โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
“การนำเทคโนโลยี Web Service มาประยุกต์ใช้ในการบริหารสารสนเทศของมหาวิทยาลัย”
ครั้งที่ 2/2556 วันที่ 6 สิงหาคม 2556 เวลา 13.30-16.00 น.
ณ ห้องประชุม ชั้น 1 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
----------------------------------------------------------------
โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การนำเทคโนโลยี Web Service มาประยุกต์ใช้ในการบริหารสารสนเทศของมหาวิทยาลัย” ครั้งที่ 2 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2556 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 1 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งสิ้น 25 คน จากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัย สำนักหอสมุด สำนักวิจัยและส่งเสริมการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์ คณะบริหารและพัฒนาวิชาการ กองกลาง สำนักอธิการบดี และกองคลัง สำนักอธิการบดี โดยมีคณะคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และออกแบบสิ่งแวดล้อม เพิ่มเติมจากโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และได้กล่าวถึงที่มาของการจัดโครงการในครั้งนี้ ว่าเป็นการจัดโครงการต่อเนื่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอหน่วยงานตัวอย่างที่ได้นำเทคโนโลยี Web Service ไปประยุกต์ใช้ โดยครั้งนี้ ได้แนะนำคณะวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมเกษตร เป็นหน่วยงานตัวอย่าง จากหลายๆ หน่วยงานที่ได้ประสานงานนำไปใช้ประโยชน์ อาทิ คณะบริหารธุรกิจ และบัณฑิตวิทยาลัย ทั้งนี้หากหน่วยงานต้องการใช้บริการ Web Service สามารถจัดทำบันทึกข้อความและรายการข้อมูลที่ต้องการมายังศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบแบบ Client Server ของมหาวิทยาลัย ที่ทำให้ทุกหน่วยงานสามารถนำข้อมูลไปใช้ร่วมกันได้ โดยการเข้าถึงข้อมูล ยังมีความมั่นคงปลอดภัย อย่างมีประสิทธิภาพ
คณะวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมเกษตร ได้นำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้ ว่าเริ่มจากการปรึกษาหารือกับผู้บริหาร เพื่อไม่เกิดปัญหาการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อน เนื่องจากข้อมูลถูกกรอกและบันทึกผ่านระบบ e-Manage ซึ่งเดิมคณะฯ เคยพัฒนาระบบ แต่พบปัญหาการบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อน จึงหาวิธีการป้องกัน แก้ไข จึงประสานงานมายังศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อขอใช้บริการจาก Web Service และนำข้อมูลเผยแพร่ในเว็บไซด์ของคณะฯ ต่อไป โดยได้ดำเนินการกับระบบฐานข้อมูลในรายการเบื้องต้นได้แก่ โครงการวิจัย งานบริการวิชาการ และบุคลากร ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้คือ PHP Programming Language เทคนิดวิธีการพัฒนาระบบคือ การเปลี่ยนการติดต่อโดยตรงกับฐานข้อมูลเป็นการติดต่อผ่าน Web Services โดยไม่จำกัดด้านภาษาคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ที่ได้รับ
การพัฒนาระบบด้วยวิธีนี้ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน สรุปได้ว่า ก่อให้เกิดข้อดี ดังนี้
- ป้องกันการกรอกและบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อน
- ป้องกันการกรอกข้อมูลผิดพลาด
- การพัฒนาระบบรายงานไม่ต้องเริ่มต้นการพัฒนาจากศูนย์ ไม่ต้องออกแบบฐานข้อมูล พัฒนาระบบ หรือแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลใหม่
- ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือของข้อมูล
- มีผู้ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูล เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นฐานข้อมูลแหล่งเดียว
- เป็นการผลักดัน และก่อให้เกิด Data Center ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
- การสำรองข้อมูลเกิดขึ้นที่ส่วนกลาง
- การปรับปรุงแก้ไขเกิดขึ้นที่ส่วนกลาง
- การตกแต่งหน้าเว็บไซด์รายงานผล สามารถทำได้ด้วยตนเอง
ทั้งนี้หน่วยงานสามารถค้นหาความรู้เพิ่มเติมได้จาก Search Engine ทุกระบบ โดยใช้คำสำคัญ อาทิเช่น Web Service, NuSOAP เป็นต้น
ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ผู้พัฒนาระบบภายในหน่วยงาน ไม่ทราบว่ามีข้อมูลอะไรบ้างใน ระบบ e-Manage เนื่องจากไม่ใช้เป็นผู้กรอกข้อมูล และใช้ได้บาง Function เท่านั้น จึงขอให้มีการแนะนำข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ได้
ตอบ: หน่วยงานสามารถแจ้งรายการข้อมูล ชื่อฟิลด์ มายังศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศได้ โดยเอาโจทย์ที่ต้องการมาเป็นประเด็นในการจัดทำข้อมูล หากไม่มีข้อมูลในระบบ e-Manage จะได้นำรายการไปพัฒนาเพิ่มเติมได้ ซึ่งก่อให้เกิดการจัดทำข้อมูลร่วมกัน ผู้พัฒนาระบบจากคณะ/หน่วยงานต่างๆ ไม่ต้องเริ่มการพัฒนาจากศูนย์ ทำให้มหาวิทยาลัยก้าวสู่อนาคตได้เร็วขึ้น และข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน และเกิดการประสานงานกันระหว่างหน่วยงาน ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกัน ทั้งนี้รายงานข้อมูลที่ขอมาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เป็นรายการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพ
- การจัดทำรายงานในรูปแบบที่มีการสร้างตารางฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างหลายตาราง จะสามารถทำได้หรือไม่
ตอบ: ทีมพัฒนาระบบ e-Manage จะจัดดำเนินการให้ได้ ซึ่งหากเป็นการดำเนินการที่มีความซับซ้อน อาจต้องมีการใช้วิธีสร้าง Function ซ้อน Function เพื่อให้ได้ข้อมูลตามความต้องการของหน่วยงาน
- กรณีที่ต้องการรายการข้อมูลในลักษณะที่มีการคำนวณ จะสามารถทำได้หรือไม่
ตอบ: โดยปกติจะออกแบบ Service เป็นรายการข้อมูลดิบ และสามารถจัดทำในรูปแบบที่หน่วยงานต้องการได้ โดยหารือร่วมกันระหว่างทีมพัฒนาระบบ e-Mange และผู้พัฒนาระบบจากหน่วยงาน
- ในรายการข้อมูลที่มีในระบบฐานข้อมูลของบุคลากร กองการเจ้าหน้าที่ จะต้องประสานงานอย่างไร
ตอบ: หน่วยงานสามารถปะสานงานผ่านศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศได้ เพราะได้ดำเนินการพัฒนาระบบเชื่อมโยงไปยังระบบฐานข้อมูลของกองการเจ้าหน้าที่แล้ว
- ขอให้มีการจัดทำคู่มือ และตัวอย่าง Code Connect ทั้งนี้หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ในการพัฒนาระบบ ได้แก่ ASP, PHP
- เป็นเรื่องที่ดี หากคณะมีฐานข้อมูลที่แตกต่างจากส่วนกลาง จะขอความร่วมจากคณะเพื่อสร้าง Web Service และใช้ข้อมูลร่วมกัน
- โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มสายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ถือเป็นงานขาดแคลน จึงเสนอแนะให้พิจารณาร่วมกับการประยุกต์ด้านการเกษตร
ประเด็นที่ได้รับ
แนวทางการพัฒนาระบบ เน้นการใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือของข้อมูล
ประธานกล่าวสรุป
ตามนโยบายของผู้บิรหารมหาวิทยาลัย ได้กำหนดให้มี 1 ฐานข้อมูล 1 ผู้รับผิดชอบ จึงขอให้แต่ละหน่วยงานนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อประโยชน์ต่อส่วนร่วม และมหาวิทยาลัย และโดยขอให้มีการจัดทำหนังสือมอบหมายผู้ดูแลระบบและกำหนดสิทธิเข้าถึงข้อมูลของเครื่องให้บริการ (Server) เป็นลายลักษณ์อักษร และหวังเป็นอย่างยิ่งที่คณะจะนำไปเทคโนโลยี Web Service ใช้เพิ่มเติม
ผู้บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
นางสาวณัฐกฤตา โกมลนาค
ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์