รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : สารเคมี
การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ » การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
โครงการอบรม การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการนี้ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากหัวข้อการอบรม ดังนี้ - ทราบแนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและการจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย - ทราบการจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตามแนวทางของคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตามโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย ESPReL ที่เน้น 7 ด้านสำคัญ ประกอบด้วย การบริหารระบบจัดการความปลอดภัย ระบบการจัดการสารเคมี ระบบการจัดการของเสีย ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ การจัดการข้อมูลและเอกสาร - ทบทวนเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี หรือ SDS ภายใต้ระบบ GHS ที่เป็น ระบบการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก นอกจากนี้ ได้ทบทวนการแยกเก็บสารเคมีและสารเคมีที่เข้ากันไม่ได้ ไม่ควรจัดเก็บที่เดียวกัน - ได้แนวทาง รูปแบบ การจัดการของเสียอันตรายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU Waste Management) และแนวทางการลดการเกิดของเสียอันตรายด้วยหลักการ 4R คือ Reduce Reuse Replace Recycle - ได้แนวทาง รูปแบบ ระบบ CMU Waste Track การแจ้งของเสียของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ได้ความรู้ 1) ด้านแนวทางการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และอุบัติการณ์ในห้องปฏิบัติการ 2) อุปกรณ์และเครื่องมือเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (Safety equipment) 3) การจัดการพฤติกรรมเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการ 4) การปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการอย่างปลอดภัย
คำสำคัญ : การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1485  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 14/8/2564 10:52:38  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 14:56:46
ถ่านชีวภาพ » ลดการปนเปื้อนของสารเคมีตกค้างในดิน น้ำและพืชที่ปลูก ด้วยถ่านชีวภาพ หรือไบโอชาร์
การทำเกษตรอินทรีย์ โดยเปลี่ยนจากเกษตรเคมี เกษตรปลอดภัย มีระยะเวลาการปรับเปลี่ยน สารเคมีที่ตกค้างในดิน น้ำ รวมถึงการทำแนวกั้น เพื่อลดการปนเปื้อนของสารเคมีจากพื้นที่รอบข้าง ล้วนเป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณา การตกค้างของสารเคมีในผลผลิตเกษตร สามารถมาจากดิน น้ำ ที่มีสารเคมีตกค้าง ปนเปื้อนมา การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพในดิน น้ำ รวมถึงการทำแนวกั้นโดยใช้ถ่านชีวภาพเป็นวัสดุกรองและดูดซับสารเคมีที่ปนเปื้อนเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ ลดการปนเปื้อนในพืชที่ปลูกได้
คำสำคัญ : ถ่านชีวภาพ  ปนเปื้อน  สารเคมี  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1817  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย  วันที่เขียน 9/2/2564 12:38:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 14:28:49
ถ่านชีวภาพ » การผลิตถ่านชีวภาพและแนวทางการใช้ประโยชน์
ถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) คือวัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน ผลิตจากชีวมวล หรือสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้จากธรรมชาติ หรือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ หญ้า ฟางข้าว เหง้ามันสําปะหลัง ซังและต้นข้าวโพด มูลสัตว์ กากตะกอนของเสีย เป็นต้น แม้กระทั่งมูลสัตว์นำมาผ่านกระบวนการเผาไหม้ที่มีการควบคุม อุณหภูมิและอากาศหรือจำกัดอากาศให้เข้าไปเผาไหม้น้อยที่สุดซึ่งกระบวนการเผาไหม้นี้ เรียกว่า “การแยกสลายด้วยความร้อนหรือกระบวนการไพโรไลซิส” ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนหรือมีออกซิเจนน้อยมาก มีงานวิจัยที่ได้ศึกษาการใช้ประโยชน์ของถ่านชีวภาพมีหลายด้าน เช่น การปรับปรุงดิน และช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงลดระยะเวลาการปลูกได้อีกด้วย แล้วแต่ชนิดของพืชที่ปลูก มีงานวิจัยที่นำถ่านชีวภาพไปใช้กับพืชทางการเกษตร ใช้เป็นวัสดุปลูกร่วมกับวัสดุอื่น เพื่อผลิตผลผลิตทางการเกษตร การลดการดูดซับสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืชและศัตรูพืช และโลหะหนักที่อยู่ในดินและน้ำ ของพืชที่ปลูก โดยถ่านชีวภาพจะตรึงสารเคมีกลุ่มนี้ไว้ ทำให้ลดผลกระทบต่อพืชที่ปลูกจากสารเคมีและโลหะหนักที่ปนเปื้อน ใช้ดูดซับน้ำมันปิโตรเลียม ใช้เป็นตัวเร่ง ในปฏิกริยาในกระบวนการผลิตไบโอดีเซละและไบโอแก๊ส ใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์ ผลิตกราฟีน เป็นต้น
คำสำคัญ : biochar  kiln  กราฟีน  ความร้อน  ดูดซับ  ตัวเร่ง  เตา  เตาไบโอชาร์  ถ่าน  ถ่านชีวภาพ  บำบัดน้ำเสีย  ไบโอชาร์  ปนเปื้อน  ปรับปรุงดิน  ปุ๋ยหมัก  ผักสวนครัว  ไม้ผล  โลหะหนัก  สมุนไพร  สารเคมีปนเปื้อน  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 60534  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย  วันที่เขียน 26/10/2562 20:32:24  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 15:13:42
รุ่งทิพย์ กาวารี » #แนวทางยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 7 – 8 สิงหาคม 2562 ณ ห้องประชุมทองกวาว สำนักบริหารวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ได้อบรมเรื่องแนวปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัย ซึ่งห้องปฏิบัติการต้องมีมาตรฐานการวิจัยต่างๆ ใช้เป็นกลไกในการกำกับ ตรวจสอบและรับรอง ดำเนินการรักษามาตรฐานในกระบวนการดำเนินงานวิจัย ได้แก่ 1. มาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ประเมินโครงการวิจัย ผลงานวิชาการและผลงานวิจัย 2. มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ 3. จริยธรรมนักวิจัย 4. มาตรฐานการวิจัยในมนุษย์ 5. มาตรฐานการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ 6. มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ 7. มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ## โปรดคลิกที่นี่เพื่อเข้าไปอ่านต่อ
คำสำคัญ : ESPReL  ความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ  ยกระดับมาตรฐาน  สารเคมี  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3578  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 18/8/2562 12:57:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 2:36:29
โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559 » โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559
โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการประจำปีงบประมาณ 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมีการพัฒนาในการเสริมสร้างองค์ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความสามารถ (Ability) ทัศนคติ (Attitude) และสร้างแรงจูงใจ (Motivation) และมีการจัดกิจกรรมสร้างพลังใจและพลังกายเพื่อเป็นการกระตุ้นแรงจูงใจสร้างทัศนคติที่ดีสร้างความสมดุลในชีวิตการทำงานเพื่อให้มีความสุขในการปฏิบัติงานและมีการดูแลสุขภาพที่ดีด้วยตนเอง
คำสำคัญ : การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด  การตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด  การทดสอบสมรรถภาพทางกาย  การพัฒนาสุขภาพ  สุขภาพดี  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4290  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิราดร ถิ่นอ่วน  วันที่เขียน 26/8/2559 14:55:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 4:48:32
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย ตอน...การเก็บสารเคมีอันตราย
ในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป โรงเรียน หรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งของภาครัฐ ภาคเอกชน และสถานศึกษา ล้วนต้องสัมผัสกับสารเคมีในทุกๆ วัน ยิ่งเป็นสารเคมีมีอันตรายด้วยแล้ว ทุกคนจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องทำงานกับสารเคมีอันตรายจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย มีความสามารถในการควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตรายเหล่านี้ โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษทั้งต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสารเคมีแต่ละชนิดมีอันตรายไม่เหมือนกัน การเก็บ การใช้ การควบคุม และการจัดการสารเคมีอันตรายเหล่านี้ก็มีความแตกต่างกันด้วย
คำสำคัญ : การเก็บสารเคมีอันตราย  การลงทะเบียนสารเคมีอันตราย  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 7133  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 1  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 26/4/2558 19:06:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 11:41:35
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย ตอน...การเก็บสารเคมีอันตราย
ในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป โรงเรียน หรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งของภาครัฐ ภาคเอกชน และสถานศึกษา ล้วนต้องสัมผัสกับสารเคมีในทุกๆ วัน ยิ่งเป็นสารเคมีมีอันตรายด้วยแล้ว ทุกคนจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องทำงานกับสารเคมีอันตรายจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย มีความสามารถในการควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตรายเหล่านี้ โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษทั้งต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสารเคมีแต่ละชนิดมีอันตรายไม่เหมือนกัน การเก็บ การใช้ การควบคุม และการจัดการสารเคมีอันตรายเหล่านี้ก็มีความแตกต่างกันด้วย
คำสำคัญ : การเก็บสารเคมีอันตราย  การลงทะเบียนสารเคมีอันตราย  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 7133  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 1  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 26/4/2558 19:06:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 11:41:35