#เทคนิคการใช้งานเครื่องระเหยแบบหมุน (Evaporator)
วันที่เขียน 23/7/2559 17:53:20     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/11/2567 21:46:58
เปิดอ่าน: 20633 ครั้ง

เครื่องระเหยสารแบบหมุนตอบสนองการใช้งานที่หลากหลาย ได้แก่ งานทางเภสัชกรรม: การกลั่น การเพิ่มความเข้มข้น และการทำแห้ง งานทางเคมีภัณฑ์: การเพิ่มความเข้มข้น ปฏิกิริยารีฟลักซ์ การตกผลึกซ้ำ งานทางด้านวิชาการ/การศึกษา: การระเหยสารทุกรูปแบบ งานทางอาหาร/เครื่องดื่ม: การกลั่น การเพิ่มความเข้มข้น และการทำแห้ง งานทางอาหารสัตว์: การกลั่น การเพิ่มความเข้มข้น และการทำแห้ง การวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม: การสกัดแบบซอกห์เลต (Soxhlet) การเพิ่มความเข้มข้น ดังนั้น การระเหยที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการกลั่นให้สูงขึ้น ช่วยประหยัดเวลา อนุรักษ์พลังงาน และลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมได้ ต้องมีการปรับพารามิเตอร์ต่างๆ

เทคนิคการใช้งานเครื่องระเหยแบบหมุน (Evaporator)

เครื่องระเหยสารแบบหมุนตอบสนองการใช้งานที่หลากหลาย ได้แก่ งานทางเภสัชกรรม: การกลั่น การเพิ่มความเข้มข้น และการทำแห้ง งานทางเคมีภัณฑ์: การเพิ่มความเข้มข้น ปฏิกิริยารีฟลักซ์ การตกผลึกซ้ำ งานทางด้านวิชาการ/การศึกษา: การระเหยสารทุกรูปแบบ งานทางอาหาร/เครื่องดื่ม: การกลั่น การเพิ่มความเข้มข้น และการทำแห้ง งานทางอาหารสัตว์: การกลั่น การเพิ่มความเข้มข้น และการทำแห้ง การวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม: การสกัดแบบซอกห์เลต (Soxhlet) การเพิ่มความเข้มข้น

 การปรับพารามิเตอร์ 

การระเหยที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการกลั่นให้สูงขึ้น ช่วยประหยัดเวลา อนุรักษ์พลังงาน และลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมได้ ต้องมีการปรับพารามิเตอร์ต่างๆ ดังนี้

1)    การใช้ปั๊มเพื่อลดความดัน ซึ่งความดันมีผลต่อจุดเดือดของสาร สารที่ถูกกดอากาศทำให้ระเหยยากกว่า การลดความดันเป็นการทำให้สารที่มีจุดเดือดสูงๆ ให้ระเหยได้ที่อุณหภูมิต่ำๆ เช่น DMSO ซึ่งจะทำให้สารไม่เสียสภาพ โดยตั้งอุณหภูมิที่ water bath ที่ 40-60 องศาเซลเซียส เพื่อไม่ให้สารตัวอย่างเสียสภาพ

2)    การตั้งค่าอุณหภูมิให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการระเหยสาร คือ การใช้กฎ DT=20°C โดยการตั้งค่าอุณหภูมิที่ water bath (T1), Vapor temp (T2), Cooling temp (T3) DT1=T1-T2 =20°C และ DT2=T2-T3 =20°C

3)    ในการลดความดันของปั๊ม อย่าให้ความดันลดลงเร็วเกินไป จะทำให้เกิดการ bumping

4)    ช่วงของการควบแน่นตัวอย่างต้องอยู่ในช่วง 2 ใน 3 ของความสูงของ condenser ถ้าสูงเกินไปจะทำให้สารเกิดการ loss เข้าสู่ปั๊ม

5)    ความเร็วในการหมุนขวดตัวอย่าง ต้องหมุนที่ความเร็ว 280 rpm ทำให้ประสิทธิภาพในการกลั่นสูงขึ้น

6)    ความหนาของขวดระเหย ใช้ขวดระเหยความหนา 1.8 มิลลิเมตร (1 ลิตร) เพื่อการส่งผ่านอุณหภูมิที่ดีที่สุดโดยมีความปลอดภัยสูง

7)    ขนาดของขวดกลั่น เลือกขวดระเหยที่รองรับได้ประมาณสองเท่าของปริมาตรตัวอย่างเริ่มต้น ขวดขนาดใหญ่ 1 ลิตร (100%) ทำให้มีพื้นที่ผิวมากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพในการกลั่นดีกว่าขวดขนาดเล็ก 250 ml (38%), 500 ml (51%)

8)    มุมเอียงตัวอย่างในขวด ต้องให้มีพื้นที่ผิวของตัวอย่างมากที่สุด และการเอียงของ condenser ต้องเอียง 25° ซึ่งตั้งตรงในแนวดิ่ง

 

การบำรุงรักษาเบื้องต้น 

1)    ให้ทำการตรวจเช็คข้อต่อต่างๆ เดือนละครั้ง 

2)    สายน้ำและสายปั๊ม ควรทำการเปลี่ยนจากสายสีแดง ให้เป็นสายสีดำที่ทำมาจาก EDPM (ethylene rubber) ซึ่งทำให้ไม่มีฝุ่น

3)    ในเครื่องรุ่นใหม่ จะมีรูที่ปลายท่อของ condenser ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อสะดวกในการทำความสะอาด 

4)    ในเครื่องรุ่นใหม่ มี silicone รองรับน้ำที่ควบแน่นลงมาจาก condenser 

5)    ในเครื่องรุ่นใหม่ มี stop cock ที่ทำจาก PE ทำให้ใช้งานได้ต่อเนื่อง 

6)    ในเครื่องรุ่นใหม่ มี level sensor เพื่อเอาติดที่ขวด receive flask เมื่อระดับของตัวทำละลายอยู่ในระดับที่ต้องการจะสั่งให้ปั๊มหยุดทำงาน 

7)    ถ้าเอา condenser ออกไม่ได้จากตัวเครื่อง ให้นำไปต้มที่ 90 องศาเซลเซียส 

8)    การเช็คค่า vacuum ว่ารั่วจุดไหน มีขั้นตอนการตรวจเช็คดังนี้

  • ถอดสาย vacuum ออกจาก condenser
  • เปิดปั๊ม
  • ใช้มือปิดรูไว้ แล้วดูที่หน้าจอ ถ้ามีค่า Pressure ที่ 10 mbar แสดงว่าไม่รั่ว
  • ถ้าไม่มีค่า Pressure ที่ 10 mbar ให้กลับข้างซิลสีแดง เทปลอนตรงขวดดัก (เป็นขวดแก้วทรงกระบอกที่อยู่ทางซ้ายของตัวเครื่อง)
  • เช็คซิลทุกรอยต่อ
  • ซิลต้องอยู่ติดกับ condenser

 

ที่มา: จากการเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เทคโนโลยีเพื่อการวิจัย พัฒนา และการควบคุมคุณภาพในห้องปฏิบัติการ ในวันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม 2559 ณ ห้องพวงคราม สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (UNISERV CMU) ตามหนังสือขออนุญาตเดินทางไปราชการ เลขที่ ศธ.0523.4.4/339 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2559

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=542
ความคิดเห็นทั้งหมด (1)
รุ่งทิพย์ กาวารี     วันที่เขียน : 23/7/2559 0:00:00

สามารถดาวน์โหลดเอกสารไฟล์ pdf. ที่มีรูปภาพประกอบได้ที่ 

http://www.e-manage.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MTg0OTI3

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) » ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) มีความสำคัญในการป้องกันและควบคุมอันตรายที่เกี่ยวข้องกับชีวภาพ โดยความปลอดภัยเน้นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ขณะ...
การรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)  ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety)     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน อนุชิดา วงศ์ชื่น  วันที่เขียน 24/9/2567 23:02:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/11/2567 18:13:34   เปิดอ่าน 218  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
เบญญาภา หลวงจินา » ความปลอดภัยในห้องปฏฺิบัติการเคมี
ปัจจุบันกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องนำสารเคมีหลากหลายชนิดเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรมและด้นอื่น ๆ รวมทั้งสารเคมีเป็นส่วนประกอบที่ส...
ความปลอดภัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน เบญญาภา หลวงจินา  วันที่เขียน 29/8/2567 15:42:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/11/2567 15:52:45   เปิดอ่าน 290  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
นโยบายการขับเคลื่อนความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดย นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึง การลงทะเบียนเพื่อขอรับเ...
Peer Evaluation  การขอทุนวิจัยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ  ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 29/8/2567 13:43:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/11/2567 4:16:32   เปิดอ่าน 163  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง