รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : การเตรียมตัวอย่าง
รุ่งทิพย์ กาวารี » #ภาพรวมและการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวิจัยสมุนไพร โดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟี และเทคนิคสเปกโทรสโคปี
การเตรียมตัวอย่างมีความสำคัญ เพื่อทำความสะอาดตัวอย่างเพื่อที่จะได้โครมาโทแกรมหรือผลการทดลองที่สามารถแปลผลได้ง่ายขึ้น เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารตัวอย่างเพื่อที่จะนำไปวิเคราะห์ด้วย GC หรือ HPLC ได้ และเพื่อลดปัญหา downtime ของตัวเครื่องมือ GC หรือ HPLC เช่น ion source ของ LCMS ต้องเตรียมตัวอย่างเพียงพอดีแค่ไหนขึ้นอยู่กับตัวอย่าง หรือ analyte ที่สนใจ ให้มั่นใจที่จะแปลผลและรายงานผลว่าสารที่สนใจมีอยู่จริงและมีอยู่ปริมาณเท่าไหร่ ปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมตัวอย่าง ได้แก่ การเข้าใจตัวอย่างของเราในทาง Physical และ Chemical ต้องทราบว่าสารสำคัญที่สนใจอยู่ในฟอร์มไหน อยู่ในตัวอย่างสดหรือในตัวอย่างแห้ง สมบัติของการละลายของสารที่สนใจ (solubility) ละลายได้ดีใน solvent อะไร เพื่อเลือก solvent ในการสกัดที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ปริมาณ Yield ในการสกัดที่มากขึ้น บางสารมีสมบัติสามารถระเหยได้ (Volatility) ถ้าเราเข้าใจในตัวอย่างว่ามีตัว interference เป็นอะไร เราจะเลือกเทคนิคอะไรในการเตรียมตัวอย่าง
คำสำคัญ : Headspace  Solid Phase Microextraction  การเตรียมตัวอย่าง  เทคนิคโครมาโทกราฟี  เทคนิคสเปกโทรสโคปี  สมุนไพร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2802  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 7/5/2564 10:34:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 12:40:02
สรุปรายงานจากการอบรม » การเตรียมตัวอย่างโปรตีน และการตรวจสอบทาง immunodetection
การเตรียมตัวอย่างโปรตีน และการตรวจสอบทาง immunodetection Western blot หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Immunoblot เป็นเทคนิคที่ใช้ติดตามโปรตีนที่สนใจในสารตัวอย่าง หรือใช้ดูการแสดงออกในระดับโปรตีน โดยใช้หลักการของgel electrophoresis ใช้แยกได้ทั้ง native protein และ denatured protein และโปรตีนนั้นจะถูกย้ายจากแผ่นเจลไปยังแผ่นเมมเบรน ที่นิยมใช้ ได้แก่ nitrocellulose membrane และ polyvinylidene fluoride (PVDF) จากนั้นทำการตรวจสอบโปรตีนที่ต้องการโดยใช้ specific antibody
คำสำคัญ : การเตรียมตัวอย่างโปรตี, immunodetection, western blot  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 27023  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 6/10/2563 14:42:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 6:05:39