0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหาในชุดนี้ (งานตาม TOR ปี 2566) มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน
1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรร KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2566 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้)
2. ส่วนนำ
ดรรชนีในงานวิเคราะห์และทำรายการเอกสารของงานด้านโสตทัศน์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีหลายประเภท หลายรูปแบบ ในที่นี้นำเสนอดรรชนีที่ใช้แยกกลุ่ม/คอลเลกชัน, แยกกลุ่มเนื้อหาย่อยในแต่ละคอลเลกชัน (เช่น เอกสาร Green), แยกเล่ม (เช่น วารสาร Vol,No), แยกหน่วยงาน (เช่น คลังปัญญา), แยกดรรชนีพิเศษเฉพาะสื่อ ซึ่งอำนวยประโยชน์ต่อผู้ใช้คือทราบว่าเป็นสื่อประเภทใด (แต่ละประเภทมีลักษณะให้ข้อมูลเฉพาะตัว, ทราบกฎระเบียบการใช้หรือยืมใช้, ฯลฯ) ในแง่สารสนเทศศาสตร์จะอำนวยประโยชน์ในด้าน (1) การสืบค้นข้อมูล เช่น การสืบค้นตามกลุ่มเอกสาร/คอลเลกชัน, การสำรวจจำนวนสื่อที่มีโดยง่าย, การกรองข้อมูลของ ALIST ด้วย Leader, MaterialType, การกรองข้อมูลด้วยการสืบค้นบูลีนเชื่อมคำค้น (2) ความเป็นมาตรฐานของข้อมูล รูปแบบเดียวกัน, รายการโยง, ผู้ใช้ไม่สับสน (3) ความสม่ำเสมอและครบถ้วนในการทำดรรชนีของบรรณารักษ์ การทำดรรชนีเชิงลึก (4) การควบคุมทางบรรณานุกรม (bibliographic control) เช่น เอกสารของ/เกี่ยวกับ มจ. เอกสารเฉพาะคอลเลกชัน (5) การแสดงถึงคุณภาพและความเป็นมืออาชีพของวิชาชีพบรรณารักษ์ (6) การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (7) อื่นๆ เช่น ดรรชนีที่เหมาะสมกับเอกสารแต่ละประเภทหรือหัวข้อ/สาขา สถิติและรายงาน การพัฒนาบริการใหม่ๆ เช่น คลิปดิจิทัล บทความดิจิทัลที่ผู้ใช้เข้าถึงเอกสารในทันที บริการบรรณานุกรมผู้ใช้ (เช่น ภาพยนตร์ใหม่) การเพิ่มเติมหัวเรื่องใหม่เมื่อพบเอกสารเนื้อหาใหม่ๆ ตามสื่อชนิดหรือหัวข้อใหม่
3. ส่วนงานย่อยตาม TOR (นำมาจากเนื้อหาในหัวข้อเอกสารแต่ละ TOR ย่อย)
3. ดรรชนีที่จัดทำและลักษณะเด่นตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด (3) ภาพยนตร์ออนไลน์ฟรี
(ปี 2566=ภาพยนตร์ออนไลน์, ก่อนหน้านี้=ซีดีภาพยนตร์)
(1) Tag สำคัญที่ใช้คือ 245, 246, 260, 300, 508, 511, 520, 655, 700, 710, 856 (กรณีภาพยนตร์ออนไลน์ต้องมี) โดย 245^h กำหนดว่า ^h[videorecording] หรือที่ขยาย เช่น ^h[videorecording-publicthai] ; ^h[videorecording-shortfilm]
(2) มีการเก็บข้อมูล ภาพปก, และกรณีภาพยนตร์ออนไลน์ฟรี จะเก็บ URL link 856 ด้วย
(3) ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040, 6xx, 650, 655 (จากรหัส Genre of films), 69x (เช่น 691 ประเทศภาพยนตร์), Tag พิเศษ โดยเฉพาะ 586 (รางวัล, รายได้, อันดับ) โดยTag 508,511,700,710 (ชื่อผู้กำกับ นักแสดง) และ 520 (เรื่องย่อ) อาจรวบรวมภายหลังจากแหล่งข้อมูลอื่น , Tag 650 กำหนดดรรชนีควบคุมว่า ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xภาพยนตร์ และ ^xภาพยนตร์[ขยาย] เช่น ^xภาพยนตร์ต่างประเทศฟรี ; ^xภาพยนตร์ไทยฟรี ; ^xภาพยนตร์สั้นออนไลน์ และ 650 หัวเรื่องเกี่ยวกับรางวัล รายได้ อันดับ เช่น ^aภาพยนตร์^xรางวัลออสการ์
(4) ส่วน 008 ชนิด VM บางตำแหน่งลงรหัส q v l, leader=ngm, เข้า ALIST materialtype=VM (หมายเหตุ ตีความลงรายการว่าเป็นสื่อภาพยนตร์เป็นสำคัญ ไม่ใช่สื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์/ไฟล์คอมพิวเตอร์)
ลักษณะดรรชนีจำแนกกลุ่ม/คอลเลกชัน/การควบคุมรูปคำศัพท์ควบคุม/ฯลน ตาม KM
ที่สำคัญคือ
(1) ดรรชนีชนิดสื่อ/คอลเลกชัน (A) คือ 090 (call no.) ; [สื่อโสตทัศน์, OPAC กรองข้อมูล]
(2) ดรรชนีเกี่ยวกับ ม.แม่โจ้ (B) [เมื่อพบข้อมูล]
(3) ดรรชนีที่เป็นคำมีแบบแผน (C) คือ 650 ^aห้องสมุด^xคอล.^xภาพยนตร์ [และที่ขยาย] ; 586 รางวัล Prize—xxx (ไม่เป็น tag ตาม authority control จึงสืบค้นจาก keyword access)
(4) ดรรชนีหัวเรื่อง (รายการหลักฐาน) (D) คือ 6xx (ประเภทภาพยนตร์, ประเทศ), 650 (รางวัล, รายได้), 650 หัวเรื่องตามเนื้อหา ซึ่งมีคำว่า “ในภาพยนตร์” ต่อท้าย
(5) ดรรชนีอื่นๆ (E) คือ 6xx (ภาพยนตร์ใหม่), xxx (Orderจัดหา)
[End]