การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
วันที่เขียน 14/8/2564 10:52:38     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 10/9/2567 4:31:19
เปิดอ่าน: 1595 ครั้ง

โครงการอบรม การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการนี้ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากหัวข้อการอบรม ดังนี้ - ทราบแนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและการจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย - ทราบการจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตามแนวทางของคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตามโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย ESPReL ที่เน้น 7 ด้านสำคัญ ประกอบด้วย การบริหารระบบจัดการความปลอดภัย ระบบการจัดการสารเคมี ระบบการจัดการของเสีย ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ การจัดการข้อมูลและเอกสาร - ทบทวนเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี หรือ SDS ภายใต้ระบบ GHS ที่เป็น ระบบการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก นอกจากนี้ ได้ทบทวนการแยกเก็บสารเคมีและสารเคมีที่เข้ากันไม่ได้ ไม่ควรจัดเก็บที่เดียวกัน - ได้แนวทาง รูปแบบ การจัดการของเสียอันตรายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU Waste Management) และแนวทางการลดการเกิดของเสียอันตรายด้วยหลักการ 4R คือ Reduce Reuse Replace Recycle - ได้แนวทาง รูปแบบ ระบบ CMU Waste Track การแจ้งของเสียของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ได้ความรู้ 1) ด้านแนวทางการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และอุบัติการณ์ในห้องปฏิบัติการ 2) อุปกรณ์และเครื่องมือเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (Safety equipment) 3) การจัดการพฤติกรรมเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการ 4) การปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการอย่างปลอดภัย

โครงการอบรม การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการนี้ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากหัวข้อการอบรม ดังนี้

  • ทราบแนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและการจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย
  • ทราบการจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตามแนวทางของคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตามโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย ESPReL ที่เน้น 7 ด้านสำคัญ ประกอบด้วย การบริหารระบบจัดการความปลอดภัย ระบบการจัดการสารเคมี ระบบการจัดการของเสีย ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ การจัดการข้อมูลและเอกสาร
  • ทบทวนเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี หรือ SDS ภายใต้ระบบ GHS ที่เป็น ระบบการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก นอกจากนี้ ได้ทบทวนการแยกเก็บสารเคมีและสารเคมีที่เข้ากันไม่ได้ ไม่ควรจัดเก็บที่เดียวกัน
  • ได้แนวทาง รูปแบบ การจัดการของเสียอันตรายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU Waste Management) และแนวทางการลดการเกิดของเสียอันตรายด้วยหลักการ 4R คือ Reduce Reuse Replace Recycle
  • ได้แนวทาง รูปแบบ ระบบ CMU Waste Track การแจ้งของเสียของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ได้ความรู้ 1) ด้านแนวทางการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และอุบัติการณ์ในห้องปฏิบัติการ 2) อุปกรณ์และเครื่องมือเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (Safety equipment) 3) การจัดการพฤติกรรมเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการ 4) การปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการอย่างปลอดภัย
    1. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่

    โครงการอบรม การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการนี้ ข้าพเจ้าได้ประโยชน์จากการเข้าฟังอบรม มีประโยชน์โดยตรงต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่งาน ด้านการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ โดยเฉพาะการจัดการของเสียที่เกิดจากการเรียนการสอนในวิชาปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ และวิชาปัญหาพิเศษของนักศึกษาระดับ ป ตรี และระดับบัณฑิตศึกษา เหล่านี้ สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการพัฒนาการสอน การวิจัย โดยเฉพาะด้านปฏิบัติการเคมี และการบริการวิชาการด้านปฏิบัติการเคมี ให้สามารถอธิบาย เข้าใจ การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ที่เป็นสิ่งที่ต้องเร่งสร้างหลักปฏิบัติเพื่อประโยชน์กับองค์กร และสังคม

     

    1. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)

    สำหรับประโยชน์ต่อหน่วยงาน ความรู้ที่ได้สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ทั้งในการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ให้ตระหนักถึงความจำเป็นในการเร่งจัดทำ ดำเนินการสร้างมาตรฐานความปลอดภัย ระเบียบ ในห้องปฏิบัติด้านเคมี เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง สาขาวิชา สิ่งแวดล้อม และสังคมส่วนรวม

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การอบรมเรื่องการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง » การเข้าร่วมการอบรมการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง
การเข้าร่วมการอบรมการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง ณ. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ ได้ทำการอบรมศึกษาที้ง ทฤษฎี และ ปฎิบัติ เพื่อนำเอาทักษะ หรือความก้าวหน้าทางด้านเครื่องมือใหม่ๆไปใ...
การใช้เครื่องมือวิเคระห์ขั้นสูง     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อุทุมพร กันแก้ว  วันที่เขียน 8/9/2567 23:09:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 9/9/2567 23:45:26   เปิดอ่าน 19  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง