การวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์จำนวนทรัพยากรสารสนเทศประเภทประเภทหนังสือตั้งแต่สำนักหอสมุดเปิดให้บริการ ถึงเดือน ธันวาคม 2565 แยกตามหมวดหมู่ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2) เพื่อวิเคราะห์ปริมาณการใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือ ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2565 แยกตามคณะที่สังกัด ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ผลการวิเคราะห์จำนวนทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือของสำนักหอสมุด จำนวน 131,695 เล่ม ประกอบด้วยหนังสือทั่วไป จำนวน 84,653 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 64.28 รายงานการวิจัย จำนวน 8,804 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 6.69 วิทยานิพนธ์จำนวน 506 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 0.38 สิ่งพิมพ์รัฐบาล จำนวน 20,283 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 15.40 หนังสืออ้างอิง จำนวน 12,862 คิดเป็นร้อยละ 9.77 และนวนิยาย จำนวน 4,587 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 3.48
ผลการวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือ ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2565 มีจำนวนการใช้งานรวมทั้งสิ้น จำนวน 62,866 เล่ม ประกอบด้วย แบ่งเป็นหนังสือทั่วไป จำนวน 50,716 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 80.67 รายงานการวิจัย จำนวน 4,117 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 6.55 หนังสืออ้างอิง จำนวน 4,026 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 6.40 สิ่งพิมพ์รัฐบาล จำนวน 864 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 1.37 และนวนิยาย จำนวน 3,143 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 5.00
ผลการวิเคราะห์การยืมหนังสือจำแนกตามประเภทและหมวดหมู่ตามคณะที่สังกัดมีการยืมหนังสือภาษาไทยเปรียบเทียบกับจำนวนหนังสือภาษาไทยที่มีให้บริการของคณะและหน่วยงานต่าง ๆ ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2565 มีการยืมหนังสือภาษาไทย จำนวน 27,065 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 26.67 คณะที่ยืมหนังสือมากสุดคือ คณะผลิตกรรมการเกษตร ยืมหนังสือภาษาไทย จำนวน 5,657 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 5.57 ส่วนการยืมหนังสือภาษาอังกฤษเปรียบเทียบกับจำนวนหนังสือภาษาอังกฤษที่มีให้บริการ มีการยืมหนังสือภาษาอังกฤษ จำนวน 2,338 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 7.74 คณะที่ยืมหนังสือมากที่สุดคือ คณะวิทยาศาสตร์ ยืมหนังสือภาษาอังกฤษมากสุด จำนวน 438 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 1.45
ผลการวิเคราะห์การยืมหนังสือภาษาไทยกับจำนวนหนังสือภาษาไทยแยกตามหมวดหมู่ที่มีการยืมมากที่สุดคือ หมวด 600 มีการยืมจำนวน 6,823 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 23.63 ส่วนภาษาอังกฤษมีการยืมมากที่สุดคือ หมวด หมวด 600 มีการยืมจำนวน 872 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 7.25
การวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือ