รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : สมุนไพร
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การตรวจสอบปริมาณโลหะหนักในยาสมุนไพรและอาหารได้อย่างมั่นใจ
ค่ามาตรฐานการปนเปื้อนของโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ยา อาหาร เครื่องสำอาง มีค่าที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้น จะใช้วิธีการหรือเครื่องมือชนิดไหนในการวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักเหล่านี้ อาจจะต้องพิจารณามาตรฐานเหล่านี้ก่อน เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีการหรือเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม วิธีการหรือเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์หาปริมาณธาตุและโลหะหนัก เรียกว่า เทคนิค Atomic Spectroscopy หลักการโดยทั่วไปจะอาศัยความร้อนทำให้สารประกอบในตัวอย่างเกิดการแตกสลายให้เป็นอะตอม โดยเทคนิคใน Atomic Spectroscopy จะมี 4 เทคนิคหลัก 1) Flame AA 2) Graphite AA (Furnace) 3) ICP-OES 4) ICP-MS
คำสำคัญ : การตรวจสอบ  ยา  โลหะหนัก  สมุนไพร  อาหาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2597  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 7/5/2564 11:42:34  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 19:44:04
รุ่งทิพย์ กาวารี » #ภาพรวมและการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวิจัยสมุนไพร โดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟี และเทคนิคสเปกโทรสโคปี
การเตรียมตัวอย่างมีความสำคัญ เพื่อทำความสะอาดตัวอย่างเพื่อที่จะได้โครมาโทแกรมหรือผลการทดลองที่สามารถแปลผลได้ง่ายขึ้น เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารตัวอย่างเพื่อที่จะนำไปวิเคราะห์ด้วย GC หรือ HPLC ได้ และเพื่อลดปัญหา downtime ของตัวเครื่องมือ GC หรือ HPLC เช่น ion source ของ LCMS ต้องเตรียมตัวอย่างเพียงพอดีแค่ไหนขึ้นอยู่กับตัวอย่าง หรือ analyte ที่สนใจ ให้มั่นใจที่จะแปลผลและรายงานผลว่าสารที่สนใจมีอยู่จริงและมีอยู่ปริมาณเท่าไหร่ ปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมตัวอย่าง ได้แก่ การเข้าใจตัวอย่างของเราในทาง Physical และ Chemical ต้องทราบว่าสารสำคัญที่สนใจอยู่ในฟอร์มไหน อยู่ในตัวอย่างสดหรือในตัวอย่างแห้ง สมบัติของการละลายของสารที่สนใจ (solubility) ละลายได้ดีใน solvent อะไร เพื่อเลือก solvent ในการสกัดที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ปริมาณ Yield ในการสกัดที่มากขึ้น บางสารมีสมบัติสามารถระเหยได้ (Volatility) ถ้าเราเข้าใจในตัวอย่างว่ามีตัว interference เป็นอะไร เราจะเลือกเทคนิคอะไรในการเตรียมตัวอย่าง
คำสำคัญ : Headspace  Solid Phase Microextraction  การเตรียมตัวอย่าง  เทคนิคโครมาโทกราฟี  เทคนิคสเปกโทรสโคปี  สมุนไพร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3166  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 7/5/2564 10:34:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:31:29
ถ่านชีวภาพ » การผลิตถ่านชีวภาพและแนวทางการใช้ประโยชน์
ถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) คือวัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน ผลิตจากชีวมวล หรือสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้จากธรรมชาติ หรือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ หญ้า ฟางข้าว เหง้ามันสําปะหลัง ซังและต้นข้าวโพด มูลสัตว์ กากตะกอนของเสีย เป็นต้น แม้กระทั่งมูลสัตว์นำมาผ่านกระบวนการเผาไหม้ที่มีการควบคุม อุณหภูมิและอากาศหรือจำกัดอากาศให้เข้าไปเผาไหม้น้อยที่สุดซึ่งกระบวนการเผาไหม้นี้ เรียกว่า “การแยกสลายด้วยความร้อนหรือกระบวนการไพโรไลซิส” ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนหรือมีออกซิเจนน้อยมาก มีงานวิจัยที่ได้ศึกษาการใช้ประโยชน์ของถ่านชีวภาพมีหลายด้าน เช่น การปรับปรุงดิน และช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงลดระยะเวลาการปลูกได้อีกด้วย แล้วแต่ชนิดของพืชที่ปลูก มีงานวิจัยที่นำถ่านชีวภาพไปใช้กับพืชทางการเกษตร ใช้เป็นวัสดุปลูกร่วมกับวัสดุอื่น เพื่อผลิตผลผลิตทางการเกษตร การลดการดูดซับสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืชและศัตรูพืช และโลหะหนักที่อยู่ในดินและน้ำ ของพืชที่ปลูก โดยถ่านชีวภาพจะตรึงสารเคมีกลุ่มนี้ไว้ ทำให้ลดผลกระทบต่อพืชที่ปลูกจากสารเคมีและโลหะหนักที่ปนเปื้อน ใช้ดูดซับน้ำมันปิโตรเลียม ใช้เป็นตัวเร่ง ในปฏิกริยาในกระบวนการผลิตไบโอดีเซละและไบโอแก๊ส ใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์ ผลิตกราฟีน เป็นต้น
คำสำคัญ : biochar  kiln  กราฟีน  ความร้อน  ดูดซับ  ตัวเร่ง  เตา  เตาไบโอชาร์  ถ่าน  ถ่านชีวภาพ  บำบัดน้ำเสีย  ไบโอชาร์  ปนเปื้อน  ปรับปรุงดิน  ปุ๋ยหมัก  ผักสวนครัว  ไม้ผล  โลหะหนัก  สมุนไพร  สารเคมีปนเปื้อน  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 66696  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย  วันที่เขียน 26/10/2562 20:32:24  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:45:50
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » งานประชุมวิชาการประจำปี 2558
การเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี 2558 เมื่อวันที่ 8-9 ธันวาคม 2558 ณ ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมรับฟังการเสนอผลงานทางวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเรื่องที่น่าสนใจดังนี้ การแสดงออกของโปรตีนตอบสนองต่ออุณหภูมิสูงขนาดเล็ก (OsHSP18) จากข้าวไทยในแบคทีเรีย Escherichia coli การวิเคราะห์การแสดงออกและลำดับเบสบางส่วนของยีน OsDFR ในข้าวขาวและข้าวสี การพัฒนาการถ่ายยีนเข้าสู่เอ็มบริโอของเมล็ดข้าวโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงร่วมกับแรงดันสูญญากาศช่วยใน Agrobacterium-mediated transformation การตรวจหาสารเควอซิตินในสารสกัดสมุนไพรด้วยเทคนิค HPLC-ELSD และการผลิตก๊าซชีวภาพจากฟางข้าวโดยกระบวนการย่อยสลายในสภาวะไร้อากาศแบบแห้ง ในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าของงานวิจัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาพัฒนาการเรียนการสอน และการทำงานวิจัยต่อไป
คำสำคัญ : ก๊าซชีวภาพ  ข้าว  ยีน  สมุนไพร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3477  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 13/3/2559 0:21:49  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 19:04:45