0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหาในชุดนี้ (งานตาม TOR ปี 2566) มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน
1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรร KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2566 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้)
2. ส่วนนำ
ดรรชนีในงานวิเคราะห์และทำรายการเอกสารของงานด้านโสตทัศน์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีหลายประเภท หลายรูปแบบ ในที่นี้นำเสนอดรรชนีที่ใช้แยกกลุ่ม/คอลเลกชัน, แยกกลุ่มเนื้อหาย่อยในแต่ละคอลเลกชัน (เช่น เอกสาร Green), แยกเล่ม (เช่น วารสาร Vol,No), แยกหน่วยงาน (เช่น คลังปัญญา), แยกดรรชนีพิเศษเฉพาะสื่อ ซึ่งอำนวยประโยชน์ต่อผู้ใช้คือทราบว่าเป็นสื่อประเภทใด (แต่ละประเภทมีลักษณะให้ข้อมูลเฉพาะตัว, ทราบกฎระเบียบการใช้หรือยืมใช้, ฯลฯ) ในแง่สารสนเทศศาสตร์จะอำนวยประโยชน์ในด้าน (1) การสืบค้นข้อมูล เช่น การสืบค้นตามกลุ่มเอกสาร/คอลเลกชัน, การสำรวจจำนวนสื่อที่มีโดยง่าย, การกรองข้อมูลของ ALIST ด้วย Leader, MaterialType, การกรองข้อมูลด้วยการสืบค้นบูลีนเชื่อมคำค้น (2) ความเป็นมาตรฐานของข้อมูล รูปแบบเดียวกัน, รายการโยง, ผู้ใช้ไม่สับสน (3) ความสม่ำเสมอและครบถ้วนในการทำดรรชนีของบรรณารักษ์ การทำดรรชนีเชิงลึก (4) การควบคุมทางบรรณานุกรม (bibliographic control) เช่น เอกสารของ/เกี่ยวกับ มจ. เอกสารเฉพาะคอลเลกชัน (5) การแสดงถึงคุณภาพและความเป็นมืออาชีพของวิชาชีพบรรณารักษ์ (6) การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (7) อื่นๆ เช่น ดรรชนีที่เหมาะสมกับเอกสารแต่ละประเภทหรือหัวข้อ/สาขา สถิติและรายงาน การพัฒนาบริการใหม่ๆ เช่น คลิปดิจิทัล บทความดิจิทัลที่ผู้ใช้เข้าถึงเอกสารในทันที บริการบรรณานุกรมผู้ใช้ (เช่น ภาพยนตร์ใหม่) การเพิ่มเติมหัวเรื่องใหม่เมื่อพบเอกสารเนื้อหาใหม่ๆ ตามสื่อชนิดหรือหัวข้อใหม่
3. ส่วนงานย่อยตาม TOR (นำมาจากเนื้อหาในหัวข้อเอกสารแต่ละ TOR ย่อย)
4. ดรรชนีที่จัดทำและลักษณะเด่นตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด (4) การรวบรวมเอกสารคลังปัญญาแม่โจ้ [เพิ่มเติม]
(กรณีเอกสารออนไลน์แหล่งอื่น)
ในที่นี้ (ปี 2566) นำเสนอเฉพาะเอกสารออนไลน์ที่ชี้ไปยังแหล่งข้อมูลอื่นภายนอกห้องสมุด ม.แม่โจ้
(1) Tag สำคัญที่ใช้คือ 100, 245, 246, 260, 300, 520, 502 (หมายเหตุวิทยานิพนธ์), 700, 710, 650, 6xx, 856 โดย 245^h กำหนดว่า ^h[electronic resource-pdf] (หมายเหตุ : ข้อมูลที่นำเข้าระบบตามโครงการ/กิจกรรมรวบรวมเอกสารฯ เป็นการทำรายการเบื้องต้น (pre-catalog))
(2) ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040 (หมายเหตุ pre-catalog), 6xx ทั้งนี้ 6xx โดยเฉพาะ 650 หัวเรื่องทั่วไปจะได้คำเบื้องต้นมาจากห้องสมุดแหล่งข้อมูลด้วย, Tag 650 ดรรชนีควบคุมว่า ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xคลังปัญญาสถาบัน (พิเศษ) และ 710 ควรกำหนดดรรชนีควบคุมว่า ^aมหาวิทยาลัยแม่โจ้^x[...หัวเรื่องย่อย...]
(3) ส่วน 008 ชนิด CF บางตำแหน่งลงรหัส o, leader=nmm, เข้า ALIST materialtype=CF
ลักษณะดรรชนีจำแนกกลุ่ม/คอลเลกชัน/การควบคุมรูปคำศัพท์ควบคุม/ฯลน ตาม KM
ที่สำคัญคือ
(1) ดรรชนีชนิดสื่อ/คอลเลกชัน (A) คือ [วิจัย/วิทยานิพนธ์ ; OPAC กรองข้อมูล], [แยกชั้น คอลเลกชัน ของสายงานจดหมายเหตุ ม.แม่โจ้]
(2) ดรรชนีเกี่ยวกับ ม.แม่โจ้ (B) คือ 100/700 (ผู้แต่งบุคลากร ม.แม่โจ้), 110/710 (ผู้แต่งสถาบัน ม.แม่โจ้), 6xx (หัวเรื่อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และส่วนขยาย)
(3) ดรรชนีที่เป็นคำมีแบบแผน (C) คือ 650 ^aห้องสมุด^xคอล.^xคลังปัญญา (พิเศษ)
(4) ดรรชนีหัวเรื่อง (รายการหลักฐาน) (D) [กรณีหัวเรื่องเกี่ยวกับ ม.แม่โจ้ จัดอยู่ในข้อ (2) แล้ว]
(5) ดรรชนีอื่นๆ (E) เช่น xxx (สาขาวิชาที่เปิดสอนของ ม.แม่โจ้)
[End]