Blog : การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
รหัสอ้างอิง : 296
ชื่อสมาชิก : ฐิติพรรณ ฉิมสุข
เพศ : หญิง
อีเมล์ : pitiporn@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 11/3/2554 17:30:30
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 11/3/2554 17:30:30

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
โครงการอบรม การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ประจำปี 2564 ในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 8.30 – 16.30 น. โครงการอบรม การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการนี้ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากหัวข้อการอบรม ดังนี้ - ทราบแนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและการจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย - ทราบการจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตามแนวทางของคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตามโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย ESPReL ที่เน้น 7 ด้านสำคัญ ประกอบด้วย การบริหารระบบจัดการความปลอดภัย ระบบการจัดการสารเคมี ระบบการจัดการของเสีย ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ การจัดการข้อมูลและเอกสาร - ทบทวนเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี หรือ SDS ภายใต้ระบบ GHS ที่เป็น ระบบการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก นอกจากนี้ ได้ทบทวนการแยกเก็บสารเคมีและสารเคมีที่เข้ากันไม่ได้ ไม่ควรจัดเก็บที่เดียวกัน - ได้แนวทาง รูปแบบ การจัดการของเสียอันตรายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU Waste Management) และแนวทางการลดการเกิดของเสียอันตรายด้วยหลักการ 4R คือ Reduce Reuse Replace Recycle - ได้แนวทาง รูปแบบ ระบบ CMU Waste Track การแจ้งของเสียของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ได้ความรู้ 1) ด้านแนวทางการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และอุบัติการณ์ในห้องปฏิบัติการ 2) อุปกรณ์และเครื่องมือเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (Safety equipment) 3) การจัดการพฤติกรรมเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการ 4) การปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการอย่างปลอดภัย
การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ » การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
โครงการอบรม การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการนี้ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากหัวข้อการอบรม ดังนี้ - ทราบแนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและการจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย - ทราบการจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตามแนวทางของคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตามโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย ESPReL ที่เน้น 7 ด้านสำคัญ ประกอบด้วย การบริหารระบบจัดการความปลอดภัย ระบบการจัดการสารเคมี ระบบการจัดการของเสีย ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ การจัดการข้อมูลและเอกสาร - ทบทวนเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี หรือ SDS ภายใต้ระบบ GHS ที่เป็น ระบบการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก นอกจากนี้ ได้ทบทวนการแยกเก็บสารเคมีและสารเคมีที่เข้ากันไม่ได้ ไม่ควรจัดเก็บที่เดียวกัน - ได้แนวทาง รูปแบบ การจัดการของเสียอันตรายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU Waste Management) และแนวทางการลดการเกิดของเสียอันตรายด้วยหลักการ 4R คือ Reduce Reuse Replace Recycle - ได้แนวทาง รูปแบบ ระบบ CMU Waste Track การแจ้งของเสียของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ได้ความรู้ 1) ด้านแนวทางการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และอุบัติการณ์ในห้องปฏิบัติการ 2) อุปกรณ์และเครื่องมือเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (Safety equipment) 3) การจัดการพฤติกรรมเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการ 4) การปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการอย่างปลอดภัย
คำสำคัญ : การจัดการสารเคมี ของเสียอันตราย และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1483  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 14/8/2564 10:52:38  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 2:36:30

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้