ถอดบทเรียน โครงการพัฒนาบุคลากร การฝึกอบรมหลักสูตร Training of Trainer
วันที่เขียน 23/5/2559 14:32:34     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:47:40
เปิดอ่าน: 5176 ครั้ง

เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากร ให้เป็นวิทยากร และเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ที่สามารถพัฒนาคนรุ่นต่อไป ร่วมถึงถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ได้อย่างคุมค่า

กองการเจ้าหน้าที่ ได้จัดโครงการพัฒนาบุคลากร การฝึกอบรมหลักสูตร Training of Trainer ระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2559 เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากร ให้เป็นวิทยากร และเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ที่สามารถพัฒนาคนรุ่นต่อไป รวมถึงถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ได้อย่างคุมค่า

โดยการพัฒนา มีผลต่อการดำเนินการและมีผลกระทบระยะยาว เป็นผนวกสิ่งที่แตกต่างให้เข้ากัน โดยการวางแผนระยะยาว ทั้งงานประจำและงานที่ท้าทาย โดย รศ. ดร. วีระพล ทองมา รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ได้ยกหลักปรัชญาและคำคมเป็นข้อคิด ดังนี้

1. "จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกินต้องเตรียมอาหารจะพัฒนางานต้องพัฒนาคน จะพัฒนาคนให้พัฒนาที่จิตใจ จะพัฒนาอะไรให้พัฒนาที่ตนเองก่อน"
2. ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป "อย่าเป็นคนดื้อ อย่าเป็นกบในกะลา อย่าเป็นน้ำชาล้นถ้วย อย่าเจ็บป่วยแล้วไม่รักษา"
3. "จงมองปัญหา ให้เหมือนกับเม็ดทราย ถึงจะเยอะมากมาย แต่เม็ดทรายก็เล็กนิดเดียว"

 


 

การพัฒนาบุคลากร โดย ผศ.พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและเครือข่าย ให้หลักแนวคิดในการพัฒนาบุคลากร 5 ประการคือ

1. ค้นหาตนเอง "มนุษย์มีชิ้นงานอยู่หลายชิ้น จงทำในชิ้นงานที่สำคัญก่อน"
2. แสวงหาความรู้ "แก้วน้ำที่คว่ำอยู่กลางสายฝน ต่อให้ฝนตกกระหน่ำทั้งคืน ก็ไม่อาจเต็มไปด้วยน้ำ คนที่ไม่ยอมเปิดใจเรียนรู้ ต่อให้คลุกคลีอยู่กับนักปราชญ์ทั้งค้นทั้งวัน ก็ยังโง่อยู่เท่าเดิม" โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
3. เติมเต็มในส่วนที่ขาด 
4. หาพี่เลี้ยงและสังกัด จะเรียนรู้ได้เร็วขึ้น 
5. มีความมุ่งมั่นในการทำงาน มีแนวคิด ยุทธศาสตร์ และมีการปฏิบัติ

  • ยึดถือผลประโยชน์เพื่อองค์กรเป็นหลัก
  • มุ่งมั่นพัฒนาจากจุดยืนของตัวเอง
  • มีอุดมการณ์ในการทำงาน

6. มีการนำเสนอโครงการที่เป็นไปได้

  • หาโอกาสนอนำเสนอโครงการ
  • คิดโครงการจากปัญหา สิ่งแวดล้อม ในงานที่ทำ / อ่าน
  • หาแนวทางการนำเสอนที่ดี
  • ตั้งคำถามว่าจะทำให้ดีกว่าผู้อื่นทำได้อย่างไร

7. มี Service Mind

8. มองโลกในแง่ดี ทุกคนมีดี องค์กรเป็นหลัก หาจุดสมดุลย์ 

 


 

หลักการบริหารงานฝึกอบรมให้มีประสิทธิภาพ โดยอาจารย์เสฎฐวุฒิ หนุ่มคำ คณบดี คณะบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น สรุปได้ดังนี้

1. ถ้าไม่ใช่คนเก่งที่สุดในเรื่องนั้น เราต้องใช้บริการคนที่เก่ากว่า คำคมโดย Alex Miller
2. การบริหารงานให้สำเร็จ ต้องบริหารคนให้เป็น ธุรกิจเริ่มต้นด้วยเงิน แต่จบท้ายด้วยคน
3. การพัฒนาเป็นการบูรณาการศาสตร์ทุกศาสตร์ โดยตอบประเด็นความจำเป็นและความต้องการ
4. การจัดหลักสูตรฝึกอบรมต้องทำอะไรบ้าง 

  • การกำหนดชื่อหลักสูตรมีความสำคัญ มีผลทางด้านจิตวิทยา
  • มีการวิเคราะห์คนเข้ารับการฝึกอบรม
  • มีการกำหนดงบประมาณ และระยะเวลาที่เหมาะสม
  • การควบคุมห้องฝึกอบรม วิทยากรควรมีทักษะในการรวมและสร้างความสนใจของผู้เข้าร่วมฝึกอบรมให้ได้
  • เลือกใช้เทคนิคการจัดฝึกอบรมที่เหมาะสม

5. บทบาทและคุณสมบัติของนักฝึกอบรม

  • วิทยากรต้องมีความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ทัศนคติ (Atitude) และ พฤติกรรม (Behavior) ในหัวข้อที่ฝึกอบรม
  • ผู้จัดฝึกอบรม จัดกิจกรรมอย่างเข้าใจ สนใจ หมั่นหาความรู้ เก็บรายละเอียด ใส่ใจ ตั้งใจ และทำด้วยหัวใจ

6. การวางแผนในการฝึกอบรม

  • สำรวจหาความจำเป็นในการฝึกอบรม  Must to know ( Knowledge/Skill/Attitude/Behavior/Tools )
  • มีการกำหนดเป้าหมาย/แนวทางเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาและฝึกอบรม
  • กำหนดตัวชี้วัดผลงาน 3 ระดับ
  1.  
    1. ตัวชี้วัดประสิทธิภาพของการจัดฝึกอบรม เช่น อัตราผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมต่อพนักงานทั้งหมด จำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมต่อคนต่อปี ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมต่อคนต่อปี ระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ค่าใช้จ่ายจริงต่องบประมาณ เปอร์เซ็นต์การจัดฝึกอบรมที่สามารถจัดได้ตามแผน เปอร์เซ็นต์การยอกเลิก/เลื่อนการจัดฝึกอบรม
    2. ตัวชี้วัดความสามารถของคน เช่น ทักษะเฉลี่ยต่อคน เปอร์เซ็นต์ทักษะที่เพิ่มขึ้นเทียบกับปีที่แล้ว อัตราการเพิ่มขึ้นของคะแนนก่อนและหลังการฝึกอบรม จำนวนพนักงานที่ได้รับใบรับรอง
    3. ตัวชีวัดผลกระทบที่มีต่อผลงานขององค์กร เช่น การประหยัดการใช้ทรัพยากร/งบประมาณ

 


 

เทคนิคการนำกิจกรรมกระบวนการให้ประสบความสำเร็จ โดย นายฐานันดร ณ เชียงใหม่

1. นำเกมส์/เพลงที่ดี
2. ประยุกต์ใช้ Curve อารมณ์ ด้วยการหยุดเกมส์/เพลง เมื่ออยู่ในช่วง Climax 
3. จัดกิจกรรมด้วย 5 ส คือ สั้น สนุก สะอาด สร้างสรรค์ สอน

ศิลปะการพูดในที่สาธารณะ ใช้ทักษะพื้นฐานในการพูด 5 ประกาณ คือ ใช้สายตา วางท่า ใช้ท่าทางประกอบ เคลื่อนไหว และแสดงออกทางสีหน้า

วิทยากรกระบวนการที่ดี ต้อง pepsicola & evaluation

  1. Planner วางแผนที่ดี
  2. Educator เป็นผู้สอนที่ดี
  3. Participant เน้นให้เกิดความมีส่วนร่วม
  4. Stimulator กระตุ้นให้คิด
  5. Initator หนุนให้เกิดสิ่งใหม่ สร้างสรรค์แหวกแนว
  6. Coordinator กระตุ้นให้เกิดการประสานงานเป็นกลุ่ม
  7. Organizer เน้นให้เกิดการทำงานเป็นทีม
  8. Link เชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่ม คน
  9. Analyzer ต้องวิเคราะห์ได้
  10. Evaluator ประเมินผลตลอดเวลา

 

ถอดบทเรียนโดย นางสาวณัฐกฤตา โกมลนาค

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=514
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ » UX/UI Design ต่างกันอย่างไร
การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล มีความสำคัญมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Design: UX Design) และการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (...
UI Design  UX Design  UX UI  UX/UI  การออกแบบเว็บ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ช่อทิพย์ สิทธิ  วันที่เขียน 6/9/2567 14:14:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:01:52   เปิดอ่าน 101  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาโปรแกรม » การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร
การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยการนำระบบจัดเก็บและทำลายเอกสารมาช่วยปรับปรุงประสิทธิผล ในกระบวนการทำ...
Re-Design Process?  ระบบจัดเก็บและทำลายเอกสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 5/9/2567 11:45:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:53:41   เปิดอ่าน 250  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » ข้อมูลเปิด (Open Data) เบื้องต้น
ข้อมูลเปิด (Open Data) คือ ข้อมูลที่สามารถเข้าถึง ใช้งาน แก้ไข และแบ่งปันได้โดยไม่จำกัดข้อกำหนดหรือค่าใช้จ่าย ข้อมูลเปิดมักถูกเผยแพร่ในรูปแบบที่สามารถอ่านและวิเคราะห์ได้ง่าย เช่น ไฟล์ CSV, JSON, หร...
การเข้าถึง  การใช้งาน  การแบ่งปัน  การเปิดเผย  ข้อมูลเปิด     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 2/9/2567 9:45:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:01:22   เปิดอ่าน 98  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง