรรมที่จำเพาะต่อพันธุ์พืชนั้น

          ความคงตัว คือ มีความคงตัวของลักษณะประจำพันธุ์ที่สามารถแสดงลักษณะประจำพันธุ์ได้ทุกครั้งของการผลิตส่วนขยายพันธุ์พืชนั้น เมื่อขยายพันธุ์ด้วยวิธีทั่วไปสำหรับพืชนั้น

สิทธิของนักปรับปรุงพันธุ์

          ผู้ทรงสิทธิมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการผลิต ขาย จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้เพื่อการทำอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งส่วนขยายพันธุ์ของพันธุ์พืชใหม่

อายุการคุ้มครอง

          12 ปี สำหรับพืชที่ให้ผลผลิตภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี

          17 ปี สำหรับพืชที่ให้ผลผลิตในเวลาเกินกว่า 2 ปี

          27 ปี สำหรบพืชที่ใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้

 

การคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป และพันธุ์พืชป่า

          พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป คือ พันธุ์พืชที่กำเนิดภายในประเทศหรือมีอยู่ในประเทศ ซึ่งได้มีการใช้อย่างแพร่หลาย และให้หมายความรวมถึงพันธุ์พืชที่ไม่ใช่พันธุ์พืชใหม่ พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น หรือพันธุ์พืชป่า

          พันธุ์พืชป่า ได้แก่ พันธุ์พืชที่มีหรือเคยมีอยู่ในประเทศตามสภาพธรรมชาติและยังไม่ได้นำมาใช้เพาะปลูกอย่างแพร่หลาย

มาตรา 52

ผู้ใด เก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป พันธุ์พืชป่า หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพันธุ์พืชดังกล่าว เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ศึกษา ทดลอง หรือวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการค้า จะต้อง

  1. ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
  2. ทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์กับกองคุ้มครองพันธุ์พืช

มาตรา 53

ผู้ใดทำการศึกษา ทดลอง หรือวิจัยพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป พันธุ์พืชป่า หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพันธุ์พืชดังกล่าวที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในทางการค้าให้ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

 

ในการอบรมครั้งนี้ทำให้ได้ทราบกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้พันธุ์พืช ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานวิจัยในการปรับปรุงพันธุ์ และการพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ รวมถึงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากพืชเก่าได้อย่างถูกต้อง

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 The 50th International Congress on Science, Technology and Technology – based Innovation (STT50) พร้อมเสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์
ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 The 50th International Congress on Science, Technology and Technology – based Innovation (STT50) พ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน เพชรลดา กันทาดี  วันที่เขียน 6/12/2567 16:01:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/12/2567 11:41:54   เปิดอ่าน 14  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานผลการเข้าร่วมกิจกรรมแล้วนำไปใช้ประโยชน์ ประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50) » เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50)
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้าเข้าร่วมงาน "ประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50)" ในระหว่างวันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมดิ...
Poster  STT50     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน อนรรฆอร ศรีไสยเพชร  วันที่เขียน 28/11/2567 14:17:26  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/12/2567 19:46:08   เปิดอ่าน 41  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง