การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานด้านการจัดการห้องปฏิบัติการ
- การจัดทำระบบการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ เพื่อเตรียมพร้อมรับอุบัติเหตุและภาวะฉุกเฉิน เพื่อรักษาและป้องกันชีวิตและทรัพย์สินอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร เพื่อช่วยลดความเสียหายและความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินนำไปสู่การลด ต้นทุนค่าใช้จ่ายในเรื่องอุบัติเหตุและค่ารักษาพยาบาล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยแก่บุคลากรในองค์กรส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น
- หลักการการจัดทำระบบการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ ได้แก่ นโยบายความปลอดภัย (Commitment and Policy) การวางแผน (Planning) การนำระบบไปปฏิบัติ (Implementation) การตรวจสอบประเมินผลและแก้ไข (Measurement and Evaluation) การทบทวนระบบการจัดการฯ และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Management Review and Continual Improvement) (PDCA)
**ควรมีการจัดตั้งเป็นคณะกรรมการเพื่อจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยในระดับหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย
**นโยบายความปลอดภัย
ความปลอดภัยในการทำงานถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบอันดับแรกในการปฏิบัติงานของบุคลากรและผู้ใช้ห้องปฏิบัติการทุกคน ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กำหนด
ผู้บริหารฯ พร้อมจะสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นในการปรับปรุง สภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย ตลอดจนสนับสนุนส่งเสริมให้มีกิจกรรมความปลอดภัยต่างๆ ที่จะช่วย กระตุ้น จิตสำนึกของบุคลากรและผู้ใช้ห้องปฏิบัติการ
ผู้บังคับบัญชาทุกระดับจะต้องกระทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นผู้นำ อบรม ฝึกสอน จูงใจให้บุคลากรและผู้ใช้ห้องปฏิบัติการทุกคนพัฒนาปรับปรุงสภาพการทำงานและการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการทำงานให้ปลอดภัย และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง เพื่อนร่วมงาน ตลอดจนทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเป็นสำคัญตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
บุคลากรทุกคนทำความเข้าใจเกี่ยวกับคู่มือความปลอดภัยสำหรับการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ต้องมีความรับผิดชอบที่จะเรียนรู้ทำความเข้าใจกับมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และให้ถือเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องนำไปใช้ปฏิบัติในงานของตนอย่างมืออาชีพที่ดีตลอดเวลา
**ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ให้ทำให้เป็นงานประจำ ทำให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กร และควรดู SDS เป็นปกติ ในส่วนของการจัดเก็บ การเข้ากัน เป็นต้น
**มีการประเมินความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยว่ามีอันตรายอะไรบ้าง เช่น การเตรียมสารเคมี ความเสี่ยงคือ โอกาส (ความถี่) x ความรุนแรง (ระดับ 1-5) ถ้าผลที่ได้อยู่ในระดับปานกลางต้องมีมาตรการควบคุมความเสี่ยงนั้น
**การดำเนินการจัดอบรมหรือการทดสอบนักศึกษาก่อนเข้ามาใช้งานเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และได้ข้อเสนอแนะเรื่องการอบรมของบุคลากรในหน่วยงานควรไปอบรมรับรองความสามารถของบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 การควบคุมและการจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ
**การจำแนกประเภทสารเคมี เน้นความอันตรายทางกายภาพก่อน แยกเป็นสีตามกลุ่มที่เข้ากันได้หรือไม่ได้ของสารเคมี ตามระบบ SDS และจุฬาฯ เช่น สารไวไฟ สีแดง, สารอันตรายต่อสุขภาพ สีน้ำเงิน เป็นต้น
**การจัดการของเสียอันตราย ระยะที่ 1 : จำแนกประเภทของเสียฯเพื่อให้สามารถนำไป Reuse หรือ Recycle ได้ ระยะที่ 2 : การจัดทำมาตรการการจัดการของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการ ศูนย์เครื่องมือฯ ระยะที่ 3 : การปรับปรุงพื้นที่สำหรับจัดเก็บของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถควบคุมดูแลทางด้านความปลอดภัยได้ดียิ่งขึ้น
- มีข้อกำหนดระบบมาตรฐาน / ข้อกำหนดทางกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ ได้แก่ มอก. 18001 มอก. 2677 มาตรฐานความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมี มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ มาตรฐานความปลอดภัยเกี่ยวกับรังสี มาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้า และเครื่องมือ เครื่องกล